วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบ


เนื้อหาที่นำมาแต่งข้อสอบ มีดัง
1. หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร
2. ความหมายของหลักสูตร
3. การพัฒนาหลักสูตร
4. กระบวนการการพัฒนาหลักสูตร
5. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
แนวข้อสอบหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร
1. หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ทั้งปวงชนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่พึ่งปรารถนาทั้งพฤติกรรมความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมต่างๆ จากข้อความข้างต้นมีความหมายตรงกับหัวข้อใด
ก. ความหมายของหลักสูตร
ข. การพัฒนาหลักสูตร
ค. ประเภทของหลักสูตร
ง. กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
2. การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม จากข้อความข้างต้นมีความหมายตรงกับหัวข้อใด
ก. ความหมายของหลักสูตร
ข. การพัฒนาหลักสูตร
ค. ประเภทของหลักสูตร
ง. กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
3. กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ตามความเชื่อที่ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน โดยกำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้นตอน จากข้อความข้างต้นมีความหมายตรงกับหัวข้อใด
ก. ความหมายของหลักสูตร
ข. การพัฒนาหลักสูตร
ค. ประเภทของหลักสูตร
ง. กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
4. ทาบา (Taba) ได้กล่าวถึง กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ไว้กี่ขั้นตอน
ก. 3 ขั้นตอน
ข. 5 ขั้นตอน
ค. 7 ขั้นตอน
ง. 9 ขั้นตอน
5. จงเรียงลำดับขั้นตอนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของ ทาบา Taba
1. กำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล
2. จัดประสบการณ์การเรียนรู้
3. คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
4. จัดเนื้อหาสาระ
5. คัดเลือกเนื้อหาสาระ
6. กำหนดจุดมุ่งหมาย
7. วินิจฉัยความต้องการ
ก. 4,3,2,1,7,6,5
ข. 7,6,5,4,3,2,1
ค. 1,2,5,6,73,4
ง. 1,2,3,4,5,6,7
6. หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาหรือแบบรายวิชา มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. เป็นหลักสูตรที่นำเนื้อหาต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจัดไว้ด้วยกัน
ข. เป็นหลักสูตรที่ยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก
ค. เป็นหลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
ง. เป็นหลักสูตรที่แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
7. หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชา มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. เป็นหลักสูตรที่นำเนื้อหาต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจัดไว้ด้วยกัน
ข. เป็นหลักสูตรที่ยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก
ค. เป็นหลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
ง. เป็นหลักสูตรที่แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
8. หลักสูตรแบบหมวดวิชาหรือสหสัมพันธ์ มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. จุดมุ่งหมาย ผสมผสานเนื้อหาวิชา เช่น หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา
ข. เป็นหลักสูตรที่แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ค. เป็นหลักสูตรที่ยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก
ง. เป็นหลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
9. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. จุดมุ่งหมาย ผสมผสานเนื้อหาวิชา เช่น หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา
ข. เป็นหลักสูตรที่แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ค. เป็นหลักสูตรที่ยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก
ง. เป็นหลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
10. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. จุดมุ่งหมาย ผสมผสานเนื้อหาวิชา เช่น หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา
ข. เป็นหลักสูตรที่แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ค. เป็นหลักสูตรที่ยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก
ง. เป็นหลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
11. หลักสูตรแกนกลาง มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. เป็นหลักสูตรที่แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ข. จัดเนื้อหาตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล แนวคิดจาดปรัชญา อัตถิภาวนานิยม
ค. หลักสูตรแบบนี้จะกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นศูนย์กลาง
ง. เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน ไม่แยกเป็นรายวิชาจะเน้นที่ตัวเด็ก และปัญหาสังคมเป็นสำคัญ
12. หลักสูตรแบบเอกัตภาพ มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. เป็นหลักสูตรที่แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ข. จัดเนื้อหาตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล แนวคิดจาดปรัชญา อัตถิภาวนานิยม
ค. หลักสูตรแบบนี้จะกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นศูนย์กลาง
ง.เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน ไม่แยกเป็นรายวิชาจะเน้นที่ตัวเด็ก และปัญหาสังคมเป็นสำคัญ
13. หลักสูตรบูรณาการ มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. เป็นหลักสูตรที่แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ข. จัดเนื้อหาตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล แนวคิดจาดปรัชญา อัตถิภาวนานิยม
ค. หลักสูตรแบบนี้จะกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นศูนย์กลาง
ง. เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน ไม่แยกเป็นรายวิชาจะเน้นที่ตัวเด็ก และปัญหาสังคมเป็นสำคัญ
14. วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนด้านใด
ก. มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มี
จิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
ข. มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย มีจิตสำนึกในความเป็น
พลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอด
ชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็ม
ตามศักยภาพ
ค. มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มี
จิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและ
การศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
ง. มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มี
จิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การ
ประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคน
สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
15. ข้อใดไม่ใช่จุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
ก. มีความรู้
ข. มีคุณธรรม
ค. มีความรู้การเงิน
ง. มีความรักชาติ
16. Curriculum Development คือข้อใด
ก. การสร้างหลักสูตร
ข. การพัฒนาหลักสูตร
ค. การแก้ไขหลักสูตร
ง. การเพิ่มเนื้อหาหลักสูตร
17. หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ทั้งปวงชนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่พึ่งปรารถนาทั้งพฤติกรรมความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมต่างๆ สรุปตามความหมายนี้ ตรงกับข้อใด
ก. หลักสูตร คือ การวางแผนเตรียมการเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ข. หลักสูตร คือ การวางแผนเตรียมการเพื่อการจัดการบริหารสถานศึกษา

