วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ตัวอย่าง จังหวัดบึงกาฬ

การพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
1. นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ
5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
      - หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์
        - หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่น ๆ
      - หน่วยนิเทศและประสานงาน
      - หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
      - หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
การใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
เนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่น แยกได้ 4 ประเภท คือ
1. เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ ของท้องถิ่น
2. เนื้อหาที่เกี่ยวกับจุดเด่นของท้องถิ่นที่ผู้เรียนควรทราบ เพื่อให้เกิดความภูมิใจ
3. เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย วิสัยทัศน์ของท้องถิ่น
4. เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น
วิธีนำเนื้อหาท้องถิ่นมาสู่หลักสูตรและการสอน
1. สำรวจสภาพภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยได้จากการอ่านเอกสารจากหน่วยงานปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เอกสารในห้องสมุดที่เกี่ยวกับท้องถิ่น แล้วนำมาวิเคราะห์ สรุป เป็นเนื้อหาสาระของท้องถิ่น


ตัวอย่าง: จังหวัดบึงกาฬ
1. จุดเด่นของจังหวัดนครพนมที่จะมาใส่ในหลักสูตรท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้
1) ภาคภูมิศาสตร์ เป็นจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน
2) ประวัติศาสตร์ จังหวัดบึงกาฬ เดิมเป็น อำเภอไชยบุรี ในเขตการปกครองของ จังหวัดนครพนม ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ไชยบุรี เดิมชื่อ "เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี" อยู่ในเขตการปกครองของเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยนั้น 
พ.ศ. 2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอไชยบุรีพบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง มีน้ำขังตลอดปี ชาวบ้านได้อาศัยน้ำในบึงแห่งนี้บริโภคและใช้สอยชาวบ้านเรียก "บึงกาญจน์" เป็นที่รู้จักทั่วไป จึงได้พิจารณาและจัดทำรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย ขอเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอไชยบุรีเป็น "อำเภอบึงกาญจน์" ตั้งแต่นั้นมา
พ.ศ. 2477 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า บึงกาญจน์ ซึ่งแปลว่าน้ำสีทองนั้น ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพราะน้ำเป็นสีคล้ำค่อนข้างดำ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับความหมายและความเป็นจริงของน้ำในบึงว่า “บึงกาฬ” ทางการจึงได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น"อำเภอบึงกาฬ" เพื่อความสะดวกและเข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอบึงกาฬ ตามลำดับ
 พ.ศ. 2554  ได้แยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดบึงกาฬ จัดตั้งเป็นจังหวัดลำดับที่ 76 ของประเทศไทย

3) ศาสนา มีศาสนาสำคัญ คือ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและบางส่วนนับถือศาสนา
คริสต์ อิสลาม และมีพื้นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ได้แก่ วัด โบสถ์ มัสยิด
4) สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดบึงกาฬ ได้แก่

1. หินสามวาฬ


          ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู มีลักษณะเป็นหินขนาดใหญ่ติดหน้าผาสูง แยกตัวเป็น 3 ก้อน มีอายุประมาณ 75 ล้านปี หนึ่งเดียวของโลก เมื่อมองดูจากระยะไกล หินสามก้อนนี้จะดูคล้ายกับฝูงครอบครัววาฬ ที่ประกอบด้วยพ่อวาฬ แม่วาฬ และลูก

2. ภูสิงห์


           ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู โดยเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาของเปลือกโลก เกิดเป็นหน้าผา ถ้ำ และกลุ่มหินรูปทรงต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ของภูสิงห์ จนเกิดเป็นความงดงามของธรรมชาติที่น่าสนใจ ภูสิงห์มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ลานธรรมภูสิงห์, จุดชมวิวลานธรรม, จุดชมวิวถ้ำฤาษี, หินช้าง, หินรถไฟ, ลานหินลาย และกำแพงหินภูสิงห์ เป็นต้น เรียกได้ว่ามาเที่ยวภูสิงห์ที่เดียวเที่ยวได้ทั้งวันไม่มีเบื่อ

3. ภูทอก



          เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง บริเวณโดยรอบภูทอกล้อมรอบด้วยทัศนียภาพที่สวยงามและเงียบสงบ และมีสะพานไม้สร้างวนขึ้นไปสู่ยอดเขารวมทั้งหมด 7 ชั้น เพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปยังกุฏิและถ้ำที่อยู่ตามหลืบผา จากด้านบนนักท่องเที่ยวจะมองเห็นความสวยงามของภูมิประเทศเบื้องล่างได้ไกลสุดลูกหูลูกตา ยิ่งถ้าในวันที่อากาศแจ่มใส อาจมองได้ไกลถึงเทือกเขาในเขตจังหวัดนครพนมเลยด้วย

