วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ทฤษฎี เสริมเเรงเเละเงื่อนไข



ทฤษฎี พุทธินิยมเละมนุษยนิยม







จิตวิทยาการเรียนรู้


จิตวิทยาการเรียนรู้

การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลก อื่น ๆ ดังพระราชนิพนธ์บทความของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ ที่ว่า "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา ที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งดีมีประโยชน์และถูกต้องได้ "
การเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์รู้จักวิธีดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพการต่างๆ ได้ ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ด้วย 

ทฤษฎีการเรียนรู้

 (Theory of Learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร 

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.      ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
2.      ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง 
ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่มองเห็น และสังเกตได้มากกว่ากระบวนการคิด และปฏิกิริยาภายในของผู้เรียน ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)
1.      ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theories)
2.      ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theories)
1.      ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory)
2.      ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง (S-R Contiguity Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค 
อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับการ ตอบสนอง พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องอารมณ์ ความรู้สึก บุคคลสำคัญของทฤษฎีนี้ ได้แก่ Pavlov, Watson, Wolpe etc. Ivan P. Pavlov

นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย (1849 - 1936) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus = UCS) และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus = CS) และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Response = UCR) เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (Conditioned Response = CR)
หลักการเกิดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (CR) เกิดจากการนำเอาสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) มาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) ซ้ำกันหลายๆ ครั้ง ต่อมาเพียงแต่ให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) เพียงอย่างเดียวก็มีผลทำให้เกิดการตอบสนองในแบบเดียวกัน 

ผลจากการทดลอง Pavlov สรุปหลักเกณฑ์ของการเรียนรู้ได้ 4 ประการ คือ
1.      การดับสูญหรือการลดภาวะ (Extinction) เมื่อให้ CR นานๆ โดยไม่ให้ UCS เลย การตอบสนองที่มีเงื่อนไข (CR) จะค่อยๆ ลดลงและหมดไป
2.      การฟื้นกลับหรือการคืนสภาพ ( Spontaneous Recovery ) เมื่อเกิดการดับสูญของการตอบสนอง (Extinction) แล้วเว้นระยะการวางเงื่อนไขไปสักระยะหนึ่ง เมื่อให้ CS จะเกิด CR โดยอัตโนมัติ
3.      การแผ่ขยาย หรือ การสรุปความ (Generalization) หลังจากเกิดการตอบสนองที่มีเงื่อนไข ( CR ) แล้ว เมื่อให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) ที่คล้ายคลึงกัน จะเกิดการตอบสนองแบบเดียวกัน
4.      การจำแนกความแตกต่าง (Discrimination) เมื่อให้สิ่งเร้าใหม่ที่แตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข จะมีการจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้า และมีการตอบสนองที่แตกต่างกันด้วย
John B. Watson

นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1878 - 1958) ได้ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ 11 เดือน โดยใช้หลักการเดียวกับ Pavlov หลังการทดลองเขาสรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้ ดังนี้
1.      การแผ่ขยายพฤติกรรม (Generalization) มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า ที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2.      การลดภาวะ หรือการดับสูญการตอบสนอง (Extinction) ทำได้ยากต้องให้สิ่งเร้าใหม่ (UCS ) ที่มีผลตรงข้ามกับสิ่งเร้าเดิม จึงจะได้ผลซึ่งเรียกว่า Counter - Conditioning
Joseph Wolpe 
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1958) ได้นำหลักการ Counter - Conditioning ของ Watson ไปทดลองใช้บำบัดความกลัว (Phobia) ร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxation) เรียกวิธีการนี้ว่า Desensitization

การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
1.      ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
2.      ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
3.      ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)

B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior) สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ คือ
1.      Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
2.      Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน ขับรถ ฯลฯ.
การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
1.      การเสริมแรง และ การลงโทษ
2.      การปรับพฤติกรรม และ การแต่งพฤติกรรม
3.      การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป



รูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร


คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education,
Instructional Computer : IC, Computer-Based Instruction : CBI) มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะ เป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การจัดทำบัตรนักศึกษา การจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไป จนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตร Robert Taylor นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ไว้ในหนังสือ the Computer in the School : Tutor, Tutee โดยได้แบ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนออกเป็น 3 ลักษณะคือ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของติวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์ การเรียนการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน (ดิเรก ธีระภูธร .2545) แต่กระบวนการในการจัดการศึกษาในภาพรวม ไม่ได้หมายถึงสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ยังมีหน่วยงานทางการศึกษาและองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและ สนับสนุนการจัดการศึกษาด้วย ฉะนั้นบทบาทของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการศึกษา จึงแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร (computer Applications into Administration) การบริหารการศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทาง นโยบาย อันนำไปสู่แนวทางปฏิบัติในการจัดการศึกษา ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น สิ่งสำคัญในการที่จะช่วยให้บริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็คือความพร้อมของข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อการตัดสินใจและกำหนดนโยบายการศึกษา คอมพิวเตอร์จึงเข้ามามีบทบาทในการบริหารการศึกษามากขึ้น ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนฐานข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สรุปได้ดังนี้ 1.1 การบริหารงานทั่วไป เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารงานบุคคล งานธุรการ การเงินและบัญชีการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการจัดทำระบบฐานข้อมูล (Management Information System :MIS) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 1.2 งานบริหารการเรียนการสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารของครูผู้สอนนอกเหนือจากงานด้านการสอนปกติ เช่น งานทะเบียน งานด้านเอกสาร การจัดตารางสอน ตารางสอบ การตรวจและการเก็บรวบรวมคะแนน การสร้าง-วิเคราะห์ข้อสอบ การวัดและประเมินผลการเรียน เป็นต้น 2. คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอน (Computer -Managed Instruction) การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลากับการงานบริหาร ครูผู้สอนจะได้มีเวลาไปปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยและมีเวลาให้กับนักเรียนมากขึ้น เช่น การจัดเลือกข้อสอบ การตรวจและให้คะแนนและวิเคราะห์ข้อสอบ การเก็บประวัตินักเรียนเฉพาะวิชาที่สอนเพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนและการให้คำปรึกษา และช่วยในการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนของวิชาที่สอน รวมถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ครูผู้สอนสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้เรียน 3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer -Assisted Instruction : CAI) คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถ โต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่นเดียวกับการสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องตามปกติ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียน กล่าวคือ ประเภทติวเตอร์ ประเภทแบบฝึกหัด ประเภทการจำลอง ประเภทเกม ประเภทแบบทดสอบซึ่งในแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่วิธีการที่แตกต่างกันไป ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือช่วยลดความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เช่นผู้ที่มีผลการเรียนต่ำ ก็สามารถชดเชยโดยการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ และสำหรับผู้มีผลการเรียนสูงก็สามารถเรียนเสริมบทเรียนหรือเรียนล่วงหน้าก่อนที่ผู้สอนจะทำการสอนก็ได้ สรุป แนวโน้มในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอน โดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web ในการใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction : WBI) หรือ E-learning ซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง 