ค. หลักสูตร คือ การวางแผนการสอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ง. หลักสูตร คือ การวางแผนเตรียมการเพื่อการจัดการระบบสถานศึกษา
18. The Core Curriculum คือข้อใด
ก. หลักสูตรแกนกลาง
ข. หลักสูตรแบบเอกัตภาพ
ค. หลักสูตรบูรณาการ
ง. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
19. The Integrated Curriculum คือข้อใด
ก. หลักสูตรแกนกลาง
ข. หลักสูตรแบบเอกัตภาพ
ค. หลักสูตรบูรณาการ
ง. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
20. The Individual Curriculum คือข้อใด
ก. หลักสูตรแกนกลาง
ข. หลักสูตรแบบเอกัตภาพ
ค. หลักสูตรบูรณาการ
ง. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม


แนวข้อสอบการพัฒนาหลักสูตร


แนวข้อสอบมาตรฐานที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร

1. หลักสูตรคืออะไร ?
ก. คู่มือประกอบการศึกษาของครู
ข. เอกสารกำหนดทิศทางให้ครูสอน
ค. ประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดให้นักเรียน
ง. เนื้อหาวิชาที่กำหนดให้นักเรียนเรียน
ตอบข้อ ค. ประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดให้นักเรียน
2. การศึกษาในปัจจุบันมุ่งพัฒนาในด้านใด ?
ก. ชีวิตและสังคม
ข. สังคมและชุมชน
ค. ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ง. เศรษฐกิจและชุมชน
ตอบข้อ ก. ชีวิตและสังคม
3. ปรัชญาการศึกษานำมาใช้ประโยชน์โดยตรงในข้อใด ?
ก. กำหนดเนื้อหาสาระ
ข. กำหนดวิธีการสอนและหลักการสอน
ค. กำหนดการจัดกระบวนการเรียนการสอน
ง. กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ตอบข้อ ง. กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
4. การศึกษามีความสำคัญต่อชีวิตมากที่สุดในข้อใด ?
ก. การประกอบอาชีพ
ข. การอยู่ร่วมกันในสังคม
ค. การพัฒนาสมอง
ง. การส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ตอบข้อ ข. การอยู่ร่วมกันในสังคม
5. รัฐยึดหลักการใดในการจัดการศึกษา ?
ก. ความเสมอภาคทางการศึกษา
ข. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
ค. ความพร้อมของผู้เรียน
ง. สภาพของท้องถิ่น
ตอบข้อ ก. ความเสมอภาคทางการศึกษา
6. ควรยึดถืออะไรเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา ?
ก. ทรัพยากรที่มีอยู่
ข. งบประมาณของรัฐ
ค. เศรษฐกิจของประเทศ
ง. สภาพสังคมในปัจจุบัน
ตอบข้อ ก. ทรัพยากรที่มีอยู่
7. ปัจจุบันการจัดระบบการศึกษาเป็นหน้าที่ของใคร ?
ก. รัฐ
ข. ท้องถิ่น
ค. สถานศึกษา
ง. กระทรวงศึกษาธิการ
