วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

บทที่2. กับความรู้เพิ่มเติม


บทที่ 2
ทฤษฎีหลักสูตร

มโนทัศน์(Concept)     
           ทฤษฎีหลักสูตรสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆประกอบด้วยทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร(curriculum design) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร(curriculum engineering) ซึ่งเป็นสาขาวิชาย่อยของสาขาวิชาศึกษาศาสตร์
โดยสาขาวิชาศึกษาศาสตร์มีที่มาจากการจัดกลุ่มความรู้  3 กลุ่มหลัก คือ
1.วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (the natural sciences)
2.สังคมศาสตร์ (the social sciences)
3. มนุษย์ศาสตร์ (the humanities) 
โดยที่สาขาวิชาต่าง ๆ มีที่มาจากความรู้ทั้งสามกลุ่มอาทิแพทย์ศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์  สถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมถึงศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ เป็นต้น

ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
            1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับทฤษฎีหลักสูตร
2. สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

สาระเนื้อหา(Content)
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร

              การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสังคม การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปทำประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลักสูตรจัดเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาศึกษา มีการผสมผสานมโนทัศน์ความคิดรวมยอดเกี่ยวกับแนวทางและความเป็นไปได้ของการจัดการศึกษาที่มีระบบ และได้นำทฤษฎีทางการศึกษามาปรับประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะสะท้อนคุณค่าของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละสังคมด้วยทฤษฎีหลักสูตร เนื้อหาสาระในบทนี้กล่าวถึงทฤษฎีหลักสูตร การสร้างทฤษฎีหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร หลักการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการพัฒนาหลักสูตร

1. ทฤษฎีหลักสูตร
              ทฤษฎีต่าง ๆ เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์ และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้จากการสังเกต มิใช่อาศัยเหตุและผลและนำมาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์และนำไปสู้การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไป มีความเป็นสากล (Universal) สามารถพิสูจน์ทดลองได้ (Testable) และมีส่วนประกอบ (Element) ที่เหมือนกัน ทฤษฎีทำหน้าที่ อธิบาย และความหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน นำไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ และนำไปสู้การยืนยันว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
              Smith and others (1957) มีความเชื่อว่าทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยสร้างและให้เหตุผลที่สนับสนุนทางการศึกษา เพื่อประกอบการเลือกและจัดหาเนื้อหาที่ต่างกันของผู้เรียน นักพัฒนาหลักสูตรจึงได้นำทฤษฎีหลักสูตรมาใช้โดยการผสมผสานทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเข้ามาไว้ด้วยกัน กำหนดขึ้นเพื่อการนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตรจึงเป็นการพิจารณาความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ที่สามารถนำมาปรับใช้การวางแผนและพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการจัดและแยกประเภทของเหตุการณ์ต่าง ๆ และโยงความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ พิจารณาโครงสร้างและเนื้อหาวิชาที่เหมาะสมนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร คำนึงถึงความสอดคล้องตามสภาพการณ์ต่าง ๆ ทั้งในส่วนของผู้เรียนและในส่วนของสังคม (Kelly.1995) 
           ทฤษฎีหลักสูตรเป็นคำอธิบายสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร และการนำผลที่ได้รับจากการประเมินผลมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร (Kelly.2009) โดยเน้นการบรรยายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่แสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างจุดมุ่งหมายกับเนื้อหาวิชา ระหว่างเนื้อหาวิชาและโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมด ปรัชญาต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการวางจุดมุ่งหมาย สภาพความจริงในสังคม และบทบาทของการศึกษาในสังคม (Gardner and others.2000) โดยสภาพความจริงแล้วทฤษฎีและปฏิบัติมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทฤษฎีจะอธิบายให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งการปฏิบัติจะดำเนินการอยู่ภายในขอบเขตของทฤษฎีที่กล่าวไว้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทฤษฎีจะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางของการปฏิบัตินั้นเอง โดยเหตุนี้ทฤษฎีจึงเป็นของคู่กันและจะต้องไปด้วยกันในการสนับสนุนการปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย
2. การสร้างทฤษฎีหลักสูตร
              Beauchamp (1981:77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design  theories)  และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร  (Engineering  theories) 
             

2.1 ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร

              การออกแบบหลักสูตร(Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย  เนื้อหา สาระกิจกรรมการเรียนและการประเมินผล  (Zais.1976:16)  Herrick  and Tyler (1950:41)  ได้เสนอแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตร ดังภาพ 4.1
 ภาพประกอบ 1 ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตร
              Taba (1962:422) มีความเห็นว่าส่วนประกอบของหลักสูตรที่จะขาดเสีย มิได้ก็คือจุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินผล   
              Beauchamp (1975:107-109)   ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการ คือ เนื้อหาสาระและวิธีการจัด จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน และการประเมินผลซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร

2.ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร
              วิศวกรรมหลักสูตร  (Curriculum engineering) หมายถึงกระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร (Beauchamp.1975:108) หลักสูตรที่มีคุณภาพและสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มากที่สุดนั้นมีอยู่หลายรูปแบบได้แก่
     1.รูปแบบการบริหารรูปแบบการปฏิบัติการ (เน้นการนำทฤษฎีมาปฏิบัติจริง)
     2.รูปแบบการสาธิต (มีตัวอย่าง)
     3.รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ (แก้ปัญหา)
     4.รูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร (เน้นเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการเรียนรู้)
              ทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรมี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร  เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