อ้างอิง https://www.kroobannok.com/135


รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ


การวิจัยเชิงปฏิบัติการ หรือเรียกกันติดปากว่า Action Research
เป็นการวิจัยของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานร่วมกันที่ต้องการจะพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานหรือการพัฒนางานที่เหมาะสมและคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานการณ์ของสังคมนั้นๆ เช่น ในสถานศึกษา กลุ่มผู้ปฏิบัติงานอาจประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้ปกครอง นักเรียน หรือนักศึกษา และสมาชิกในชุมชนอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง วิธีการวิจัยจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อได้รับความ
ร่วมมือจากกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ในการวิเคราะห์การทำงานของตนเองและกลุ่มอย่างถี่ถ้วน ด้วยวิธีการสะท้อนความคิดเห็นการแลกเปลี่ยนความเห็นต่อการทำงานของตนเองและกลุ่มผู้ร่วมการวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ อาจใช้ในการพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา การปรับปรุงโครงการ การปรับปรุงวิธีการเรียนการสอน การปรับปรุงนโยบายและระบบการทำงานของโรงเรียน หน่วยงาน มุ่งมั่นการปรับปรุงที่เป็นรูปธรรม เป็นต้น
วิธีการแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มาจากคำว่า "การปฏิบัติ" (Action) และ "การวิจัย" (Research) ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำงานร่วมกัน การตกลงใจร่วมกัน การพัฒนาปรับปรุงร่วมกันของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในงานนั้นๆมากกว่าการอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก และโดยอาศัยคุณสมบัติของนักวิจัยที่แตกต่างกับการวิจัยแบบอื่นที่มักอาศัยเครื่องมือ
การวิจัยและความเห็นของกลุ่มตัวอย่างเป็นสำคัญ
วงจรของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (The Action Research Spiral)
1. การวางแผน (The Plan) เป็นการตั้งความคาดหวัง การมองไปในอนาคต
2. การปฏิบัติ (Action) เป็นการปฏิบัติตามความคาดหวังที่วางไว้ ภายใต้การทำงานที่มาจากแนวคิดที่ตกลงของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ผ่านการวิเคราะห์ วิจารณ์แล้ว และระหว่างการปฏิบัติงานจะมีการบันทึก รายงาน เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ วิจารณ์กันอีกในภายหลัง
3. การสังเกต (Observation) เป็นการบันทึกข้อมูลพื้นฐานไว้ใช้ในการสะท้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน มีการวางแผนการสังเกตอย่างรอบคอบ และผู้สังเกตจะต้องเป็นผู้ที่มีความไวในการจับสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน
4. การสะท้อน (Reflection) เป็นการสะท้อนถึงการปฏิบัติงาน การกระทำตามที่บันทึกไว้จากการสังเกต เก็บข้อมูล โดยใช้การอภิปรายกลุ่มร่วมกัน ที่ถือให้เป็นการประเมินอย่างหนึ่ง และเป็นการให้ข้อแนะนำในการวางแผนปฏิบัติครั้งต่อไป
คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education,

รูปแบการสอนแบบสาธิต


วิธีสอนการสอนแบบสาธิต(Demonstration Method)
ความหมายของการสาธิต
การสาธิต  หมายถึง  การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง   หรือการแสดง   หรือการกระทำสิ่งต่างๆให้ผู้เรียนดู
วิธีการสอนแบบสาธิต  หมายถึง  วิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำหรือการแสดง
แนวทางในการสาธิต
1.การสาธิตแบบบอกความรู้     เป็นการสาธิตที่แจ้งให้ผู้เรียนทราบก่อนการสาธิตว่าจะทำอะไร อย่างไรและจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วให้ผู้เรียนสังเกตการณ์สาธิต   พร้อมอธิบายตามไปด้วย
2.การสาธิตแบบค้นพบความรู้    เป็นการสาธิตที่ผู้สาธิตหรือครูตั้งคำถามให้ผู้เรียนคาดคะเนคำตอบ เพื่อเป็นการเร้าความสนใจแล้วจึงให้ผู้เรียนคอยสังเกตจาการสาธิตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อย่างไร
ประเภทของการสาธิต
ซันด์และโทรบริดจ์ (Sund  and Throwbridge  1973 : 117-118)ได้แบ่งการสาธิตออกเป็น  6 ประเภทดังนี้
1.ครูแสองการสาธิตคนเดียว
2.ครูและนักเรียนร่วมกันสาธิต
3.กลุ่มนักเรียนเป็นผู้สาธิต
4.นักเรียนคนเดียวเป็นผู้สาธิต
5.วิทยากรเป็นผู้สาธิต
6.การสาธิตเงียบ
ข้อจำกัด
1.การควบคุมชั้นเรียนอาจมีปัญหาเรื่องความสงบเรียบร้อยในชั้นเรียน
2.หากการเตรียมตัวไม่ดีพออาจเกิดอุบัติเหตุหรือผิดพลาด
3.หากการสาธิตไม่เป็นไปตามขั้นตอนอาจทำให้เสียเวลามาก