ตอบข้อ ก. รัฐ
8. ความมุ่งหมายของการศึกษาระดับชาติดูได้จากอะไร ?
ก. รัฐธรรมนูญ
ข. แผนการศึกษาแห่งชาติ
ค. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ง. แผนการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบข้อ ข. แผนการศึกษาแห่งชาติ
9. บุคคลในข้อใดเป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า หลักสูตร หมายถึง วิธีเตรียมเยาวชนให้มีส่วนร่วมในฐานะที่เป็นสมาชิกที่สามารถสร้างผลผลิตให้แก่สังคมของเรา ?
ก. ทาบา
ข. กู๊ด
ค. วิชัย วงษ์ใหญ่
ง. ธำรง บัวศรี
ตอบข้อ ก. ทาบา
10. ข้อใดคือความของหลักสูตรที่สำนักวิชาการและมาตราฐานการศึกษากำหนดไว้ ?
ก. หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดการเรียนการสอนของครู
ข. หลักสูตร คือ วิชาที่สอนจะบงบอกความหมาย ขอบข่ายเนื้อหา แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ค. หลักสูตร คือ กลุ่มวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่กำหนดไว้ซึ่งนักเรียนได้เล่าเรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียน
ง. หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ต่างๆที่สถานศึกษาจัดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตอบข้อ ง. หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ต่างๆที่สถานศึกษาจัดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
11. ถ้าหลักสูตรเปรียบเสมือนรถแล้วความมุ่งหมายของหลักสูตรเปรียบเสมือนอะไร ?
ก. ล้อ
ข. พวงมาลัย
ค. ตัวเครื่อง
ง. ไฟรถ
ตอบข้อ ข. พวงมาลัย
12. ถ้าเรือหางยาวเปรียบเสมือนหลักสูตรแล้วหางเสือเปรียบเสมือนอะไร ?
ก. ความมุ่งหมาย
ข. เนื้อหา
ค. กระบวนการเรียนการสอน
ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ก. ความมุ่งหมาย

13. หลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาวิชามากๆเป็นลักษณะของหลักสูตรแบบใด ?
ก. แบบสัมพันธ์วิชา
ข. แบบเนื้อหาวิชา
ค. แบบหมวดวิชา
ง. แบบบูรณาการ
ตอบข้อ ข. แบบเนื้อหาวิชา
14. หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาได้แนวคิดปรัชญาการศึกษาแบบใด ?
ก. สารัตถนิยม
ข. นิรันตรนิยม
ค. พิพัฒนาการ
ง. ถูกทั้ง ก. และ ค.
ตอบข้อ ง. ถูกทั้ง ก. และ ค.
15. หลักสูตรแบบใดที่ได้แนวคิดจากปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ ?
ก. หลักสูตรกิจกรรม
ข. หลักสูตรแกนกลาง
ค. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
ตอบข้อ ง . ถูกทั้ง ก. และ ข.
ขอบคุณข้อมูลจาก testthai1

