วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

NPU Model

บทที่1 กับความรู้เพิ่มเติม



บทที่1
การศึกษา การพัฒนามนุษย์ กับหลักสูตร
มโนทัศน์(Concept)
            การศึกษาเป็นการพัฒนามนุษย์ ผ่านกระบวนการสั่งสอน กระบวนการฝึกอบรม หรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญ และทัศนคติที่รวมเรียกว่าประสบการณ์ ซึ่งมนุษย์เป็นผู้จัดและถ่ายทอดให้แก่กัน หมายรวมถึงวัฒนธรรมหรือวิธีทางแห่งการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งที่มองเห็นได้ชัดเจนและไม่มองเห็น

ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษากับหลักสูตร
2. อธิบายและนิยาม /ความหมาย : การพัฒนาหลักสูตร
สาระเนื้อหา(Content)

1. การศึกษาในฐานะเครื่องมือการพัฒนา
การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาและเป็นเครื่องชี้นำสังคม ผู้ได้รับการศึกษาจึงเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ การเรียนการสอนเป็นการพัฒนาคน ผู้ที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การออกแบบการสอนเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการสอน เพื่อให้การสอนบรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยอาศัยระบบที่มีขั้นตอนพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การศึกษา (Education) เป็นการเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ ให้สามารถปฏิบัติงานที่มีความแตกต่างจากงานเดิมได้ การศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนามนุษย์ ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง และในฐานะที่เป็นทรัพยากร การศึกษาเป็นการพัฒนาคนที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ (knowledge-based)
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2539 : 232 - 233) กล่าวว่า การศึกษามีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1)      การศึกษาเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปในแนวทางที่ปรารถนา
2)      การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นไปโดยจงใจ โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมายซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดไว้ 
3)      การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้กระทำเป็นระบบ มีกระบวนการอันเหมาะสมและผ่านสถาบันทางสังคมที่ได้รับ       มอบหมายให้ทำหน้าที่ด้านการศึกษา



2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
           การพัฒนา (Development) เป็นการฝึกอบรมคนให้มีความสามารถใหม่ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ มุมมองใหม่ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสร้างสรรค์งานได้ผลดียิ่งขึ้น มีบริการที่รวดเร็วกว่า  มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น   เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนารายบุคคลแต่ไม่เกี่ยวข้องกับงานปัจจุบันหรืออนาคต  บุคลากรในองค์กรทำให้องค์กรได้เปรียบในการแข่งขัน ทำให้อยู่ในแนวหน้า ปัจจุบันเราเรียกองค์กรนี้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่เป็นระบบ ทำให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพและต่อเนื่อง มีการปรับบทบาทหน้าที่ การคงอยู่ขององค์กร 
กล่าวโดยสรุปการศึกษาในฐานะเครื่องมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มุ่งการจัดระบบประสบการณ์การเรียนรู้ การดำเนินการภายในเวลาที่จำกัด เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ และการเจริญเติบโตของงาน การพัฒนามนุษย์ (Human Development) 
-ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มี 
หมวด  78  มาตรา  1  บทเฉพาะกาล
              -พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2545
                     

-พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2553 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั้งสามฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษา อาจสรุปหลักการด้านหลักสูตร ปรากฏตามมาตราต่าง ๆ ดังนี้
มาตรา 8 (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรภาคบังคับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
มาตรา 28 หลักสูตรสถานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับบุคคลพิการ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
สาระของหลักสูตรทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
     มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ
 1.การศึกษาในระบบ (มีระยะเวลาที่ชัดเจน)
2.การศึกษานอก (ระยะเวลาสามารถยืดหยุ่นได้)
3.การศึกษาตามอัธยาศัย (สามารถเลือกตามใจถนัด)
หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ

3. หลักสูตร
2.ความหมายของ หลักสูตร
              คำว่า “หลักสูตร” แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “curriculum”
curriculum” หมายถึง รายวิชาต่าง ๆ ทั้งหมดที่จัดสอนในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย (all the different courses of study that are taught in a school, college, or university e.g. the school curriculum) และ 2. รายวิชาหนึ่งๆ ที่จัดสอนในโรงเรียน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย 
              กู๊ด (Good,1973:157) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ไว้ในพจนานุกรมทางการศึกษา (Dictionary of Education) ว่า หลักสูตรคือ กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบหรือลำดับวิชาที่บังคับสำหรับการจบการศึกษาหรือเพื่อรับประกาศนียบัตรใบสาขาวิชาหลักต่าง ๆ เช่น หลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรพลศึกษา
              บ๊อบบิท (Bobbit,1918:42)ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักสูตร คือรายการของสิ่งต่าง ๆ ที่เด็กและเยาวชน ต้องทำและมีประสบการณ์ ด้วยวิธีการพัฒนาความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ดังกล่าวให้ดี เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในวัยผู้ใหญ่ได้
              นักลีย์และอีแวนส์ (Neagley and Evans,1967:2) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า คือ ประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดเพื่อช่วยให้นักเรียนได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามความสามารถของนักเรียน
ทรัมพ์และมิลเลอร์ (Trump and Miller,1973:11-12) กล่าวว่า หลักสูตรคือกิจกรรมการเรียนการสอนชนิดต่างๆ ที่เตรียมการไว้และจัดให้แก่เด็กนักเรียนหรือระบบโรงเรียน
              นักการศึกษาของไทยหลายท่านได้แสดงความคิดเห็น และความหมายของคำว่าหลักสูตรไว้หลายประการเช่น
              สุมิตร คุณานุกร (2520,2-3) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ในสองระดับ คือหลักสูตรในระดับชาติและหลักสูตรในระดับโรงเรียน หลักสูตรระดับชาติหมายถึง “โครงการให้การศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะ สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาที่กำหนดไว้” ส่วนหลักสูตรในระดับโรงเรียนหมายถึง “โครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่โรงเรียนจัดให้กับนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกโรงเรียนก็ตาม เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้”
              ธำรง บัวศรี (2532:6) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อได้แสดงถึงจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาสาระ กิจกรรม และประมวลประสบการณ์ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆตามจุดหมายที่ได้กำหนดไว้

3.คุณสมบัติของหลักสูตร
              คุณสมบัติของหลักสูตร  หมายถึง  ธรรมชาติหรือลักษณะของหลักสูตรว่าเป็นอย่างไรซึ่งอาจหมายรวมถึงข้อตกลงหรือข้อยอมรับเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของหลักสูตร  คุณสมบัติหรือกฎเกณฑ์ของหลักสูตรมีดังนี้
              3.2.1. หลักสูตรมีลักษณะเป็นพลวัต  (Dynamis)  และเปลี่ยนไปตามความต้องการและความเปลี่ยนแปลงของสังคมอยู่เสมอ  คุณสมบัติข้อนี้แสดงว่าประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้แก่ผู้เรียนจะไม่ซ้ำเหมือนเดิม  แต่จะเปลี่ยนแปลงและเพิ่มอยู่เสมอ  โดยจะเปลี่ยนแปลงในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามความจำเป็น  เนื้อหาสาระและกิจกรรมใดยังเสนอเป้าหมายและจำเป็นต่อผู้เรียนและสังคมก็คงไว้  ในบางครั้งอาจจะคงเนื้อหาสาระไว้อย่างเดิม 
              3.2.2. การพัฒนาหลักสูตรเป็นการพัฒนาต่อเนื่อง  คุณสมบัติข้อนี้มีลักษณะใกล้เคียงและเสริมข้อแรกคือ หลักสูตรมีการเปลี่ยนต่อเนื่องกันไปตามความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เพราะฉะนั้นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักรในกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรวมอยู่ด้วย หลักสูตรเป็นสิ่งที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ เพราะหลักสูตรที่ดีควรตอบสนองต่อสังคม และเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  หลักสูตรจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เพื่อที่จะให้กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการต่อเนื่องอย่างแท้จริง  ข้อสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแต่ละครั้งจะพบว่า เนื้อหาสาระและกิจกรรมทั้งหลายของการเรียนการสอนจะซ้ำของเดิมเกินกว่า  80% เพราะในการปรับปรุงตัวหลักสูตรแต่ละครั้งเราอาจจะเปลี่ยนจุดมุ่งหมายบางประการใหม่ และปรับปรุงโครงสร้างของหลักสูตรซึ่งได้แก่การให้น้ำหนักความสำคัญของกิจกรรมหรือเนื้อหาสาระเสียใหม่
แต่กิจกรรมและเนื้อหาสาระของวิชาต่าง ๆ หรือตำราที่มีอยู่เดิมก็อาจสามารถสนองจุดมุ่งหมายใหม่ได้ ถ้ากิจกรรมหรือเนื้อหาใดไม่สนองจุดมุ่งหมายดังกล่าวก็ปรับปรุงสิ่งเหล่านั้นเสียใหม่เป็นกรณีๆ ไป
              3.2.3. หลักสูตรไม่สามารถแสดงกิจกรรมหรือกระทำกิจกรรมต่างๆ ตัวของมันเองได้จึงจำเป็นต้องใช้กิจกรรมหรือการกระทำอย่างอื่นมาช่วย เช่น การพัฒนาหลักสูตรการจัดทำหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตร การสร้างหลักสูตร เพราะฉะนั้นหลักสูตรจึงทำหน้าที่เป็นผู้กระทำอยู่ตลอดเวลา