รูปแบบการบริหารรูปแบบการปฏิบัติการ


การบริหารโรงเรียนคุณภาพโดยใช้ Ban Hunnoi 3P Model  นั้นเป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งสู่ การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอย่างสมดุลรอบด้าน เพื่อให้นักเรียนที่เป็นผลผลิต เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข เป็นรูปแบบการบริหารที่มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และเหมาะสมตามห้วงเวลานั้นๆ จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียน ทำให้ได้นวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนบ้านหันน้อย ทำให้การดำเนินการบริหารจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย มีรายละเอียดของการพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนคุณภาพ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (INPUTS) ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่
B : Brainstorming หมายถึง การระดมความคิด  การมองการณ์ไกล การมีวิสัยทัศน์ ร่วมกันวางแผนพัฒนาให้มีความพอประมาณอย่างมีเหตุมีผล แสดงความคิดเห็น ร่วมกันปรึกษาหา
N : Need Ascessment  หมายถึง  การประเมินความต้องการของสถานศึกษาต่อการจัดการศึกษา ว่านักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่มีส่วนได้เสียมีความคาดหวังและต้องการอย่างไรต่อการจัดการศึกษา
N : Nice Plan หมายถึง การร่วมกันวางแผนในการดำเนินงาน แนวทางปฏิบัติอย่างรอบคอบ รัดกุม เตรียมความพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีแก่องค์การ
H : Hument resource หมายถึง  การจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยเป็นการใช้กลยุทธ์วางแผนการทำงานให้มีความสัมพันธ์กับทุกๆฝ่ายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด  โดยต้องบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงานต่อการทำงานเป็นหมู่คณะและการทำงานคนเดียว และต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา การบริหารและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ครูมืออาชีพ ส่งเสริมความก้าวหน้า สร้างขวัญกำลังใจ
U : Unit Management หมายถึง  เป็นการบริหารงานโดยใช้โรงเรียน เป็นฐาน (School Base Management) เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกๆ ด้าน
ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการ (PROCESSES) ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่
1. การมีส่วนร่วม  (P1 : Participation ) เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาร่วมกับโรงเรียน  เป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของทุกฝ่าย  นับตั้งแต่การแสดงความคิดเห็น  การวางแผน  การดำเนินการและการแก้ไขปัญหา  ตลอดจนการควบคุม  กำกับ  ติดตามและประเมินผล  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ซึ่งสามารถทำได้ทั้งทางตรง  คือ  ร่วมเป็นคณะทำงานและทางอ้อมร่วมวางแนวทางนโยบาย  การบริหารแบบมีส่วนร่วมดังกล่าวได้นำทฤษฎีต่างๆ  มาใช้  ได้แก่  ทฤษฎีการเกลี้ยกล่อมมวลชน  ทฤษฎีแรงจูงใจ  ทฤษฎีความคาดหวัง  เป็นต้น
2. การจัดการกระบวนการ  (P2 : process management)  การบริหารจัดการในสถานศึกษาทั้ง  4  ด้าน  ใช้กรอบการบริหารของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล  โดยนําหลักการว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี  ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า  “ธรรมาภิบาล” ไดแก  หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม    หลักความโปร่งใส  หลักการมีสวนรวม  หลักความรับผิดชอบ  และหลักความคุ้มค่ามาบูรณาการในการบริหารและจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งใหกับโรงเรียนในฐานะที่เปนนิติบุคคลดวย โดยนำหลักธรรมาภิบาลดังกล่าวมาบูรณราการเขากับการดําเนินงานดานตาง ๆ ของสถานศึกษา  ซึ่งไดแก การดําเนินงานดานวิชาการ  งบประมาณ  บริหารงานบุคคล  และบริหารทั่วไป  และเปาหมายในการจัดการศึกษา คือทําใหผูเรียนเปนคนดี  เกง  และมีความสุข
3. การประเมินจากชุมชน  (P3 : Public Assessment )  การควบคุมกำกับและประเมินผลแบบมีส่วนร่วม  จำเป็นต้องมีการวัดความก้าวหน้าและผลที่เกิดขึ้นจากการร่วมกันวางแผนพัฒนาโรงเรียนเพื่อ  สร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษา  สิ่งนี้จะเป็นบทเรียนที่มีคุณค่าและปรับปรุงให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้  สร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชน  เพื่อเป็นการสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการโรงเรียน  ชุมชนเห็นภาพการบริหารงานชัดเจนมากขึ้น เป็นสภาพความเป็นจริงในระดับท้องถิ่น  เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน ชื่นชมกับผลสำเร็จ  จากการเข้ามาเกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมและจะกลายเป็นการเสริมสร้างพลังประชาชน  เกิดกระบวนการช่วยเหลือพัฒนาและเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ขั้นตอนที่ 3 ผลผลิต/ผลลัพธ์ (OUTPUTS/OUTCOMES) ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่
O : Organization and Structure หมายถึง โครงสร้างการบริหารสถานศึกษาที่ชัดเจน มีระบบการติดต่อสื่อสารและอำนาจการบังคับบัญชาที่เชื่อมต่อคนและกลุ่มคนเข้าด้วยกัน เพื่อทำงานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา
I : Innovation หมายถึง ผลจากการร่วมกันคิดร่วมกันทำส่งผลให้เกิดวิธีคิดใหม่ และการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดการดำเนินงาน สิ่งที่ค้นพบถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ ประหยัด คุ้มค่า และภาคภูมิใจในผลงาน
N : Network หมายถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในทีมงาน และในชุมชน มีความเป็นกัลยาณมิตร เกิดความรักสามัคคี สมานฉันท์ เป็นเครือข่ายและพันธมิตรทางความรู้ และความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง
A:Achievement หมายถึง การขยายผลและต่อยอดองค์ความรู้นำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จที่วางไว้