      4. น้ำตกถ้ำพระ


ตั้งอยู่บ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ตัวน้ำตกถ้ำพระแบ่งออกเป็น 3 ช่วงหลัก ๆ ได้แก่ ช่วงแรกจะเป็นธารน้ำตกไหลลดหลั่นลงสู่แอ่งน้ำกว้าง (นักท่องเที่ยวคนไหนจะเล่นน้ำตรงส่วนนี้ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะน้ำจัดได้ว่าค่อนข้างลึกพอสมควร) ถัดมาช่วงกลางของน้ำตก มีพื้นที่ขนาดใหญ่กินพื้นที่ยาวไปจนถึงฝายทดน้ำ น้ำค่อนข้างตื้น และส่วนสุดท้ายเป็นบริเวณเหนือฝายขึ้นไป จุดนี้ถือเป็นไฮไลท์เด็ดของน้ำตก เพราะคุณจะได้เห็นน้ำตกกว้างสีขาวลอยฟูฟ่อง ซึ่งเป็นต้นธารที่ไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง จุดนี้จะเห็นนักท่องเที่ยวที่ทั้งขึ้นมาชมน้ำตก และลงเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก

  5. น้ำตกเจ็ดสี

          ตั้งอยู่ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เป็นหนึ่งในน้ำตกสวย ๆ ของบึงกาฬที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ทั้งยังมีจุดให้นักท่องเที่ยวเล่นน้ำด้วยกันหลายจุด ทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ทั้งส่วนของร้านค้าและเครื่องดื่มมากมาย หากแต่นักท่องเที่ยวควรเพิ่มความระมัดระวัง เพราะเส้นทางเดินค่อนข้างชัน บางช่วงทางเดินค่อนข้างลื่น ดังนั้นอย่าได้ประมาทเวลาเดินเด็ดขาด โดยช่วงที่เหมาะสำหรับการมาเที่ยวน้ำตกเจ็ดสี จะอยู่ในช่วงฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว รับรองว่าคุณจะได้ชมน้ำตกสวย ๆ อย่างแน่นอนเลยค่ะ

  6. น้ำตกชะแนน

          ตั้งอยู่ในท้องที่บ้านเทพมีชัย ตำบลหนองเดิ่น อำเภอบุ่งคล้า ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก ด้วยเพราะสายน้ำของน้ำตกเกิดจากลำห้วยชะแนนไหลหลั่นกันเป็นชั้น ๆ ยิ่งถ้าไปในช่วงหน้าฝน ปริมาณน้ำที่ตกจากหน้าผาเรียกได้ว่าอลังการแบบสุด ๆ เหมือนกับม่านเมฆสีขาวตั้งตระหง่าน เสียงน้ำตกไหลดังกึกก้อง ละอองน้ำกระเซ็นเป็นวงกว้างตามขนาดหน้ากว้างของน้ำตก รับรองว่าสวยงามคุ้มคาแก่การรอคอย

5) คำขวัญ ได้แก่ : ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง
6) ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นชิงชัน
7) ประเพณีประจำจังหวัด  : การแข่งขันเรือยาว

2. นำเนื้อหาดังกล่าวมาพิจารณาว่าจะเกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ใดตัวอย่างจังหวัดนครพนม
สาระการเรียนรู้ เนื้อหาท้องถิ่น เช่น
1. ภาษาไทย ภาษา 6 ชนเผ่า
2. คณิตศาสตร์ ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ หาด เกาะ ดินฟ้าอากาศ ที่ทำกิน อาชีพ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
3. วิทยาศาสตร์ วิธีทำเกษตร การดูแลสภาพป่าต่างๆ
4. สังคมวิทยา ศาสนาวัฒนธรรม วัฒนธรรมของคน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหาร อาชีพ และเศรษฐกิจสังคม
5. สุขศึกษา พลศึกษา คุณค่าทางโภชนาการ
6. ศิลปะ การทอเสื่อ
7. การงาน อาชีพ และเทคโนโลยี เน้นอาชีพของคนบึงกาฬ การเกษตร
8. ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ ภาษาลาว ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม




3. นำเนื้อหามาผสมผสานกับเนื้อหาในหลักสูตรใหม่ อาจทำได้หลายลักษณะ เช่น
ก) ใช้เป็นเนื้อหาสอน เช่น เมื่อสอนเรื่องตนเองและครอบครัวก็ใช้สภาพจริงเป็นเนื้อหา
ข) ใช้เป็นแบบฝึกหัดให้นักเรียนไปทำ เช่น การประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นมีกี่อาชีพ อะไรบ้าง มีผู้ทำร้อยละเท่าไร
ค) ใช้เป็นโครงงาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
ง) ใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
จ) ใช้เป็นประเด็น ให้นักเรียนไปค้นคว้า ตัวอย่างเช่น นครพนม แปลว่า มีลักษณะอย่างไร มากน้อยเพียงใด มีอะไรสูญหายไปบ้างหรือไม่ ถ้าสูญหายทำไมจึงสูญหายไป
ฉ) ใช้เป็นสถานที่ไปทัศนศึกษา เช่น ภูทอก หินสามวาฬ