แนวข้อสอบ
1. ข้อใด คือคุณสมบัติที่สำคัญของหลักสูตร
ก. มีความเป็นพลวัตปรับเปลี่ยนทางสังคม
ข. มีความเป็นเอกภาพ มีความเหมาะสมทุกสถานการณ์
ค. เป็นข้อสรุปของนักวิชาการทุกสาขาแล้ว
ง. สังคมจะเปลี่ยนแปลง หลักสูตรสามารถคงอยู่ได้
ตอบข้อ ก. มีความเป็นพลวัตปรับเปลี่ยนทางสังคม

2. การพัฒนาหลักสูตร ต้องดำเนินการตามข้อใด
ก. กำหนดเป้าหมาย
ข. เลือกกิจกรรมและวัสดุประกอบการเรียนการสอน
ค. กำหนดระบบที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ง. ถูกทุกข้อ

3. ข้อใด ไม่ต้องคำนึงถึงในหลักการพัฒนาหลักสูตร
ก. ผู้เชี่ยวชาญมีความสามารถ
ข. ความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง
ค. สิ่งที่ผู้ดำเนินงานจะได้รับ
ง. ฝึกอบรมครูประจำการ
ตอบข้อ ค. สิ่งที่ผู้ดำเนินงานจะได้รับ

4. การจัดทำหลักสูตร ระดับประถมศึกษา ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นหน้าที่ของการพัฒนาหลักสูตรในข้อใด
ก. หลักสูตรระดับชาติ
ข. หลักสูตรระดับท้องถิ่น
ค. หลักสูตรระดับห้องเรียน
ง. หลักสูตรระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบข้อ ก. หลักสูตรระดับชาติ

5. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่รับชอบของ “ศูนย์หลักสูตร”
ก. จัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร
ข. ปรับปรุงหลักสูตร
ค. ฝึกอบรมในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
ง. จัดทำคู่มือครู
ตอบข้อ ค. ฝึกอบรมในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

6. ข้อใดคือ ประโยชน์ ที่เกิดจากการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครูผู้สอน
ก. พัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องความเจริญของสังคมและของโลก
ข. สามารถจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์
ค. ระบบการศึกษาก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ง. ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม
ตอบข้อ ข. สามารถจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์

7. องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร ไม่ควรคำนึงถึงข้อใด
กง ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
ข. ความต้องการของสังคม
ค. สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ง. การบริหารจัดการของสถานศึกษา
ตอบข้อ ง. การบริหารจัดการของสถานศึกษา

8. การดำเงินงานในการพัฒนาหลักสูตร เริ่มต้นจากข้อใด
ก. การเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา
ข. กำหนดจุดมุ่งหมาย
ค. การนำเสนอสูตรไปใช้
ง. การประเมินผลหลักสูตร
ตอบข้อ ข. กำหนดจุดมุ่งหมาย

9. ข้อใด ไม่ใช่ รายละเอียดของหลักสูตร
ก. การบริหารหลักสูตร
ข. การจัดแผนการเรียนการสอน
ค. ศักยภาพและความถนัดของผู้เรียน
ง. วิธีการสอนและคุณสมบัติผู้สอน
ตอบข้อ ค. ศักยภาพและความถนัดของผู้เรียน

10. การพัฒนาหลักสูตร ให้มีคุณภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์ คือข้อใด
ก. ผู้สอนพัฒนาคุณวุฒิของตนให้ทัดเทียมที่อื่น
ข. ผู้เรียนและชุมชนสนใจแสวงหาสถานศึกษาที่ดี
ค. ผู้บริหารสนใจพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและวิชาชีพ
ง. การประชุมปรึกษาร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตอบข้อ ง. การประชุมปรึกษาร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

11. ข้อใด ไม่ใช่ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ก. จุดมุ่งหมาย ข. จัดประสบการณ์
ค. คุณสมบัติครู ง. การประเมินครู
ตอบข้อ ค. คุณสมบัติครู

12. ข้อใด ไม่ใช่ แหล่งข้อมูลในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ก. สังคม ข. ผู้เรียน
ค. ผู้เชี่ยวชาญ ง. ครูผู้สอน
ตอบข้อ ง. ครูผู้สอน