ขั้นตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะ/ปรับปรุง (Feedback)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของบ้านหันน้อยโมเดลที่จะรับรู้ถึงปัญหาทั้งหมดจากข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่าง ๆ และคำติชม ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่จะสะท้อนกลับให้เห็นทั้งจุดด้อยหรือจุดอ่อน และจุดเด่นของแผนงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การประสานงาน และกระบวนการดำเนินงาน โดยได้ใช้หลักการวิจัยมาบูรณาการในการศึกษาหาแนวทางแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อไป
เอกลักษณ์/จุดเด่นของนวัตกรรม
เป็นนวัตกรรมสังเคราะห์ขึ้นจากแนวคิด ทฤษฎีการบริหารที่ประสบผลสำเร็จทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นการยืนยันความน่าเชื่อถือของนวัตกรรมการบริหารที่สร้างขึ้น และชื่อของนวัตกรรมมีความสอดคล้องกับชื่อของผู้บริหารโรงเรียนซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการทางานและการใช้นวัตกรรมการบริหาร ให้ประสบผลสำเร็จ จึงถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของนวัตกรรมชิ้นนี้

นวัตกรรมมีผลดีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างไรบ้าง
1) นักเรียนเป็นคนดี มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา 8 ประการ มีจิตสานึกสุจริต 5 ประการตามคุณลักษณะนักเรียนมีค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ
2) นักเรียนมีผลงานด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ กีฬา นันทนาการ
3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกชั้นเรียน ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ได้แก่กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
4) โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาหรับนักเรียนและประชาชน สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ อาชีพ วิถีชีวิตความเป็นไทย การพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5) นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ที่เป็นสากล มีความพร้อมในการเป็นประชาคมอาเซียน มีการดำเนินงานตามกิจกรรมโรงเรียนอาเซียนสอนภาษาเวียดนาม ภาษาอังกฤษ ภาษาลาว
6) ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นมืออาชีพ มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม ใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพงาน PDCA มีการกระตุ้นการทางาน นิเทศ กากับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน ครูทุกคนผ่านการอบรมและทดสอบ UTQ ตามโครงการพัฒนาครู ทั้งระบบ และผ่านการอบรมพัฒนาเพื่อพัฒนาตนเองมากกว่าคนละ 30 ชั่วโมงต่อปี
7) โรงเรียนได้รับการพัฒนาให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน มีบรรยากาศที่สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัยและเป็นโรงเรียนปลอดยาเสพติด พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ และลานกีฬาของชุมชน
8) โรงเรียนสร้างภาคีเครือข่ายร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่หลากหลายจากทุกภาคส่วน
9) โรงเรียนมีการพัฒนาระบบบริหาร ระบบประกันคุณภาพภายใน สร้างและพัฒนานวัตกรรม การบริหารจัดการสู่การสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้ Ban Hunnoi 3P Model  มีผลงานเป็นที่พึงพอใจของชุมชน
10) โรงเรียนมีผลงานเชิงประจักษ์ ดังนี้
ที่ ชื่อรางวัลที่ได้รับ ปีที่ได้รับ ระดับ
1 พานพุ่มสักการะ 2554 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2 เข้าร่วมนำเสนอกิจกรรมการยกระดับผลสสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนการทดสอบขั้นพื้นฐาน O-NET ภาษาอังกฤษ อันดับที่ 1 2555 สพป.ขอนแก่น เขต3
3 แกะสลักผักและผลไม้ 2556 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4 พัฒนาการผลสอบโอเน็ต คะแนนสูงอันดับที่ 1 2557 สพป.ขอนแก่น เขต3
5 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2556 “สถานศึกษาพอเพียง 2556” 2556 ประเทศ
6 โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมาร โรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 2556-2559 ประเทศ
6 ผลการสอบโอเน็ตคะแนนสูงกว่าระดับประเทศกลุ่มสารคณิตศาสตร์ 2558 ประเทศ