3.ความสำคัญของหลักสูตร
              หลักสูตรเป็นองค์ประกอบอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการจัดการศึกษา  การจัดการศึกษาประเภทและระดับใดก็ดีจะขาดหลักสูตรไปมิได้  เพราะหลักสูตรจะเป็นโครงร่างกำหนดไว้ว่าจะให้เด็กได้รับประสบการณ์อะไรบ้างจึงจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคม  หลักสูตรเป็นแนวทางที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ผู้เรียน  นอกจากนี้หลักสูตรยังเป็นเครื่องชี้ให้เห็นโฉมหน้าของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไรอีกด้วย
             การศึกษาในระดับต่างๆ จะดีหรือไม่ดีสามารถดูจากหลักสูตรการศึกษาในระดับนั้นๆ ของประเทศ  เพราะหลักสูตรเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงจุดมุ่งหมายและนโยบายทางการศึกษาของชาติเข้าสู่การปฏิบัติในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ หลักสูตรจะเป็นเสมือนกับหางเสือที่จะคอยกำหนดทิศทางให้การเรียนการสอนเป็นไปตามความมุ่งหมายของการศึกษาหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หลักสูตรเป็นเครื่องชี้นำทางในการจัดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียนซึ่งครูจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน  หลักสูตรจึงเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา  และเป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญของชาติ  ถ้าประเทศใดมีหลักสูตรที่เหมาะสม  ทันสมัยและมีประสิทธิภาพคนในประเทศนั้นก็ย่อมมีความรู้  มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่

3.องค์ประกอบของหลักสูตร (Curriculum Component)
              องค์ประกอบตามหลักสูตรอาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด  แต่ส่วนใหญ่มีประเด็นหรือองค์ประกอบที่สำคัญเหมือนกันอย่างครบถ้วน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรสามารถไปใช้หลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบที่สำคัญคือ
 3.4.1.  จุดมุ่งหมายของหลักสูตร  (Curriculum Aims)
              จุดมุ่งหมายของหลักสูตร  หมายถึง  ความตั้งใจหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้ที่จะผ่านหลักสูตรจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความสำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดทิศทางและขอบเขตในการศึกษาแก่เด็กช่วยในการเลือกเนื้อหาและกิจกรรม  ตลอดจนใช้เป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการประเมินผล
3.4.2. เนื้อหา (Content)
              เมื่อกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว  กิจกรรมขึ้นต่อไปนี้  การเลือกเนื้อหาประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้  โดยดำเนินการตั้งแต่การเลือกเนื้อหาสาระและประสบการณ์  การเรียงลำดับเนื้อหาสาระ พร้อมทั้งการกำหนดเวลาเรียนที่เหมาะสม
  3.4.3.  การนำหลักสูตรไปใช้  (Curriculum   implementation)
              เป็นการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ  ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่นการจัดทำวัสดุหลักสูตร  ได้แก่  คู่มือครู  เอกสารหลักสูตร  แผนการสอน  แนวการสอน  และแบบเรียน เป็นต้น
              การจัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและสิ่งแวดล้อม เช่น  การจัดโต๊ะ  เก้าอี้ ห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ในการเรียน  จำนวนครูและสิ่งแวดล้อมอำนวยความสะดวกต่างๆ การดำเนินการสอน เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้ เพราะหลักสูตรจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการสอนของครู ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ในด้านการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้การวัดและประเมินผล  จิตวิทยาการสอน ตลอดทั้งปรัชญาการศึกษาของแต่ละดับ จึงทำให้การเรียนของผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร
              3.4.4. การประเมินผลหลักสูตร   (Evaluation)
              การประเมินผลหลักสูตร คือ การหาคำตอบว่า  หลักสูตรสัมฤทธิ์ผลตามที่กำหนดในจุดมุ่งหมายหรือไม่  มากน้อยเพียงใด  และอะไรเป็นสาเหตุ การประเมินผลหลักสูตรเป็นงานใหญ่และมีขอบเขตกว้างขวาง  ผู้ประเมินจำเป็นต้องวางโครงการประเมินผลไว้ล่วงหน้า
สรุป(Summary)

              หลักสูตรมีความสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษา เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นแนวทางในการจัดประสบการณ์แก่ผู้เรียน อันเปรียบเสมือนแผนที่หรือ  เข็มทิศที่จะนำทางในการวัดการศึกษาให้บรรลุผล หลักสูตรที่ดีจะต้องมีความชัดเจนเหมาะสมกับผู้เรียนและสังคมซึ่งจะทำให้การนำหลักสูตรไปใช้หรือการจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพราะฉะนั้นในการจัดทำหรือการพัฒนาหลักสูตรจึงควรถือเป็นงานสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการเพื่อให้ได้หลักสูตรในระดับต่าง ๆ ที่ดีเพราะถ้าเรามีหลักสูตรที่ดีถูกต้องเหมาะสมการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางในเรื่องการศึกษาจะเป็นไปโดยราบรื่นสามารถสร้างลักษณะสังคมที่ดีในอนาคตโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมืออย่างเต็มภาคภูมิ



อ้างอิง
ทิศนา แขมมณี (2555), ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
       ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15), กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ราชบัณฑิตยสถาน (2555), พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ:

       อรุณการพิมพ์


วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)และกิจกรรม (Activity)



ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)
-หลักสูครมีความสำคัญหรือจำเป็นต่อการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
ตอบ หลักสูตรเปรียบเสมือนแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและเป็นแนวทางสำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญของมาตรฐานการศึกษาในแต่ละประเทศ ทั้งนี้เพราะการศึกษาของแต่ละประเทศจะดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้เป็นสำคัญ หลักสูตรยังมีความสำคัญอีกประการหนึ่งต่อการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน กล่าวคือผู้สอนจะใช้หลักสูตรเป็นเสมือนแม่แบบในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการ สอนต่างๆ เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่หลงทางและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้ง ไว้อย่างครบถ้วน สำหรับความสำคัญของหลักสูตรกับผู้เรียน หากหลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่ดีจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียน รู้ตลอดชีวิต รวมถึงสร้างทักษะอื่นๆทั้งการเคารพสิทธิมนุษยชนและสามารถยอมรับในความหลาก หลายของผู้คนได้

กิจกรรม (Activity)
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบอินเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนามนุษย์ การศึกษาการเรียนรู้และหลักสูตร
ตอบ   การพัฒนามนุษย์ เป็นเครื่องมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มุ่งการจัดระบบประสบการณ์การเรียนรู้ การดำเนินการภายในเวลาที่จำกัด เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ และการเจริญเติบโตของงาน การพัฒนามนุษย์ (Human Development) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2545 และ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2553 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอก และการศึกษาตามอัธยาศัย หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
        การพัฒนาการศึกษา (Education) เป็นการเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ ให้สามารถปฏิบัติงานที่มีความแตกต่างจากงานเดิมได้ การศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนามนุษย์ ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง และในฐานะที่เป็นทรัพยากร การศึกษาเป็นการพัฒนาคนที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ (knowledge-based) วิจิตร ศรีสะอ้าน (2539 : 232 - 233) กล่าวว่า การศึกษามีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1)      การศึกษาเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปในแนวทางที่ปรารถนา
2)      การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นไปโดยจงใจ โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมายซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดไว้ 
3)      การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้กระทำเป็นระบบ มีกระบวนการอันเหมาะสมและผ่านสถาบันทางสังคมที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ด้านการศึกษา
      การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาและเป็นเครื่องชี้นำสังคม ผู้ได้รับการศึกษาจึงเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ การเรียนการสอนเป็นการพัฒนาคน ซึ่งไม่ใช่สิ่งทดลองหรือลองผิดลองถูก กระบวนการพัฒนาคนนั้นครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การออกแบบการสอนเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการสอน เพื่อให้การสอนบรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยอาศัยระบบที่มีขั้นตอนพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
          การพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตร (curriculum) หมายถึง 1. รายวิชาต่างๆ ทั้งหมดที่จัดสอนในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย (all the different courses of study that are taught in a school, college, or university e.g. the school curriculum) และ 2. รายวิชาหนึ่งๆ ที่จัดสอนในโรงเรียน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย (one particular course of study is taught in a school, college, or university e.g. the English curriculum )
               “syllabus” หมายถึง หัวข้อเรื่องที่จะศึกษาในรายวิชาหนึ่งๆ (the subjects to be studied in a particular course) จากความหมายข้างต้นนี้จะเห็นว่า คำว่า “curriculum” ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันจะเหมาะกว่าคำว่า “syllabus” ส่วนคำว่า “syllabus” จะใช้เมื่อหมายถึงประมวลการสอนในแต่ละรายวิชาซึ่งประกอบด้วยรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ กิจกรรม การเรียนการสอน การวัดและประเมินผล หลักสูตร เป็นคำศัพท์ทางการศึกษาคำหนึ่งที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย และมีผู้ให้ความหมายไว้มากมายและแตกต่างกันไปบางความหมายมีขอบเขตกว้างบาง ความหมายมีขอบเขตแคบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและประสบการณ์ที่แตกต่าง กันของบุคคลนั้นๆ ที่มีต่อหลักสูตร

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ประมวลการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร


ประมวลรายวิชาพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)
1.ชื่อสถาบันอุดมศึกษา           
มหาวิทยาลัยนครพนม
2.วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา      
คณะครุศาสตร์
3.รหัสและชื่อรายวิชา           
            31300305 พัฒนาการหลักสูตร (Curriculum Development) 
4.จำนวนหน่วยกิต                  
3หน่วยกิต (2-2-5)
5.หลักสูตรประเภทวิชา   
หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
หมวดวิชาเฉพราะกลุ่มวิชา (วิชาบังคับ)
6.อาจารย์ผู้สอน                      
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช
E-mail : Phichittra.npu.ac.th
Mobile: 0884555839
7.ภาคเรียนที่/ปีการศึกษา         
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
8.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)(ถ้ามี)
-
9.สถานที่เรียน                         
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
8.จุดมุ่งหมายของรายวิชา
รายวิชานี้ออกแบบไว้เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมาย ดังนี้
8.1  มีความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตร และแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
8.2  วิเคราะห์พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา ด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และด้านสาขาวิชา
8.3 มีทักษะกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผ่นหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรการจัดหลักสูตรหรือการนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร8.4 มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน8.5 มีเจตคติที่ดีและให้ความสำคัญต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร

9.คำอธิบายรายวิชา
            ศึกษาความหมายวิเคราะห์ อภิปรายถึงความสำคัญ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ประเภทและองค์ประกอบของหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทยและต่างประเทศ การวางแผนและการออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลหลักสูตร

10.จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง
2 ชั่วโมง/สัปดาห์
-
2ชั่วโมง/สัปดาห์
5 ชั่วโมง/สัปดาห์