13. เกณฑ์ในการพิจารณา เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ไทเลอร์ไม่ได้กำหนดไว้ คือ ข้อใด
ก. ครูพึงพอใจในการจัดประสบการณ์
ข. ผู้เรียนพึงพอใจในการจัดประสบการณ์
ค. ผู้เรียนมีโอกาสฝึกและเรียนรู้
ง. ประสบการณ์ทุกด้านเน้น ตอบสนองจุดประสงค์
ตอบข้อ ก. ครูพึงพอใจในการจัดประสบการณ์

14. ข้อใด ไม่ใช่ ความสัมพันธ์ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบแนวตั้งและแนวนอนของไทเลอร์
ก. ความต่อเนื่อง ข. ประสบการณ์
ค. การจัดช่วงลำดับ ง. บูรณาการ
ตอบข้อ ข. ประสบการณ์

15. การวัดและวิเคราะห์สถานการณ์ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเหล่านั้นตรงกับข้อใด
ก. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ข. การเลือกกิจกรรม
ค. การจัดประสบการณ์
ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ง. การประเมินผล

16. ข้อใด ไม่ใช่ เกณฑ์การพิจารณาเครื่องมือที่ใช้วัดผลหลักสูตร
ก. ความเป็นปรนัย ข. ความเป็นอัตนัย
ค. ความเชื่อมัน ง. ความเที่ยงตรง
ตอบข้อ ข. ความเป็นอัตนัย

17. ข้อใดคือ แนวความคิดของฮิลดา ทาบา ที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรต่างจาก ไทเลอร์
ก. การดำหนดจุดมุ่งหมาย
ข. การเลือกและจัดประสบการณ์
ค. ครูควรมีส่วนร่วม
ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ค. ครูควรมีส่วนร่วม

18. ผู้ที่ได้รับแนวคิดของไทเลอร์ และทาบา แล้วนำมาปรับขยายการพัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน คือข้อใด
ก. เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ ข. ฟ็อกซ์
ค. กู๊ดแล็ด และ ริชเทอร์ ง. ริชเทอร์
ตอบข้อ ก. เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์

19. การที่สามารถบอกว่า หลักสูตรบรรลุตามเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ทราบได้จากข้อใด
ก. กำหนดขอบเจต ข. การออกแบบหลักสูตร
ค. การใช้หลักสูตร ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ง. การประเมินผล

20. ข้อใด ไม่ใช่ ข้อคำนึงถึงในการออกแบบหลักสูตร
ก. เลือกประสบการณ์ที่เหมาะสม
ข. การจัดเนื้อหาสาระ
ค. ความพร้อมของสถานศึกษา
ง. ความต้องการของผู้เรียนและสังคม
ตอบข้อ ค. ความพร้อมของสถานศึกษา


รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา


การวางแผนหลักสูตรทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจำเป็นที่จะต้องได้รับการประเมิน ทาบาได้ตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตร เช่น จะประเมินคุณภาพของการเรียนรู้ได้อย่างไรว่าจุดหมายของการศึกษาที่กำหนดไว้ ประสบผลสำเร็จ จะแน่ใจได้อย่างไรว่าจุดหมายและจุดประสงค์ของหลักสูตรมีความสอด
คล้องกันและเด็กได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหายและจุดประสงค์นั้นๆเพื่อให้การจัดหลักสูตรเป็นไปเพื่อโอกาสที่ดีที่สุดแก่เด็กทุกคนตามเป้าหมายของแต่ละคน
ทาบาเสนอว่าเราจำเป็นที่จะต้องกลับไปสู่รากหญ้า (grass root) และเริ่มที่จำสร้างรูปแบบใหม่ของการพัฒนาหลักสูตรจากหน่วยการเรียนการสอนในห้องเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นการฝึกปฏิบัติแนวคิดทฤษฎีและข้อมูลการวิจัยใหม่ วิธีการพัฒนาหลักสูตรของทาบาที่เริ่มจากรากหญ้าหรือหน่วยย่อยในระดับการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้วค่อยๆพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจากการทดลองใช้และปรับปรุงเรื่อยไปจนเป็นหลักสูตรภาพรวมในที่สุด วิธีการนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นกระบวนการคิดหรือการพัฒนาหลักสูตรแบบนิรนัย (inductive approach)
ทาบาเรียกว่าเป็นลำดับขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
ขั้นที่ 2