ปรัชญาทางการศึกษาต่างๆ









เก่ง ดี มีความสุข


"เก่ง ดี มีสุข"
          แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ ๑๐  มีเจตนารมณ์มุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็น "บุคคลที่มีความ "เก่ง ดี มีสุข" ที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนไทยเติบโตอย่างสมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านไอคิวและ อีคิว ตรงตามเป้าหมายการศึกษา คือ ผู้เรียนเป็น คนดี คนเก่ง และ มีความสุข ยึดคุณธรรมนำความรู้ สู่สังคมไทยโดยสิ่งที่จะบ่งบอกว่าบุคคลใดเป็นบุคคลที่มีความเก่ง ดี และมีสุขในการศึกษาคือ
  
เก่ง คือ คนที่มีสมรรถภาพสูงในการดำเนิน มีความรอบรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ทันเทคโนโลยี มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถพิเศษเฉพาะทางและพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ เป็นผู้นำผู้ตามที่ดี รู้จักแก้ปัญหาและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้  ดิฉันก็เป็นคนๆหนึ่ง ที่มีความสามารถ ความถนัดในสิ่งที่ตนเองชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน ดนตรี หรืองานศิลปะ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตั้งแต่เรียนในระดับประถมศึกษา จนถึงระดับปริญญาตรี เกรดเฉลี่ยของดิฉันไม่เคยต่ำกว่า 3.00 เมื่อใดที่โรงเรียนมีการจัดประกวดวาดภาพ คัดลายมือ  หรือแข่งขันดนตรี ดิฉันจะเข้าร่วมแข่งขัน และจะได้รางวัลทุกครั้ง นอกจากนี้ดิฉันยังมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ดี คือ คนที่ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีจิตใจดีงาม คุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งทางด้านจิตใจ และพฤติกรรมที่แสดงออก  ดิฉันก็เป็นอีกคนที่ถูกปลูกฝังจากครอบครัวให้เป็นคนดีมาตั้งแต่เด็ก  ดิฉันชอบช่วยเหลือผู้อื่น  มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ จนเคยได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานนักเรียน  ดิฉันเป็นคนประหยัด และไม่เคยโกงใคร จนเพื่อนๆและคนรอบตัวที่รู้จัก ให้ความไว้วางใจดิฉันเป็นอย่างดี

มีความสุข คือ คนที่มีสุขภาพดี ทั้งกายและจิต ร่าเริงแจ่มใสรู้จักและเข้าใจตนเอง มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความสุขในการเรียนรู้และทำงาน มีความรักต่อทุกสรรพสิ่ง ปลอดพ้นจากอบายมุข และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียงแก่อัตภาพ เป็นผู้ที่รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดิฉันเป็นคนร่าเริงแจ่มใส มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ดิฉันเป็นคนมองโลกในแง่ดีจึงทำให้ไม่ค่อยมีเรื่องทุกข์ใจ                                                                                                                                               "จากคุณลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น ดิฉันจึงคิดว่า ดิฉันก็เป็นคนๆหนึ่งที่มีคุณลักษณะตามที่ชาติต้องการ"


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์



จิตวิทยาการศึกษา : ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์

เพื่อให้เข้าใจทฤษฎีการจูงใจได้ดียิ่งขึ้น ควรทราบถึงแนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ เกี่ยวกับการจูงใจ ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ ดังต่อไปนี้
            1.นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการจูงใจว่า เครื่องล่อหรือสิ่งล่อใจ (Incentive) โดยเฉพาะรางวัลมีความสำคัญในการจูงใจบุคคลให้มีพฤติกรรมเกิดขึ้น รางวัลที่ดีจะต้องสามารถดึงดูดใจบุคคลให้อยากกระทำ และมีความพึงพอใจในรางวัลที่ได้รับหลังจากการกระทำเสร็จสิ้นลง นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงให้ความสำคัญของกาสรจูงใจภายนอกมาก
            2.นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้คัดค้านทัศนะของกลุ่มพฤติกรรมนิยม โดยอธิบายว่าพฤติกรรมทั้งหลายของบุคคลถูกกำหนดขึ้นมาจากความคิดของบุคคลเอง ไม่ใช่เกิดจากอิทธิพลของรางวัล การลงโทษ หรือผลกรรมในอดีตที่ผ่านมา โดยบุคคลได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำหรือก่อนการมีพฤติกรรม พร้อมทั้งย้ำว่าบุคคลจะถูกจูงใจให้เกิดพฤติกรรมไม่เฉพาะการถูกกระตุ้นจากสถานการณ์ที่มาจากภายนอกหรือเงื่อนไขทางร่างกาย เช่น ความหิวหรือความกระหาย แต่ยังรวมไปถึงการตีความของบุคคลที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย อีกทั้งมนุษย์ยังมีความกระตือรือร้น ความอยากรู้อยากเห็น ฉะนั้นการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มที่ อาจเป็นเพราะความสนุกสนานในงานที่ทำ ต้องการความรู้ความเข้าใจและความสำเร็จในงานที่ทำได้ดี นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงให้ความสำคัญของการจูงใจภายในมาก
            3.นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ทัศนะในการจูงใจไว้ว่า การจูงใจเกิดจากพลังผลักดันภายใน หรือ ความต้องการจากภายในตัวบุคคล เช่น ความต้องการขั้นสูงสุดของมาสโลว์ และอธิบายว่า ความต้องกการของบุคคลจะถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่เป้าหมายที่สูงสุด เพื่อให้ผู้เรียนได้ทุ่มเทความพยายามและกำลังความสามารถที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อสนองความต้องการขั้นสูง เช่น ความภูมิใจ เป็นต้น
            4.นักจิตวิทยากลุ่มการเรียนรู้ทางสังคม นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการจูงใจว่า การจูงใจมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ ความคาดหวังของบุคคลในการทำกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ กับคุณค่าของสิ่งตอบแทนหรือผลกรรมที่ได้รับหลังจากการกระทำเสร็จสิ้นลง (คุณค่าของเครื่องล่อใจหรือสิ่งล่อใจ) ทัศนะเกี่ยวกับการจูงใจของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ เป็นการบูรณาการระหว่างทัศฯของกลุ่มพฤติกรรมนิยมกับกลุ่มปัญญานิยม และย้ำว่าจะต้องมีทั้ง 2 องค์ประกอบ จะขาดองค์ปรกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้
        จากทัศนะเกี่ยวกับการจูงใจของนักจิตวิทยาทั้ง 4 กลุ่ม แสดงให้เห็นชัดว่าการจูงใจให้บุคคลการะทำสิ่งใดๆก็ตาม บุคคลอาจจูงใจของตนเอง (การจูงใจภายใน) หรืออาจจูงใจโดยใช้สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้น (การจูงใจภายนอก) หรืออาจใช้สองอย่างควบคู่กันไป
        ทฤษฎีการจูงใจที่นักจิตวิทยาใช้อธิบายพฤติกรรม และนำไปประยุกต์ใช้ในการกระทำ มีทั้งทฤษฎี ทางพฤติกรรมนิยม มนุษยนิยม ปัญญานิยม และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งทฤษฎีทั้ง 4 กลุ่มต่างก็มีบทบาทสำคัญในการศึกษาพฤติกรรมของบุคคล แต่เนื่องจากพฤติกรรมของอบุคคลเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจ จึงไม่มีทฤษฎีใดสามารถอธิบายพฤติกรรมของบุคคลได้ทุกอย่าง จึงจำเป็นต้อเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกันหลายๆทฤษฎี
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะทฤษฎีการจูงใจที่สำคัญ ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังต่อไปนี้

ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์(Hierarchy of Needs)

        อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งมีเบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ มาสโลว์มีหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับแรงจูงใจ โดยเน้นในเรื่องลำดับขั้นความต้องการ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้นเมื่อความต้องการพื้นฐานได้รับการตอบสนอง เช่น ความมั่นคงความปลอดภัย กินอิ่มนอนหลับ ความต้องการอื่นจะเข้ามาทดแทน เป็นพลังซึ่งจูงใจให้ทำพฤติกรรม เช่น อาจเป็นความสำเร็จในชีวิต เป็นต้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการพฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนอง ความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็น 5 ระดับ ด้วยกัน ได้แก่
            5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและพัฒนาศักยภาพของตน
            4.ความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีค่า
            3.ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ
            2.ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
            1.ความต้องการทางสรีระ

        1.ความต้องการทางสรีระ(Physiological Needs) หมายถึง ความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า ฯลฯ ความต้องการนี้เริ่มตั้งแต่วัยทารกกระทั่งถึงวัยชรา มนุษย์ทุกคนมีความต้องการทางสรีระอยู่เสมอจะขาดไม่ได้ ถ้าอยู่ในสภาพที่ขาดร่างกายจะกระตุ้นให้บุคคลทำกิจกรรมขวนขวาย เพื่อตอบสนองความต้องการ เหล่านี้ ถ้าต้องการในขั้นแรกนี้ไม่ได้รับการบำบัด ความต้องการขั้นต่อไปก็จะไม่เกิดขึ้น
        2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพราะบุคคลไม่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในการดำรงชีวิต เช่น การสูญเสียตำแหน่ง การขาดแคลนทรัพย์สิน การถูกขู่เข็ญบังคับจากผู้อื่น มนุษย์จึงเกิดความต้องการความมั่นคงปลอดภัย และหลักประกันชีวิต เช่น มีอาชีพที่มั่นคง มีการอมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ มีการประกันชีวิต ฯลฯ
        3.ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ (Love and belonging Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมต้องการเพื่อนไม่ต้องการรู้สึกเหงา และอยู่คนเดียว ดังนั้นจึงต้องการมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น เป็นสมาชิกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น กลุ่มครอบครัว กลุ่มที่ทำงาน กลุ่มเพื่อนบ้าน กลุ่มสันทนาการ เป็นต้น ความรู้สึกผูกพันจะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในกลุ่ม และสมาชิกของกลุ่มย่อมเกิดความรัก ความเอาใจใส่ และยอมรับซึ่งกันและกัน
        4. ความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีค่า (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นว่าตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ทีมีความมั่นใจในตนเอง และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามีประโยชน์ หากความรู้สึกหรือความต้องการดังกล่าวถูกทำลายและไม่ได้รับการนตอบสนองก็จะรู้สึกมีปมด้อย สิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย ต้องการสิ่งชดเชย ถ้าเกิดความรู้สึกรุนแรงจะทำให้บุคคลนั้นเกิดความท้อถอยในชีวิต เป็นโรคประสาท โรคจิต และอาจฆ่าตัวตายได้
        5. ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริง และพัฒนาศักยภาพของตน (Self-Actualization Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริง เพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์ (Self-fulfillment) รู้จักค่านิยม ความสามารถและมีความจริงใจต่อตนเอง ปรารถนาที่จะเป็นคนที่ดีที่สุดของตนเอง มีสติในการปรับตัว เปิดโอกาสให้ตนเองเผชิญกับความจริงของชีวิต และเผชิญกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ โดยคิดว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าตื่นเต้น กระบวนการที่จะพัฒนาตนเองเต็มที่ตามศักยภาพของตนเองเป็นกระบวนการที่ไม่มีจุดจบ ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะพัฒนาตนเองเต็มที่ตามศักยภาพ
        มาส์โลว์ กล่าวถึง ลำดับของความต้องการต่างๆ ของมนุษย์ว่า ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตามความสำคัญและสามารถยืดหยุ่นได้ เมื่อความต้องการเบื้องต้นได้รับบำบัดแล้วมนุษย์จะให้ความสนใจกับความต้องการขั้นสูงขึ้นเป็นลำดับ ความต้องการเหล่านี้เกิดเหตุผลที่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ต้องการเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

มาส์โลว์ ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ ไว้ดังนี้
        1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ และไม่มีที่สิ้นสุด ขณะที่ความต้องการได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอย่างอื่นจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
        2. ความต้องการที่ไดรับการตอบสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้นๆอีกต่อไป ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง จึงจะเป็นสิ่งจูงใจพฤติกรรมของบุคคล
        3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ เมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์จะให้ความสนใจกับความต้องการระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