3.  การพัฒนาหลักสูตร
              การพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการพิจารณาและการกำหนดเป้าหมายว่าหลักสูตรที่จัดทำนั้นมีเป้าหมายเพื่ออะไร ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้น ๆ อย่างชัดเจนการคัดเลือกกิจกรรม วัสดุประกอบการเรียนการสอน การเลือกสรรเนื้อหาสาระ กิจกรรมทั้งในทั้งนอก  ห้องเรียน การกำหนดระบบการจัดวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน
              การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนของการตัดสินใจเลือกหาทางเลือก การเรียนการสอนที่เหมาะสม หรือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้ นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงภูมิหลักขององค์ประกอบต่าง ๆ อย่างละเอียด และรอบคอบก่อน ตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง และเมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งอื่น ๆ

 การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ระยะเวลา ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความหมายเหมาะสมโดยอาจปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อนก็ได้ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถดำเนินการได้ทุกระยะเวลา และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความเหมาะสม และกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์ในการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน
              บุญชม ศรีสะอาด (2546: 21-46) ได้กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตรว่าต้องอาศัยพื้นฐานที่สำคัญ 5ประการ ดังนี้
              1. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical foundation) อิทธิพลขอพื้นฐานดังกล่าวมี   ลักษณะ
     - หลักสูตรที่พัฒนา มีความรู้ ผลการค้นพบทั้งลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
 และแนวปฏิบัติที่เคยมีมาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร         
     - ความสำเร็จหรือความล้มเหลว ของการจัดการศึกษาในอดีตเป็นบทเรียนในการสร้างหลักสูตรใหม่
                   
             2.  พื้นฐานทางปรัชญา (Philosophical foundation)
สามเหลี่ยมแห่งการศึกษา

                โลกแห่งการศึกษาประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ K = ด้านความรู้ (Knowledge), L = ด้านผู้เรียน (Learner), S =  ด้านสังคม (Social) โดยในแต่ละด้านหลักจะกำกับด้วยปรัชญาที่ใช้เป็นหลักยึดในการจัดการศึกษาต่าง ๆ ดังนี้
·       ด้านความรู้ (K)
o   ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) มีความเชื่อว่า การศึกษาควรมุ่งพัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว เช่น ความสามารถในการจำ ความสามารถในการคิดความสามารถที่จะรู้สึก ฯลฯ การศึกษาควรมุ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมกันมา ความเชื่อความศรัทธาต่าง ๆ ที่ยึดถือกันเป็นอมตะ อบรมมนุษย์ให้มีความคิดเห็น และความเป็นอยู่สมถะของการเป็นมนุษย์ หลักสูตรจะยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ เนื้อหาที่เป็นวิชาพื้นฐาน ได้แก่ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับศิลปะ ค่านิยม และวัฒนธรรม
o  ปรัชญาการศึกษานิรันดรนิยม (Perenialism) มีความเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติมนุษย์คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล ซึ่งความสามารถในการใช้เหตุผลนี้จะควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำของมนุษย์ได้ เพื่อให้มนุษย์บรรลุจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ปรารถนา ให้ผู้เรียนรู้ผลงาน อันมีค่าของผู้มีอัจฉริยะในอดีตเพื่อคงความรู้เอาไว้ เช่น ผลงานอมตะทางด้านศิลปะ วรรณกรรม ดนตรีรวมทั้งผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในปัจจุบันได้แก่หลักสูตรของวิชา พื้นฐานทั่วไป (General education) ในระดับอุดมศึกษา
·    ด้านผู้เรียน (L)
o  ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) มีแนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจความหมายของประสบการณ์นิยม ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขาและสิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน หลักสูตรจะเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
·       ด้านสังคม (S)
·      ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะว่าสังคมขณะนั้นมีปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง การศึกษาจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่ดีงามขึ้นมาใหม่ เป็นสังคมในอุดมคติ ที่มีความเพียบพร้อม
      ปรัชญามีส่วนในการสร้างหลักสูตร เนื่องจากปรัชญามีส่วนในการช่วยกำหนดจุดประสงค์และการจัดการสอน ซึ่งมีแนวปรัชญาต่าง ๆ มากมาย
      - ปรัชญาสารัตถะนิยม (Essentialism) เชื่อว่าแต่ละวัฒนธรรมมีความรู้ ความเชื่อ ทักษะ อุดมการณ์ที่เป็นแกนกลาง หลักสูตรที่จัดตามแนวนี้ได้แก่ หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา (Subject curriculum) และแบบสหสัมพันธ์ (Broadfields curriculum)
1.หลักสูตรแบบเน้นเนื้อหา (The Subject Matter Curriculum)
เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้ในการสอนศาสนา ละติน กรีก อาจเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาเป็นศูนย์กลาง (Subject-Centered-Curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการสอนของครูที่ใช้วิธีการ บรรยาย ปรัชญาการจัดการศึกษาแนวนี้จะยึดปรัชญาสารัตถนิยม(Essentialism)และสัจวิทยา (Perennialism)