สมาชิก
นางสาวปานฤทัย   ศรีกุลวงค์  รหัสนักศึกษา 613150710028
นายกิตติศักดิ์    ศรีทิน   รหัสนักศึกษา 613150710127
นางสาวลัดดาวัลย์    ดวงศรี รหัสนักศึกษา 613150710234
นางสาวอรปรียา   คงเคน  รหัสนักศึกษา 613150710275
นางสาวชมพูนุช   ประหยัด   รหัสนักศึกษา 613150710291

สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา  คณะครุศาสตร์

บทที่ 4 การวางแผนพัฒนาหลักสูตร

บทที่ 4
การวางแผนพัฒนาหลักสูตร

มโนทัศน์(Concept)
              การวางแผนจัดทำหลักสูตรบุคคลที่มีหน้าที่วางแผนจัดทำหลักสูตรต้องร่วมกันจัดทำแผนและจัดทำหลักสูตรตามขั้นตอนอย่างละเอียดสามารถตรวจสอบแต่ละขั้นว่าเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่  อย่างไร  หากมีปัญหาก็สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้  การกำหนดแผนการเรียนการสอนในหลักสูตรจะช่วยให้ทราบว่าจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด และอย่างไร ทั้งยังสามารถกำหนดสื่อการเรียนการสอนการประเมินผลเพื่อให้เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ทั้งรายกลุ่ม และรายบุคคล

ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
1. มีความรู้   ความเข้าใจ การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
2. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้
3. สามารถให้ข้อเสนอแนะในการแต่งตั้งคณะกรรมการและหน้าที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับ
การวางแผนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นได้

สาระเนื้อหา(Content)

การวางแผนพัฒนาหลักสูตร

              การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องดำเนินการอยู่เสมอและจะกระทำทุกครั้งเมื่อสังคมมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะทำให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนประสบการณ์ขึ้นมาใหม่และพร้อมที่จะนำประสบการณ์และความรู้ที่เกิดขึ้นมานั้นไปพัฒนาตนและสังคมให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
   Saylor and Alexander (1966 : 7) ได้สรุป การวางแผนพัฒนาหลักสูตร ต้องประกอบด้วย ดังนี้

              1. หลักสูตร
                   1.ตัวผู้เรียนเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและสังคมเองมองเห็นนักเรียนคืออะไร มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมอย่างไรบ้าง สังคมต้องการอะไรจากนักเรียน และนักเรียนต้องการอะไรทั้งในแง่ของส่วนบุคคล และสังคม
                   1.หน้าที่และจุดมุ่งหมายของโรงเรียนคืออะไร โรงเรียนมีแนวคิดยึดปรัชญาสาขาใดและมีแนวปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายนั้นอย่างไร
                   1.ธรรมชาติของความรู้นั้นเป็นอย่างไร ขอบข่ายของความรู้ที่จำเป็นต้องศึกษานั้นมีมากน้อยแค่ไหน อย่างไร อะไรเป็นสิ่งจำเป็นก่อนและหลังหรือลำดับของความรู้เป็นอย่างไร
                   1.กระบวนการการเรียนรู้เป็นอย่างไร ลำดับหรือขั้นตอนของการเรียนรู้เป็นอย่างไร สิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนแรกก็คือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคม ปรัชญา ผู้เรียน และกระบวนการเรียนรู้
              2. บุคคลที่ทำหน้าที่วางแผนพัฒนาหลักสูตร
                   2.นักการศึกษาในทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย เป็นต้น
                   2.ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง สมาชิกในชุมชนและสมาคมต่าง ๆ เป็นต้น
              3. ผู้ตัดสินใจเลือกใช้หลักสูตร
              ผู้ทำหน้าที่เลือกใช้หลักสูตร คือ นักพัฒนาหลักสูตรซึ่งประกอบด้วยครู นักศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา  ผู้ปกครอง  ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ประกอบขึ้นเป็นกรรมการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร โดยทำหน้าที่คัดเลือกและจัดระบบเนื้อหาสาระตลอดทั้งแบบเรียนกำหนดระบบการเรียน การสอน  และการตัดสินใจเลือกนั้นกระทำตามลำดับและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบรรพต  สุวรรณประเสริฐ (2544: 16) ได้เสนอรูปแบบการวางแผนได้เสนอรูปแบบการวางแผนหลักสูตรซึ่งต้องมีองค์ประกอบสำคัญได้แก่การกำหนดหลักสูตรนักวางแผนหลักสูตรการตัดสินใจหลักสูตรและแผนหลักสูตร
การวางแผนการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาหลักสูตรที่จะทำให้หลักสูตรเกิดความสมบูรณ์  ดังนั้น  ก่อนที่จะพัฒนาหลักสูตรนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องกำหนดแผนการพัฒนาหลักสูตร จะต้องกำหนดแผนการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
              1. การศึกษาปัญหาหรือการกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้นในหลักสูตรเดิม
              2.การกำหนดข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาข้อมูลที่กำหนดจะต้องเป็นข้อมูลที่สนองตอบต่อปัญหาที่ได้มาจากการศึกษาปัญหา
              3. การกำหนดสมมติฐานว่าหลักสูตรที่จะต้องได้รับการพัฒนานั้นจะบังเกิดผลต่อผู้เรียนอย่างไร
              4.กำหนดแนวทางในการดำเนินงานขั้นตอนในการดำเนินงานจะต้องกำหนดเวลาอย่างแน่นอนเพื่อจะได้เห็นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ
              5.การคัดเลือกบุคลากรมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรจะสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องมีบุคคลากรที่มีคุณภาพในการทำงานบุคลากรที่ควรกำหนดในแผนได้แก่ นักพัฒนาหลักสูตร นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์และครูผู้สอน

1. การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น                                
              โลกในยุคมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมาก และไม่หยุดยั้ง ทำให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ แพร่ถึงกันทั่วโลกได้อย่าสะดวกและรวดเร็วโลกในปัจจุบันจึงเป็นโลกไร้พรมแดน  การจัดการศึกษาจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคัดสรรหรือนำความรู้ ข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆอันเป็นสากลมาพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของตน สังคม และประเทศชาติได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
              การจัดการศึกษานอกจากจะพัฒนาผู้เรียนให้มีความสากลแล้วยังจะต้องคงทนความเป็นท้องถิ่นของผู้เรียนไว้ด้วย  ผู้เรียนจึงสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับสภาพต่าง ๆ ในท้องถิ่นอย่างมีความสุข มีความรัก มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน สามารถแก้ไขและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม  การจัดการศึกษาต้องร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับท้องถิ่น เป็นทวิภาคีร่วมกันในการสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและแก้ปัญหาในชุมชนหรือท้องถิ่น

ความหมายของแหล่งการเรียนรู้
            แหล่งการเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง  เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ : 43)
            จากความหมายของแหล่งการเรียนรู้ที่กล่าวข้างต้น  อาจกล่าวได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น  การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่  โรงเรียนที่มีฐานะรับผิดชอบโดยตรงในการจัดการศึกษา  จึงต้องสร้างหรือจัดหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายขึ้นในโรงเรียน  นอกจากนี้  ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 29 ได้เน้นให้สถานศึกษาร่วมกับบุคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น จัดกบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาและความต้องการ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในทุกสถานศึกษา  ครูต้องเปลี่ยนวิธีการสอนจากการเรียนในหนังสื่อหรือในห้องเรียน  ไปสู่การเรียนรู้ตามสภาพจริงในชุมชนหรือท้องถิ่น จึงจะเอื้อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดหรือพัฒนาการศึกษา  และเอื้อต่อสถานศึกษาหรือผู้เรียนในกรมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
2. แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
              แหล่งการเรียนรู้ที่โรงเรียนสามารถจัดดำเนินการเพื่อให้ครู  อาจารย์  และผู้เรียน ได้ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์  มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของโรงเรียนแต่ละแห่ง  ตัวอย่างเช่น  ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดหมวดวิชา  ห้องสมุดเคลื่อนที่  มุมหนังสือในห้องเรียน  ห้องพิพิธภัณฑ์  ห้องมัลติมีเดีย  ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องอินเตอร์เน็ต  ศูนย์วิชาการ  ศูนย์วิทยาบริการ  ศูนย์สื่อการเรียนการสอน  ศูนย์พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน  สวนพฤกษศาสตร์  สวนวรรณคดี  สวนสมุนไพร  สวนสุขภาพ  สวนหนังสือ สวนธรรมะ ฯลฯ

3. แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
            แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในการเรียนรู้ที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอนมี 6 ประเภท ดังนี้
1.    บุคคล หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะสาขาหรืองานอาชีพต่าง ๆ ซึ่งโรงเรียนอาจเชิญมาเป็นวิทยากรในบางชั่วโมง หรืออาจจ้างสอนเป็นรายวิชาหรือเชิญเป็นอาสาสมัครสอน เป็นพิเศษ ได้แก่ เกษตร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักธุรกิจ พระสงฆ์ ช่างฝีมือ เกษตรตำบล ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ผู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้น
     2.     สถาบัน หน่วยงาน หรือองค์กรทางสังคม แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
       2.1     สถานศึกษา พัฒนาและให้บริการประชาชน หมายถึง หน่วยงานที่ให้การศึกษา พัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด วัด สถานีทดลองข้าว สถานีประมง พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ฝึกอบรม ฯลฯ เป็นต้น
     2.2     สถานประกอบการทางธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม และอาชีพอิสระ ได้แก่ ร้านค้า โรงงาน ฟาร์ม ฟาร์มเลี้ยงไก่ ร้านซ่อมรถจักรยาน ร้านขายอาหาร ไร่ข้าวโพด นาเกลือ สวนมะม่วง ฯลฯ เป็นต้น
3.   สถานที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำ ทะเล ภูเขา ป่าไม้ น้ำตก ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ เป็นต้น
     4.    วัสดุและเศษวัสดุต่าง ๆที่มีในท้องถิ่น แบ่งได้ ประเภทคือ
4.1     วัสดุและเศษวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ แร่ธาตุ ดิน หิน ทราย พืช เปลือกไม้ เมล็ดข้าว ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ ฯลฯ เป็นต้น
4.2     วัสดุและเศษวัสดุที่ได้จากการผลิตหรือการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์ ได้แก่ กระดาษ กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก เศษไม้ เศษผ้า เศษกระดาษ    เศษกระจก กระป๋อง ฝาขวดน้ำอัดลม ฯลฯ เป็นต้น
5.       สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ วารสาร หนังสือพิมพ์หนังสือ รูปภาพ ฯลฯ
6.       สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเตอร์เน็ต แผ่นซีดี – รอม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI)   วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ฯลฯ