ตามแนวคิดของทาบา

ทาบา (TAba, 1962, p. 454) ได้กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชาการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลอื่นๆ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้
การแก้ไขและการสร้างความเชื่อมั่น

ของหน่วยการเรียน

1. สามารถนำแนวคิดของทาบา ไปใช้โดยให้เป็นไปตามขั้นตอนตามที่ทาบาเสนอไว้

2. เครื่องมือที่หลากหลายและมีความยืดหยุ่นจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะ

การคิดที่เน้นการคิดแบบอุปนัย

หลักสูตรมีความเป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ได้จริงซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรแม่บท

ให้ประสบการณ์ทั้งด้าน Cognitive Domain และ Affective Domain

สามารถอธิบายข้อแตกต่างของ planed curriculum , enacted-

curriculum และ experience curriculum

ช่วยขยายกรอบแนวคิดของไทเลอร์

ขั้นที่ 1

การเลือกและจัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามขั้นตอนทั้ง 7 ขั้นของทาบานี้ มีวิธีคิดเกี่ยวกับการสร้างหลักสูตรแตกต่างจากแนวคิดของไทเลอร์และนักพัฒนาหลักสูตรอื่นๆ กล่าวคือในขณะที่รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์และของนักศึกษาส่วนใหญ่จะวางแผนและออกแบบหลักสูตรในภาพรวมออกมาก่อน โดยใช้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรแบบอนุมาน (Deductive Approach)
การผลิตหน่วยทดลอง

ข้อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับกระบวนการ

พัฒนาหลักสูตรของทาบา

การสอนที่เน้นการคิดแบบอุปนัย ค่อนข้างที่จะใช้เวลามาก

การพัฒนาหลักสูตรโดยการกำหนดกรอบใหญ่ทั้งหมดก่อนจะทำให้เห็น
ภาพรวมของหลักสูตรได้ชัดเจนและจึงกำหนดเป็นหน่วยย่อยตามกรอบที่
ได้กำหนดไว้
วิเคราะห์ความต้องการ

เลือกเนื้อหาสาระและจัดลำดับเนื้อหา

พิจารณาสิ่งที่จะวัดผลและกำหนดวิธีวัดผลประเมินผล

ทาบา เชื่อว่า ครูซึ่งเป็นผู้ใช้หลักสูตรควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการพัฒนาหลักสูตรควรมีการพัฒนาจากระดับล่างสู่ระดับบน (The Grass - Roots Approach)
ประกอบด้วย 7 ขั้น ดังนี้
การพัฒนากรอบงาน

ทาบาอธิบายว่าในกรอบการคิดของขั้นตอนทั้งสองนี้หมายรวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของการเกิดวามคิดรวบยอดและลำดับของการสร้างเจตคติ และความลึกซึ้งให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก ในกรอบของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อบรรลุจุดประสงค์จัดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของโครง
สร้างหลักสูตรที่ต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าแทนที่จะปล่อยให้ครูตัดสินใจในขณะที่สอนหน้าห้องโดยปราศจากการวางแผนไว้ก่อน
หลีกเลี่ยงแนวคิดทางการเมือง

การศึกษาแนวคิดหรือวิธีการพัฒนาหน่วยการเรียนของทาบานี้อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับครู
ขั้นที่ 7