แนวคิดการปรับเปลี่ยนเอกสารคำสอน รายวิชาพัฒนาหลักสูตรเป็นผลจากการวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนทัศน์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในยุคการศึกษา 4.0 ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยานครพนม ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย ปีการศึกษา 2560
มีการกำหนดจุดหมาย และจำนวนชั่วโมง ดังนี้
ด้านความรู้/ทักษะ                       Need Analysis Planning                         16 Hrs/
                          Praxis-Generating                                 32 Hrs/
                                                     Undersastanding-Producing                  16 Hrs/
 รวมจำนวน 64 ชั่วโมง
ออกแบบการสอน จำนวน หน่วย
หน่วยที่ การวางแผน (Planning Curriculum) (จำนวน ครั้ง ๆ ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
1.       การศึกษา การพัฒนามนุษย์ กับหลักสูตร
2.       ทฤษฎีหลักสูตร
3.       ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนา
4.       การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
หน่วยที่ ตอนที่ การออกแบบหลักสูตร (Generating Curriculum – Organization) (จำนวน ครั้ง ๆ ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
5.       ประเภทของหลักสูตร
6.       รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
7.       แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
หน่วยที่ ตอนที่ การจักระบบหลักสูตร (Generating Curriculum – Organization) (จำนวน ครั้ง ๆ ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
8.       การนำหลักสูตรไปใช้
9.       การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หน่วยที่ การประเมินผลหลักสูตร (ผลผลิตหลักสูตร – Producing) (จำนวน ครั้ง ๆ ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
10.   การประเมินหลักสูตร
11.     ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
11. แผนการจัดการเรียนรู้
สัปดาห์
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน   สื่อที่ใช้(ถ้ามี)
ผู้สอน
1
แนะนำรายวิชา
วางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
การศึกษา การพัฒนามนุษย์ กับหลักสูตร ความหมายคุณสมบัติ
ความสำคัญองค์ประกอบ
ลักษณะของหลักสูตรที่ดี
4
-บรรยาย/อภิปราย/สรุป
-ประมวลการสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
2
ทฤษฎีหลักสูตร
การสร้างทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
3-4
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง
ข้อมูลพื้นฐานสภาพปํญหา และแนวทางการแก้ในสังคม
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ข้อมูลพื้นฐานทางสภาพสังคมในอนาคต
ข้อมูลพื้นฐานจากนักวิชาการจากสาขาต่าง
ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับโรงเรียนชุมชนหรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
ข้อมูลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และการศึกษาหลักสูตรเดิม
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
5-6
การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น
ประโยชน์ของการเรียนการสอนโดยใชการเรียนรู้ในท้องถิ่น
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
7
แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
แบบจำลองของไทเลอร์
แบบจำลองของทาบา
แบบจำลองวงจรชองวีลเลอร์และนิโคลส์
แบบจำลองของวีลเลอร์
แบบจำลองนิวโคลส์
แบบจำลองของวอคเกอร์
แบบจำลองของสกิลเบค
แบบจำลองของเซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
แบบจำลองของพริ้นท์
แบบจำลองของโอลิวา
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
8
ประเมินผลระหว่างเรียน
4
สัปดาห์ที่1-สัปดาห์ที่7
ผศ.ดร.พิจิตรา
9-10
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรความหมายของการพัฒนาหลักสูตรหลักการพัฒนาหลักสูตร ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
11
ประเภทของหลักสูตร
-หลักสูตรบูรณาการ
-หลักสูตกว้าง
-หลักสูตรเสริมประสบการณ์
-หลักสูตรหลายวิชา
-หลักสูตรแกน
-หลักสูตรแฝง
-หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
-หลักสูตรเกลียวสว่าน
-หลักสูตรสูญ
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
12-13
การนำหลักสูตรไปใช้
หลักกรนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
ผู้เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
14
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
15
การประเมินหลักสูตร
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรของสเตค
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของสตัฟเฟิลบีม
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของไทเลอร์
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของแฮมมอนด์
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของโพรวัส
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
16
ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
17
ประเมินผลปลายภาค
(หมายเหตุเป็นไปตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดให้สอนไม่น้อยกว่า16 สัปดาห์)
-
ทดสอบแบบทดสอบ
ผศ.ดร.พิจิตรา
รวม
64


12. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
โครงสร้าง-แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา การพัฒนาลักสูตร                                                                   หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
คณะครุศาสตร์                                                                                     มหาวิทยาลัยนครพนม
เรื่อง....................................                                                                  เวลา ชั่วโมง


สาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ NPU Leaning Paradigm
วัตถุประสงค์
            เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะการพัฒนาหลักสูตร ในประเด็นต่อไป
            1.การวางแผน (Planning Curriculum)
            2.การออกแบหลักสูตรและจัดระบบ(Generating)
            3.ผลผลิตหลักสูตร(Producing)
เนื้อหา
สาระความรู้ในแต่ละบทเรียน(บทที่1-11)
หน่วยที่
เนื้อหาสาระ
1.การวางแผน (Planning Curriculum)

1.การศึกษา การพํฒนามนุษย์กับหลักสูตร
2.ทฤษฎีหลักสูตร
3.ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
4.การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
2.การออกแบหลักสูตรและจัดระบบ(Generating)
5.ประเภทของหลักสูตร
6.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
7.แบบจำลองหลักสูตร
8.การนำหลักสูตรไปใช้
9.การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
3.ผลผลิตหลักสูตร(Producing)
              
10.การประเมินหลักสูตร
11.ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร


กิจกรรมการเรียนรู้
            ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน (30-60 นาที)
                1.ผู้สอนใช้คำถาม เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ NPU Leaning Paradigm เริ่มจากทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน การเรียนการสอนแบบปกติ และการเรียนการสอนแบบการสร้างการเรียนรู้
            กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกันเรียนรู้ ให้สมาชิกในกลุ่ม กำหนดบทบาทหน้าที่ประธาน เลขานุการ และสมาชิก
ขั้นจัดการเรียนรู้ (60-120 นาที)
          2.นักศึกษาแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนจัดการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้ ความต้องการที่ผู้เรียนต้องการได้รับการตอบสนองในการศึกษาเรียนรู้ ประกอบด้วย กิจกรรม คือ
                2.1การกำหนดจุดมุงหมายการเรียนรู้
                2.2การกำหนดระดับคุณภาพของการเรียนรู้ในรูปแบบของภาระงาน คำถามเกี่ยวกับความรู้ที่ได้เรียนรู้ โดยกำหนดหรือระบุเป็นสาระความรู้ Declarative khowledge หรือ What student will understand และกำหนดหรือระบุเป็นทักษะ Procedural khowledgeหรือ What student will be able to do
            3.นักศึกษาจับคู่ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ และเรียนรู้ร่วมกัน ประกอบด้วย 3กิจกรรมย่อย คือ
                3.1การออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์ในการเรียนรู้ ในยุคการศึกษา 4.0 เลือกผลิตภัณฑ์ในการเรียนรู้ จากหนังสือหรือเอกสาร(ใบความรู้ หรือสื่อการเรียนรู้อื่นๆ)  และเสนอแนะ/การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
                ในขั้นนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบนำตนเอง เป็นรายบุคคล เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามBloom ขั้นความจำและความเข้าใจ
                 3.2การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยสืบเสาะหาหรือจัดเตรียมบทเรียนที่ใช้ในการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล การเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์ที่เรียนรู้จาก Mobileleaning
    ในขั้นตอนนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อนคู่คิด(จำนวน 2-3 คน)เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloom ขั้นความจำความเข้าใจ นำไปใช้
    3.3การบูรณาการความรู้อาศัยความร่วมมือกัน เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อบูรณาความรู้(จัดลำดับขั้นตามแนวคิดของบลูม จำ-เข้าใจ-นำไปใช้-วิเคราะห์-สังเคราะห์-ประเมินค่า) และฝึกวิพากษ์ความรู้
    ในขั้นตอนนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย(จำนวน 4-5 คน)เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloom ขั้นความจำ ความเข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์
4.นักศึกษาร่วมกันตรวจสอบความเข้าใจในมโนทัศน์การเรียนรู้ ในประเด็นการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้ ตรวจสอบทบทวนความเข้าใจในการเรียนรู้ ตรวจสอบทบทวนความเข้าใจในการเรียนรู้ของตนเอง ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย คือ
     4.1การตรวจสอบแบบย้อนคิดทบทวน การประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองการบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
     4.2การประเมินความรู้เปรียบเทียบกับมาตรฐานการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy
ขั้นสรุป (30-60 นาที)
5.นักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตอบคำถาม(ผู้สอนกำหนดประเด็นคำถาม) นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบ อาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ การร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้จากการศึกษา