4. ประโยชน์ของการเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
            การใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
      1.ทำให้นักเรียนรู้จัก และใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆที่มีอยู่และหาได้ง่าย ในท้องถิ่นของตน สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษามาพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่หรือการนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ สามารถปรับการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น จึงสามารถอยู่กับท้องถิ่นได้อย่างเป็นสุข
      2.ทำให้นักเรียนรัก ภูมิใจ มองเห็นคุณค่า หวงแหน อนุรักษ์ และช่วยทำนุบำรุงรักษาท้องถิ่นของตน เพราะนักเรียนได้พึ่งพาแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่นในการพัฒนาศักยภาพของตน ถ้าแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ต้องศูนย์เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ก็จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของนักเรียนต้องลดน้อยถอยลงหรือได้ผลกระทบตามไปด้วย
       3.ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ เพราะนักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงได้เห็นจริงและได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง การนำวิทยากรมาสู่ห้องเรียนหรือการพานักเรียนไปศึกษานอกโรงเรียน ทำให้นักเรียนได้เปลี่ยนบรรยากาศจากการเรียนที่จำเจ ไปสู่การเรียนที่แปลกใหม่ นักเรียนจึงเกิดความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียน นอกจากนี้ การนำวัสดุในท้องถิ่นมาจัดการเรียนการสอนยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และของทางราชการอีกด้วย
            4.ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูหรือขาดครูที่มีความรู้ความชำนาญในการสอนบางเนื้อหาบทเรียน การนำวิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้ ความสามารถมากกว่าครูมาช่วยสอนทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ เต็มตามหลักสูตร
            5.การใช้วิทยากรหรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เกิดความเข้าใจกัน ให้ความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการจัดการศึกษาหรือพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น

5. แนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
            การใช้แหล่งการเรียนในท้องถิ่น  เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมีแนวทางกว้างๆ ดังนี้
            1.สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น จัดทำระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ทันสมัย สะดวกต่อการค้นหา
            2.ศึกษาหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรต่าง ๆเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับหลักสูตร
            3.ประยุกต์ใช้วัสดุและเศษวัสดุที่มีในท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดหลักการหรือความคิดรวบยอดตามหลักสูตรแกนกลาง ทดลองใช้จนเกิดความมั่นใจแล้วจึงได้นำมาให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ
            4.ครูและนักเรียนร่วมมือกันเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
            5.บันทึกผลการเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและรูปภาพ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา ปรับปรุง หรือนำมาใช้ในโอกาสต่อไป
            6.ปรับปรุง แก้ไข พัฒนา การเรียนการสอนโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพของการเรียนการสอนแล้ว ยังเห็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียนได้ด้วย

6. หลักการจัดหาแหล่งการเรียนรู้
            ในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีแหล่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป  การจัดหาแหล่งการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอน  มีหลัก 6ประการดังนี้ (คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติสำนักงาน 2524 :9-10)
      1.ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้จัดการเรียนการสอนควรเหมาะสมกับสภาพต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อาชีพหลักของประชาชน ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจเป็นต้น
      2.ความสะดวกในการเดินทางและการติดต่อ แหล่งการเรียนรู้ที่ดี ต้องเป็นแหล่งที่เดินทาง ไปมา และสามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวก เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้ได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่า
      3.ความประหยัดและประโยชน์ การใช้แหล่งเรียนรู้ที่ดีต้องคำนึงถึงเวลาและเงินที่ต้องใช้ในการดำเนินการ และประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับด้วย ถ้านำมาใช้แล้วเสียเงินและเวลามากแต่ได้ประโยชน์น้อยก็ไม่สมควรใช้ เช่น พาไปศึกษาที่ซึ่งห่างไกลจากโรงเรียนมาก ครูและนักเรียนต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก ทำให้นักเรียนเหนื่อยจึงไม่มีความสนใจเท่าที่ควร
            4.ความเหมาะสมกับบทเรียนและวัยของผู้เรียน เช่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่สลับซับซ่อนนัก หรือให้ดูโดยรวม ไม่ต้องดูส่วนย่อย ๆ เช่น พาไปดูโรงงานทอผ้าควรให้ดูเกี่ยวกับ สถานที่ วัตถุดิบ และผลผลิต ไม่ควรดูกระบวนการผลิต นอกจากนี้ วิทยากรควรใช้ภาษาง่ายๆ ที่เด็กในวัยนี้เขาใจได้ดี
            5.ความปลอดภัยและความถูกต้อง หมายถึง ความปลอดภัยทั้งในการเดินทาง ในขณะศึกษาหาความรู้ และในการนำไปใช้ด้วย   ส่วนความถูกต้องนั้น หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับจะต้องถูกต้อง ตรงตามหลักวิชา
            6. ความรู้และประโยชน์ที่หลากหลากหลาย  เช่น  พานักเรียนไปดูการทำและจำหน่ายเครื่องจักสาน  นักเรียนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับวัสดุดิบที่ใช้  กระบวนการผลิต  รูปแบบของชิ้นงาน การประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ประโยชน์ในการใช้งาน  การจัดจำหน่าย  ได้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการดัดแปลงวัสดุที่มีในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์  ได้เห็นวิธีการจัดร้าน วิธีการคิดราคาสินค้า เป็นการศึกษาแบบบูรณาการทั้งในด้านการทำงาน การประกอบอาชีพในชุมชน  การประกอบธุรกิจ  การรวมกลุ่ม  ความคิดสร้างสรรค์  และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น  เป็นต้น

7. ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 
            ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
                        ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
            1.นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
            2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
            3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
            4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ
            5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
           6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
                - หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์    - หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่น ๆ
                - หน่วยนิเทศและประสานงาน                 - หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
                - หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
การใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
            เนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่น แยกได้ 4 ประเภท คือ
1.       เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ ของท้องถิ่น
2.       เนื้อหาที่เกี่ยวกับจุดเด่นของท้องถิ่นที่ผู้เรียนควรทราบ เพื่อให้เกิดความภูมิใจ
3.       เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย วิสัยทัศน์ของท้องถิ่น
4.       เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น

              วิธีนำเนื้อหาท้องถิ่นมาสู่หลักสูตรและการสอน
            สำรวจสภาพภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยได้จากการอ่านเอกสารจากหน่วยงานปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เอกสารในห้องสมุดที่เกี่ยวกับท้องถิ่น แล้วนำมาวิเคราะห์ สรุป เป็นเนื้อหาสาระของท้องถิ่น




สรุป(Summary)
              การวางแผนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในที่นี้ เป็นการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ใช้ข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กล่าวคือ  การวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น มาบูรณาการการจัดกระบวนการทางการศึกษาการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการวางแผนพัฒนาหลักสูตรจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ หลักสูตรเดิมที่ใช้กันอยู่ก่อนแล้วว่ามีผลต่อการใช้ปัจจุบันอย่างไรหากหลักสูตรเดิมไม่สนองต่อความต้องการของสังคมและผู้เรียนในปัจจุบันอันจะส่งผลไปสู่อนาคตเพื่อการผลิตคนสู่อนาคตแล้วก็ให้นำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลในการวางแผนสร้างหลักสูตรใหม่
การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น  เริ่มจากครูและนักเรียนร่วมกันสำรวจและจัดทำข้องมูลเกี่ยวกับบุคลากร  องค์กรทางสังคม  แหล่งการเรียนรู้ทางธรรมชาติ  และวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเนื้อหาต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อความสะดวกในการใช้งาน  ครูอาจจะพาผู้เรียนไปศึกษาและฝึกการทำงานในสถานที่จริงที่บ้านหรือ หน่วยงาน หรือสถานประกอบการต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่น  ครูอาจจะเชิญผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ  หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่าง ๆ มาเป็นวิทยากรในโรงเรียน   การเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตน  จะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความแปลกแยกกับท้องถิ่น  สามารถนำเนินชีวิตและพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงรอบ ๆ ตัว  การเปิดโอกาสให้บุคลากรในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เป็นการประสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน  เป็นการผนึกกำลังร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาการศึกษาและท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าตามความต้องการและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ(PLC) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในศตวรรษที่21

PLC คืออะไรสำคัญอย่างไร?
การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)




ในยุคปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในแต่ละชั้นเรียนจะมีนักเรียนที่มีความสามารถที่หลากหลายและแตกต่างกัน ดังพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 10 ที่ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์   สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ  การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดให้ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา นอกจากนี้แล้วในมาตรา 22ยังระบุถึงหลักการจัดการศึกษาว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ต้องจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ  ครูทุกคนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งนวัตกรรมใหม่ที่ครูจะต้องทราบคือ Professional Learning Community (PLC) โดยที่ PLC ย่อมาจาก Professional Learning Community ซึ่งหมายถึงCommunity of Practice (CoP) ในการทำหน้าที่ครูนั่นเอง
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการรวมตัวกันทำงานไปพัฒนาทักษะและการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ครูเพื่อศิษย์ไป  โดยรวมตัวกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) จากประสบการณ์ตรง  ทำให้การทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์เป็นการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม   ซึ่งอาจเป็นทีมในโรงเรียนเดียวกันก็ได้ ต่างโรงเรียนกันก็ได้   หรืออาจจะอยู่ห่างไกลกันก็ได้  โดย ลปรร. ผ่านICT
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) คืออะไร?
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC คือ การรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังที่Sergiovanni (1994) ได้กล่าวว่า PLC เป็นสถานที่สำหรับ “ปฏิสัมพันธ์” ลด “ความโดดเดี่ยวของมวลสมาชิกวิชาชีพครูของโรงเรียน     ในการทำงาน เพื่อปรับปรุงผลการเรียนของนักเรียน หรืองานวิชาการ โรงเรียน ซึ่ง Hord (1997) มองในมุมมองเดียวกัน โดยมองการ รวมตัวกันดังกล่าว มีนัยยะแสดงถึงการเป็นผู้นําร่วมกันของ ครู หรือเปิดโอกาสให้ครูเป็นประธาน” ในการเปลี่ยนแปลง (วิจารณ์ พานิช, 2555) การมีคุณค่าร่วม และวิสัยทัศน์ร่วมกัน ไปถึงการเรียนรู้ร่วมกันและการนําสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ อย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน การรวมตัวในรูปแบบนี้เป็นเหมือน แรงผลักดัน โดยอาศัยความต้องการและความสนใจของ สมาชิกใน PLC เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ สู่มาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นหลัก (Senge, 1990) การพัฒนา วิชาชีพให้เป็น “ครูเพื่อศิษย์” (วิจารณ์ พานิช, 2555) โดยมองว่า เป็น “ศิษย์ของเรา” มากกว่ามองว่า “ศิษย์ของฉันและการ เปลี่ยนแปลงคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มจาก “การเรียนรู้ ของครู” เป็นตัวตั้งต้น เรียนรู้ที่จะมองเห็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อผู้เรียน เป็นสําคัญ
อย่างไรก็ตามการรวมตัวการเรียน การเปลี่ยนแปลงใดๆ เป็นไปได้ยากที่จะทำเพียงลำพังหรือเพียงนโยบาย เพื่อให้เกิด การขับเคลื่อนทั้งระบบโรงเรียน จึงจำเป็นต้องสร้างความเป็น PLCที่สอดคล้องกับธรรมชาติทางวิชาชีพร่วมในโรงเรียน ย่อมมีความ เป็นชุมชนที่สัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น (Senge, 1990) ชุมชน ที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพได้นั้น จึงจำเป็นต้องมีอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทางวิชาชีพ มีฉันทะ และศรัทธาในการทํางาน “ครูเพื่อศิษย์ร่วมกัน” บรรยากาศ การอยู่ร่วมกันจึงเป็นบรรยากาศ “ชุมชนกัลยาณมิตร ทางวิชาการ” (สุรพล ธรรมร่มดีทัศนีย์ จันอินทร์และ คงกฤช ไตรยวงศ์, 2553)ที่มีลักษณะความเป็นชุมชน แห่งความเอื้ออาทรอยู่บนพื้นฐาน “อำนาจเชิงวิชาชีพ” และอำนาจเชิงคุณธรรม” (Sergiovanni, 1994) เป็นอำนาจที่สร้างพลังมวลชนเริ่มจากภาวะผู้นำร่วมของครูเพื่อขับเคลื่อนการ ปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษา (Fullan, 2005)



กล่าวโดยสรปุ PLC หมายถึง การรวมตัว ร่วมใจร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีม เรียนรู้ที่ครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารแบบผู้ดูแลสนับสนุน สู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญและความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีความสำคัญอย่างไร?
ความสำคัญของ PLC จากผลการวิจัยโดยตรงของที่ยืนยันว่าการดำเนินการในรูปแบบ PLCนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพทั้งด้านวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจากการสังเคราะห์รายงานการวิจัยเกี่ยวกับโรงเรียนที่มีการจัดตั้ง PLC โดยใช้คำถามว่า โรงเรียนดังกล่าวมีผลลัพธ์อะไรบ้าง ที่แตกต่างไปจากโรงเรียนทั่วไปที่ไม่มีชุมชนแห่งวิชาชีพ และถ้าแตกต่างแล้วจะมีผลดีต่อครูผู้สอนและต่อนักเรียนอย่างไรบ้างซึ่งมีผลสรุป 2 ประเด็นดังนี้
ประเด็นที่ 1 ผลดีต่อครูผู้สอนพบว่า PLC ส่งผลต่อครูผู้สอนกล่าวคือลดความรู้สึกโดดเดี่ยวงานสอนของครู เพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจอย่างแข็งขัน จนเกิดความรู้สึกว่า ต้องการร่วมกันเรียนรู้และรับผิดชอบต่อพัฒนาการโดยรวมของนักเรียนถือเป็นพลังการเรียนรู้ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนให้มีผลดียิ่งขึ้น กล่าวคือมีการค้นพบความรู้ และความเชื่อที่เกี่ยวกับวิธีการสอนและตัวผู้เรียนซึ่งที่เกิดจากการคอยสังเกตอย่างสนใจ รวมถึงเข้าใจในด้านเนื้อหาสาระ ที่ต้องจัดการเรียนรู้ได้แตกฉานยิ่งขึ้นจนตระหนักถึงบทบาทและพฤติกรรมการสอนที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด อีกทั้งการรับทราบข้อมูลสาระสนเทศต่างๆ ที่จำเป็นต่อวิชาชีพได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพัฒนางานวิชาชีพได้ตลอดเวลา เป็นผลให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาและอุทิศตนทางวิชาชีพเพื่อศิษย์ ซึ่งเป็นทั้งคุณค่าและขวัญกำลังใจต่อการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นที่สำคัญคือยังสามารถลดอัตราการลาหยุดงานน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนแบบเก่ายังพบว่ามีความก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับลักษณะผู้เรียนได้อย่างเด่นชัดและรวดเร็วกว่าที่พบในโรงเรียนแบบเก่า มีความผูกพันที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้ปรากฏอย่างเด่นชัดและยั่งยืน
ประเด็นที่ 2 ผลดีต่อผู้เรียนพบว่า PLC ส่งผลต่อผู้เรียนกล่าวคือสามารถลดอัตราการตกซ้ำชั้น และจำนวนชั้นเรียนที่ต้องเลื่อนหรือชะลอการจัดการเรียนรู้ให้น้อยลง อัตราการขาดเรียนลดลงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ประวัติศาสตร์และวิชาการอ่านที่สูงขึ้นอย่างเด่นชัด เมื่อเทียบกับโรงเรียนแบบเก่าสุดท้ายคือมี ความแตกต่างด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีภูมิหลังไม่เหมือนกันและลดลงชัดเจน