การพัฒนาหลักสูตรด้วยวิธีการดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือของคร ูซึ่งทาบาถือว่าเป็นระดับรากหญ้าของการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรแต่การที่จะพัฒนาหลัก
สูตรจากหน่วยย่อยแล้วขยายวงออกไปนั้นต้องใช้เวลาซึ่งทาบาเองก็ยอมรับว่าเป็นหลายๆปีและนี่เองก็อาจเป็น
ข้อจำกัดของวิธีการพัฒนาหลักสูตรของทาบา ดังนั้นการศึกษาแนวคิดหรือวิธีการพัฒนาหน่วยการเรียนของทาบานี้อาจจะเป็น
ประโยชน์สำหรับครูที่เริ่มที่จะพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนโดยอาจจะปรับใช้โดยเลือกบางเนื้อหาที่น่าสนใจและมีลักษณะเฉพาะเหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นหน่วยทดลองแล้วมีการทดสอบ ปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสมและอาจจะขยายวงไม่สู่เนื้อหาอื่นหรือระดับชั้นอื่นๆ ได้ในที่สุด
การกำหนดจุดประสงค์

ข้อจำกัด

ขั้นที่ 5 และ 6

Hilda Taba

สรุปองค์ความรู้

ความหมาย

ผู้จัดทำ

การทดสอบหน่วยทดลอง

เนื่องจากหลักสูตรเป็นการออกแบบเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นเมื่อเด็กแต่ละคนมีภูมิหลังที่แตกต่างกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่นักพัฒนาหักสูตรจะต้องวินิจฉัยความแตกต่าง ข้อบกพร่อง และความแตกต่างของภูมิหลังของเด็ก การวินิจฉัยดังกล่าวจะทำสามารถกำหนดหลักสูตรให้เหมาะสมกับเด็กที่จะเรียน
หลักสูตรนั้นๆ ได้
เป็นขั้นตอนซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของหลักสูตร ทาบา กล่าวว่าจุดประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนและกว้างขวางครอบคลุมจะเป็นพื้นฐานสำคัญ
ของหลักสูตรโดยที่จุดประสงค์ดังกล่าวจะเป็นตัวพิจารณาตัดสินว่าเนื้อหาใดมีความสำคัญและ
จะจัดเนื้อหาเหล่านั้นในหลักสูตรได้อย่างไร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร

ขั้นที่ 3 และ 4

การประกาศใช้และการเผยแพร่

หน่วยการเรียน

การที่จะพัฒนาหลักสูตรจากหน่วยย่อยแล้วขยายวงออกไปนั้นต้องใช้เวลา
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาหลักสูตรของทาบานั้นเริ่มจากหน่วยย่อยในระดับการเรียนการสอน แล้วค่อยๆพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจากการทดลองใช้และปรับปรุงเรื่อยๆ จนกลายเป็นหลักสูตร วิธีการนี้เรียกว่าการพัฒนาหลักสูตรแบบนิรนัย ( Inductive approach ) ซึ่งต่างจากการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์และนักพัฒนาหลักสูตรคนอื่นๆที่มีการพัฒนา
หลักสูตรโดยการกำหนดกรอบความคิดอย่างกว้างๆแล้วจัดลำดับโครงสร้างจากนั้นจึงเป็น
การกำหนดหน่วยย่อยเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากระบวน
การพัฒนาหลักสูตรแบบอนุมาน ( Deductive Approach )
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการ
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดประสงค์
ขั้นที่ 3 เลือกเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ 4 จัดลำดับเนื้อหา
ขั้นที่ 5 เลือกประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นที่ 6 จัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นที่ 7 พิจารณาสิ่งที่จะวัดผลและกำหนดวิธีวัดผลประเมินผล
ในขั้นนี้ทาบาอธิบายว่านอกเหนือจากการวินิจฉัยความต้องการของเด็กเพื่อนำมากำหนจุดประสงค์ของหลักสูตรแล้ว สิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาอย่างละเอียด คือการศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ทฤษฎี พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กและธรรมชาติของความรู้ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายทั่วไปซึ่งโรงเรียนจะได้นำมาพิจารณา จำแนก แยกแยะ อย่างเข้าใจแล้วกำหนดเป็นจุดประสงค์ของหลักสูตรที่จะเป็นจริงและเหมาะสมได้ต้องอาศัยข้อมูลตามระดับของความสามารถเฉพาะเด็กแต่ละกลุ่ม และจุดเน้นจำเป็นตามประสบการณ์ของเด็ก