สื่อการเรียนการสอน
1.เอกสารประกอบการนำเสนอ (PowerPoint Presentation)
2.เอกสารคำสอนวิชาการพัฒนาหลักสูตร
3.บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการทัศน์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในยุคการศึกษา4.0 ของนักศนึกษาวิชาชีพครู

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
1.สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
2.ตรวจคำตอบตามประเด็นคำถาม

13.การประเมินผล
หลักการประเมินผลการเรียนรู้
กรอบที่ในการอ้างอิงทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการประเมินผลการศึกษาระดับอุดมศึกษาครั้งนี้คือ หลักการประเมินผลการเรียนรู้และการให้ข้อเสนอแนะที่ดีทฤษฎีและหลักการ ที่เป็นผลการศึกษาวิจับของเดวิด นิโคล (David  Nicol  University of Strathclyde) ซึ่งนำเสนอหลักการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับทีดี 10 ข้อ ดังนี้

         1.ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร (เป้าหมาย เกณฑ์การวัด เกณฑ์มาตรฐาน)ขอบเขตของสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของงเกณฑ์และมาตรฐานก่อนระหว่าง และหลังการประเมินผลแค่ไหน

        2.ให้ “เวลาและความพยายาม” กับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทาย ขอบเขตของงานที่มอบหมายมีส่วนกระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
        3.ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยตนเอง ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับแบบไหนและความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ปรับปรุงด้วยตัวเองได้อย่างไร         
       4.สร้างความเชื่อที่เป็นแรง บันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวกขอบเขตของการประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสำเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
        5. สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อนและครูนักเรียน) มีโอกาสใดบ้างสำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่สอน
        6.อำนวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการเรียนขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสำหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับการประเมินตนเองการประเมินโดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
        7.ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล-เนื้อหาและกระบวนการขอบเขตของผู้เรียนสำหรับการเลือกหัวข้อวิธีการเกณฑ์การวัดผลค่าน้ำหนักคะแนนกำหนดเวลาและงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผล(งานที่ใช้ประเมินผล/การประเมินผลงาน) ในรายวิชาที่สอนมีแค่ไหน
        8.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการประเมินผลและปฏิบัติขอบเขตของข้อมูลผู้เขียนได้รับหรือมีการ ส่วนร่วมให้คำปรึกษา เพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีแค่ไหน
       9.สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แค่ไหน
     10.ช่วยครูผู้สอนในการปรับสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน   

การประเมินผลจะมีหลักการกระบวนการการประเมินการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
1.การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน
4. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง
5. การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
6.การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ
การประเมินผล



ดังนั้นการประเมินผลของรายวิชา กำหนดค่าน้ำหนักคะแนน และค่าระดับ(เกรด) ดังนี้
13.1ประเด็นการ ประเมินผลของรายวิชาพร้อมค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ
1. การสัมมนาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร                                             ร้อยละ 10
2. ประเมินกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพความสนใจและเข้าชั้นเรียน                                 ร้อยละ 10
3. การฝึกปฏิบัติ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหรือตามความสนใจ                                ร้อยละ 10
4. การนำเสนอผลงาน                                                                                                    ร้อยละ 20
5.การประเมินความรอบรู้
กลางภาคเรียน                                                                                                               ร้อยละ 20
ปลายภาคเรียน                                                                                                              ร้อยละ 30

13.2 การกำหนดค่าระดับเกรดแต่ละระดับ ช่วง(ร้อยละ)ของคะแนน
คะแนน (ร้อยละ)
เกรด
80-100
A
75-79
B+
70-74
B
65-69
C+
60-64
C
55-59
D+
50-54
D
ต่ำกว่า 50
F

14.เอกสารและข้อมูลสำคัญ
 คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่21. การเรียนรู้ : ขุมทรัพย์ในตน. 
              กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
วิจารณ์ พานิช (2555วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 กรุงเทพฯ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
Tyler R.W. (1949) Basic Principles of Curriculum and InstructionChicago : University of Chicago
            press