กล่าวโดยสรุป คือ PLC มีพัฒนาการมาจากกลยุทธ์ระดับองค์กรที่มุ่งเน้นให้องค์กรมีการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเริ่มพัฒนาจากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันในทางวิชาชีพ ที่มีหน้างานสำคัญคือความรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกันเป็นสำคัญจากการศึกษาหลายโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาดำเนินการในรูปแบบPLC พบว่าเกิดผลดีทางวิชาชีพครู และผู้เรียนที่มุ่งพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ
กลยุทธ์ในการจัดการและใช้ชุมชนแห่งการเรียนทางรู้วิชาชีพ (PLC)อย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร?
1. เริ่มต้นด้วยขั้นตอนง่ายๆ (Take a baby steps) โดยเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย อภิปราย สะท้อนผล แลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ เพื่อกำหนดว่า จะดำเนินการอย่างไร โดยพิจารณาและสะท้อนผลในประเด็นต่อไปนี้
1.1 หลักการอะไรที่จะสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติ
1.2 เราจะเริ่มต้นความรู้ใหม่อย่างไร
1.3 การออกแบบอะไรที่พวกเราควรใช้ในการตรวจสอบหลักฐานของการเรียนรู้ที่สำคัญ
2. การวางแผนด้วยความร่วมมือ (Plan Cooperatively) สมาชิกของกลุ่มกำหนดสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดำเนินการ
3. การกำหนดความคาดหวังในระดับสูง (Set high expectations) และวิเคราะห์การสอนสืบเสาะหาวิธีการที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด
3.1 ทดสอบข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการสอนหลังจากได้มีการจัดเตรียมต้นแบบที่เป็นการวางแผนระยะยาว (Long-term)
3.2 จัดให้มีช่วงเวลาของการชี้แนะ โดยเน้นการนำไปใช้ในชั้นเรียน
3.3 ให้เวลาสำหรับครูที่มีความยุ่งยากในการสังเกตการณ์ปฏิบัติในชั้นเรียนของครูที่สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างประสบผลสำเร็จ
4. เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ (Start small) เริ่มต้นจากการใช้กลุ่มเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยปรับขยาย
5. ศึกษาและใช้ข้อมูล (Study and use the data) ตรวจสอบผลการนำไปใช้และการสะท้อนผลเพื่อนำมากำหนดว่า แผนไหน ควรใช้ต่อไป/แผนไหนควรปรับปรุงหรือยกเลิก
6. วางแผนเพื่อความสำเร็จ (Plan for success) เรียนรู้จากอดีต ปรับปรุงหรือปฏิเสธในสิ่งที่ไม่สำเร็จ และทำต่อไป ความสำเร็จในอนาคต หรือความล้มเหลวขึ้นอยู่กับเจตคติและพฤติกรรมของครู
7. นำสู่สาธารณะ (Go public) แผนไหนที่สำเร็จก็จะมีการเชิญชวนให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม      ยกย่องและแลกเปลี่ยนความสำเร็จ
8. ฝึกฝนร่างกายและหล่อเลี้ยงสมอง  (Exercise the body & nourish the brain) จัดกิจกรรมที่ได้มีการเคลื่อนไหวและ เตรียมครูที่ทำงานสำเร็จของแต่ละกลุ่มโดยมีการจัดอาหาร เครื่องดื่มที่มีประโยชน์
ลำดับต่อไปจะได้กล่าวถึงเทคนิคที่ใช้ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนทางรู้วิชาชีพ (PLC) ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมได้