วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ประมวลการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร


ประมวลรายวิชาพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)
1.ชื่อสถาบันอุดมศึกษา           
มหาวิทยาลัยนครพนม
2.วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา      
คณะครุศาสตร์
3.รหัสและชื่อรายวิชา           
            31300305 พัฒนาการหลักสูตร (Curriculum Development) 
4.จำนวนหน่วยกิต                  
3หน่วยกิต (2-2-5)
5.หลักสูตรประเภทวิชา   
หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
หมวดวิชาเฉพราะกลุ่มวิชา (วิชาบังคับ)
6.อาจารย์ผู้สอน                      
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช
E-mail : Phichittra.npu.ac.th
Mobile: 0884555839
7.ภาคเรียนที่/ปีการศึกษา         
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
8.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)(ถ้ามี)
-
9.สถานที่เรียน                         
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
8.จุดมุ่งหมายของรายวิชา
รายวิชานี้ออกแบบไว้เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมาย ดังนี้
8.1  มีความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตร และแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
8.2  วิเคราะห์พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา ด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และด้านสาขาวิชา
8.3 มีทักษะกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผ่นหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรการจัดหลักสูตรหรือการนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร8.4 มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน8.5 มีเจตคติที่ดีและให้ความสำคัญต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร

9.คำอธิบายรายวิชา
            ศึกษาความหมายวิเคราะห์ อภิปรายถึงความสำคัญ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ประเภทและองค์ประกอบของหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทยและต่างประเทศ การวางแผนและการออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลหลักสูตร

10.จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง
2 ชั่วโมง/สัปดาห์
-
2ชั่วโมง/สัปดาห์
5 ชั่วโมง/สัปดาห์






แนวคิดการปรับเปลี่ยนเอกสารคำสอน รายวิชาพัฒนาหลักสูตรเป็นผลจากการวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนทัศน์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในยุคการศึกษา 4.0 ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยานครพนม ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย ปีการศึกษา 2560
มีการกำหนดจุดหมาย และจำนวนชั่วโมง ดังนี้
ด้านความรู้/ทักษะ                       Need Analysis Planning                         16 Hrs/
                          Praxis-Generating                                 32 Hrs/
                                                     Undersastanding-Producing                  16 Hrs/
 รวมจำนวน 64 ชั่วโมง
ออกแบบการสอน จำนวน หน่วย
หน่วยที่ การวางแผน (Planning Curriculum) (จำนวน ครั้ง ๆ ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
1.       การศึกษา การพัฒนามนุษย์ กับหลักสูตร
2.       ทฤษฎีหลักสูตร
3.       ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนา
4.       การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
หน่วยที่ ตอนที่ การออกแบบหลักสูตร (Generating Curriculum – Organization) (จำนวน ครั้ง ๆ ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
5.       ประเภทของหลักสูตร
6.       รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
7.       แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
หน่วยที่ ตอนที่ การจักระบบหลักสูตร (Generating Curriculum – Organization) (จำนวน ครั้ง ๆ ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
8.       การนำหลักสูตรไปใช้
9.       การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หน่วยที่ การประเมินผลหลักสูตร (ผลผลิตหลักสูตร – Producing) (จำนวน ครั้ง ๆ ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
10.   การประเมินหลักสูตร
11.     ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
11. แผนการจัดการเรียนรู้
สัปดาห์
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน   สื่อที่ใช้(ถ้ามี)
ผู้สอน
1
แนะนำรายวิชา
วางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
การศึกษา การพัฒนามนุษย์ กับหลักสูตร ความหมายคุณสมบัติ
ความสำคัญองค์ประกอบ
ลักษณะของหลักสูตรที่ดี
4
-บรรยาย/อภิปราย/สรุป
-ประมวลการสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
2
ทฤษฎีหลักสูตร
การสร้างทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
3-4
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง
ข้อมูลพื้นฐานสภาพปํญหา และแนวทางการแก้ในสังคม
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ข้อมูลพื้นฐานทางสภาพสังคมในอนาคต
ข้อมูลพื้นฐานจากนักวิชาการจากสาขาต่าง
ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับโรงเรียนชุมชนหรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
ข้อมูลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และการศึกษาหลักสูตรเดิม
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
5-6
การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น
ประโยชน์ของการเรียนการสอนโดยใชการเรียนรู้ในท้องถิ่น
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
7
แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
แบบจำลองของไทเลอร์
แบบจำลองของทาบา
แบบจำลองวงจรชองวีลเลอร์และนิโคลส์
แบบจำลองของวีลเลอร์
แบบจำลองนิวโคลส์
แบบจำลองของวอคเกอร์
แบบจำลองของสกิลเบค
แบบจำลองของเซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
แบบจำลองของพริ้นท์
แบบจำลองของโอลิวา
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
8
ประเมินผลระหว่างเรียน
4
สัปดาห์ที่1-สัปดาห์ที่7
ผศ.ดร.พิจิตรา
9-10
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรความหมายของการพัฒนาหลักสูตรหลักการพัฒนาหลักสูตร ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
11
ประเภทของหลักสูตร
-หลักสูตรบูรณาการ
-หลักสูตกว้าง
-หลักสูตรเสริมประสบการณ์
-หลักสูตรหลายวิชา
-หลักสูตรแกน
-หลักสูตรแฝง
-หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
-หลักสูตรเกลียวสว่าน
-หลักสูตรสูญ
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
12-13
การนำหลักสูตรไปใช้
หลักกรนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
ผู้เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
14
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
15
การประเมินหลักสูตร
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรของสเตค
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของสตัฟเฟิลบีม
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของไทเลอร์
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของแฮมมอนด์
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของโพรวัส
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
16
ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
17
ประเมินผลปลายภาค
(หมายเหตุเป็นไปตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดให้สอนไม่น้อยกว่า16 สัปดาห์)
-
ทดสอบแบบทดสอบ
ผศ.ดร.พิจิตรา
รวม
64


12. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
โครงสร้าง-แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา การพัฒนาลักสูตร                                                                   หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
คณะครุศาสตร์                                                                                     มหาวิทยาลัยนครพนม
เรื่อง....................................                                                                  เวลา ชั่วโมง


สาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ NPU Leaning Paradigm
วัตถุประสงค์
            เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะการพัฒนาหลักสูตร ในประเด็นต่อไป
            1.การวางแผน (Planning Curriculum)
            2.การออกแบหลักสูตรและจัดระบบ(Generating)
            3.ผลผลิตหลักสูตร(Producing)
เนื้อหา
สาระความรู้ในแต่ละบทเรียน(บทที่1-11)
หน่วยที่
เนื้อหาสาระ
1.การวางแผน (Planning Curriculum)

1.การศึกษา การพํฒนามนุษย์กับหลักสูตร
2.ทฤษฎีหลักสูตร
3.ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
4.การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
2.การออกแบหลักสูตรและจัดระบบ(Generating)
5.ประเภทของหลักสูตร
6.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
7.แบบจำลองหลักสูตร
8.การนำหลักสูตรไปใช้
9.การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
3.ผลผลิตหลักสูตร(Producing)
              
10.การประเมินหลักสูตร
11.ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร


กิจกรรมการเรียนรู้
            ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน (30-60 นาที)
                1.ผู้สอนใช้คำถาม เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ NPU Leaning Paradigm เริ่มจากทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน การเรียนการสอนแบบปกติ และการเรียนการสอนแบบการสร้างการเรียนรู้
            กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกันเรียนรู้ ให้สมาชิกในกลุ่ม กำหนดบทบาทหน้าที่ประธาน เลขานุการ และสมาชิก
ขั้นจัดการเรียนรู้ (60-120 นาที)
          2.นักศึกษาแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนจัดการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้ ความต้องการที่ผู้เรียนต้องการได้รับการตอบสนองในการศึกษาเรียนรู้ ประกอบด้วย กิจกรรม คือ
                2.1การกำหนดจุดมุงหมายการเรียนรู้
                2.2การกำหนดระดับคุณภาพของการเรียนรู้ในรูปแบบของภาระงาน คำถามเกี่ยวกับความรู้ที่ได้เรียนรู้ โดยกำหนดหรือระบุเป็นสาระความรู้ Declarative khowledge หรือ What student will understand และกำหนดหรือระบุเป็นทักษะ Procedural khowledgeหรือ What student will be able to do
            3.นักศึกษาจับคู่ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ และเรียนรู้ร่วมกัน ประกอบด้วย 3กิจกรรมย่อย คือ
                3.1การออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์ในการเรียนรู้ ในยุคการศึกษา 4.0 เลือกผลิตภัณฑ์ในการเรียนรู้ จากหนังสือหรือเอกสาร(ใบความรู้ หรือสื่อการเรียนรู้อื่นๆ)  และเสนอแนะ/การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
                ในขั้นนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบนำตนเอง เป็นรายบุคคล เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามBloom ขั้นความจำและความเข้าใจ
                 3.2การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยสืบเสาะหาหรือจัดเตรียมบทเรียนที่ใช้ในการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล การเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์ที่เรียนรู้จาก Mobileleaning
    ในขั้นตอนนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อนคู่คิด(จำนวน 2-3 คน)เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloom ขั้นความจำความเข้าใจ นำไปใช้
    3.3การบูรณาการความรู้อาศัยความร่วมมือกัน เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อบูรณาความรู้(จัดลำดับขั้นตามแนวคิดของบลูม จำ-เข้าใจ-นำไปใช้-วิเคราะห์-สังเคราะห์-ประเมินค่า) และฝึกวิพากษ์ความรู้
    ในขั้นตอนนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย(จำนวน 4-5 คน)เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloom ขั้นความจำ ความเข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์
4.นักศึกษาร่วมกันตรวจสอบความเข้าใจในมโนทัศน์การเรียนรู้ ในประเด็นการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้ ตรวจสอบทบทวนความเข้าใจในการเรียนรู้ ตรวจสอบทบทวนความเข้าใจในการเรียนรู้ของตนเอง ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย คือ
     4.1การตรวจสอบแบบย้อนคิดทบทวน การประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองการบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
     4.2การประเมินความรู้เปรียบเทียบกับมาตรฐานการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy
ขั้นสรุป (30-60 นาที)
5.นักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตอบคำถาม(ผู้สอนกำหนดประเด็นคำถาม) นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบ อาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ การร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้จากการศึกษา

สื่อการเรียนการสอน
1.เอกสารประกอบการนำเสนอ (PowerPoint Presentation)
2.เอกสารคำสอนวิชาการพัฒนาหลักสูตร
3.บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการทัศน์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในยุคการศึกษา4.0 ของนักศนึกษาวิชาชีพครู

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
1.สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
2.ตรวจคำตอบตามประเด็นคำถาม

13.การประเมินผล
หลักการประเมินผลการเรียนรู้
กรอบที่ในการอ้างอิงทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการประเมินผลการศึกษาระดับอุดมศึกษาครั้งนี้คือ หลักการประเมินผลการเรียนรู้และการให้ข้อเสนอแนะที่ดีทฤษฎีและหลักการ ที่เป็นผลการศึกษาวิจับของเดวิด นิโคล (David  Nicol  University of Strathclyde) ซึ่งนำเสนอหลักการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับทีดี 10 ข้อ ดังนี้

         1.ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร (เป้าหมาย เกณฑ์การวัด เกณฑ์มาตรฐาน)ขอบเขตของสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของงเกณฑ์และมาตรฐานก่อนระหว่าง และหลังการประเมินผลแค่ไหน

        2.ให้ “เวลาและความพยายาม” กับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทาย ขอบเขตของงานที่มอบหมายมีส่วนกระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
        3.ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยตนเอง ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับแบบไหนและความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ปรับปรุงด้วยตัวเองได้อย่างไร         
       4.สร้างความเชื่อที่เป็นแรง บันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวกขอบเขตของการประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสำเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
        5. สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อนและครูนักเรียน) มีโอกาสใดบ้างสำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่สอน
        6.อำนวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการเรียนขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสำหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับการประเมินตนเองการประเมินโดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
        7.ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล-เนื้อหาและกระบวนการขอบเขตของผู้เรียนสำหรับการเลือกหัวข้อวิธีการเกณฑ์การวัดผลค่าน้ำหนักคะแนนกำหนดเวลาและงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผล(งานที่ใช้ประเมินผล/การประเมินผลงาน) ในรายวิชาที่สอนมีแค่ไหน
        8.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการประเมินผลและปฏิบัติขอบเขตของข้อมูลผู้เขียนได้รับหรือมีการ ส่วนร่วมให้คำปรึกษา เพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีแค่ไหน
       9.สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แค่ไหน
     10.ช่วยครูผู้สอนในการปรับสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน   

การประเมินผลจะมีหลักการกระบวนการการประเมินการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
1.การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน
4. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง
5. การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
6.การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ
การประเมินผล



ดังนั้นการประเมินผลของรายวิชา กำหนดค่าน้ำหนักคะแนน และค่าระดับ(เกรด) ดังนี้
13.1ประเด็นการ ประเมินผลของรายวิชาพร้อมค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ
1. การสัมมนาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร                                             ร้อยละ 10
2. ประเมินกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพความสนใจและเข้าชั้นเรียน                                 ร้อยละ 10
3. การฝึกปฏิบัติ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหรือตามความสนใจ                                ร้อยละ 10
4. การนำเสนอผลงาน                                                                                                    ร้อยละ 20
5.การประเมินความรอบรู้
กลางภาคเรียน                                                                                                               ร้อยละ 20
ปลายภาคเรียน                                                                                                              ร้อยละ 30

13.2 การกำหนดค่าระดับเกรดแต่ละระดับ ช่วง(ร้อยละ)ของคะแนน
คะแนน (ร้อยละ)
เกรด
80-100
A
75-79
B+
70-74
B
65-69
C+
60-64
C
55-59
D+
50-54
D
ต่ำกว่า 50
F

14.เอกสารและข้อมูลสำคัญ
 คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่21. การเรียนรู้ : ขุมทรัพย์ในตน. 
              กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
วิจารณ์ พานิช (2555วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 กรุงเทพฯ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
Tyler R.W. (1949) Basic Principles of Curriculum and InstructionChicago : University of Chicago
            press

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น