2.หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Correlated Curriculum)
หลักสูตรสหสัมพันธ์ คือ หลักสูตรเนื้อหาวิชาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาวิชาของ
วิชาต่าง ๆ ที่สอดคล้องหรือส่งเสริมซึ่งกันและกันมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน แล้วจัดสอนเป็นเนื้อหาเดียวกัน
วิธีการดังกล่าวอาศัยหลักความคิดของนักการศึกษาที่ว่า การที่จะเรียนรู้สิ่งใดให้ได้ดีผู้เรียนต้องมีความสนใจเข้าใจความหมายของสิ่งที่เรียนและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนกับสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพราะฉะนั้นหลักสูตรสหสัมพันธ์จะกำหนดเนื้อวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหมวดใดหมวดหนึ่ง แล้วนำเนื้อหาสาระวิชาที่สัมพันธ์กันมารวมไว้ด้วยกัน
                  
       - ปรัชญาสัจนิยม (Perenialism) เชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการใช้เหตุผล การตัดสินแยกแยะ และความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า การจัดหลักสูตรจึงเน้นความสำคัญของวิชาพื้นฐานได้แก่ การอ่าน เขียน และการคิดคำนวณ
        - ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์ ผู้สอนแบบประสบการณ์หรือกิจกรรม (Experience or activitycurriculum)
         - ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เน้นเรื่องชีวิตและสังคม ได้แก่
-หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum) 
     หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม เป็นหลักสูตรที่มุ่งแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรที่ผ่านมาด้วยการรวบรวมความรู้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยยึดกิจกรรมต่าง ๆ ของคนไทยเป็นหลัก เป็นหลักสูตรที่ถูกคาดว่ามีคุณค่ามากที่สุดสำหรับผู้เรียน การจัดหลักสูตรแบบนี้ได้ยึดเอาสังคมและชีวิตจริงของเด็กเป็นหลัก เพื่อผู้เรียนจะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
-หลักสูตรแบบแกน (Core Curriculum)
      หลักสูตรแบบแกนเป็นหลักสูตรที่ประสานสัมพันธ์เนื้อหาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันมุ่งที่จะสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning สิ่งที่เรียนจะมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์และชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงชีวิตความเป็นอยู่มาสัมพันธ์กับการเรียนรู้ได้
           - ปรัชญาสวภาพนิยม (Existentialism) เชื่อว่าแต่ละคนกำหนดของชีวิตของตนเองได้แก่ หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (individualized) เน้นการให้เสรีแก่ผู้เรียนมากที่สุด
               
 3. พื้นฐานจากสังคม (Sociogical foundation) หลักสูตรได้รับอิทธิพลจากสังคมมากที่สุด สมาชิกในสังคมเป็นผู้สร้างและพัฒนาโรงเรียน รากฐานทางสังคมที่มีต่อการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงของสังคมก็มีผลทำให้หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลงด้วย
  4. พื้นฐานจากจิตวิทยา (Psychologial foundation) จิตวิทยามีส่วนสำคัญต่อการสร้างหลักสูตรและการสอน โดยเฉพาะจิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้
       4.จิตวิทยาพัฒนาการ การที่จะช่วยให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่เหมาะสมที่ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนหลักสูตร ได้แก่ พื้นฐานทางชีววิทยาของความแตกต่างระหว่างบุคคล   วุฒิภาวะทางกาย พัฒนาการ และ สัมฤทธิ์ผลทางสติปัญญา พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และ พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม
       4.จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้เป็นพื้นฐานสำคัญของเนื้อหาหลักสูตรและกิจกรรมการสอน ทฤษฎีที่สำคัญ ได้แก่
   - ทฤษฎีที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (S-Rcondition) ได้แก่ ทฤษฎีการเสริมแรง( เน้นการกำหนดให้บุคคลต้องกระทำในสิ่งที่เราต้องการให้เขากระทำ) และ ทฤษฎีเงื่อนไข(การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ สถานการณ์เกิดขึ้น  นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Pavlov Thorndike และ Skinner
    - ทฤษฎีสนาม (Field theory) แนวคิดของทฤษฎีนี้คือ ส่วนรวมทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญมากจะต้องมาก่อนส่วนย่อย ทฤษฎีที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎีมนุษย์นิยม
     - ทฤษฎีผสมผสาน (lntegrated theory) มีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญคือ การศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ การผสมผสานระหว่างทฤษฎีเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองและทฤษฎีสนาม
     - ทฤษฎีการเรียนรู้ในโรงเรียนของ Bloom เป็นทฤษฎีที่เน้นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน และ คุณลักษณะของแต่ละคน
                 5. พื้นฐานจากวิชาการความรู้ต่าง ๆ (Disciplines of knowledge foundations) ความรู้ของวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ทางอาชีพ เป็นรากฐานของการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างหลักสูตรจึงต้องมุ่งให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ (Concept) และวิธีการของวิชานั้น ๆ


4. การพัฒนาหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การเรียนการสอนจะดำเนินไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงหลักการของหลักสูตรและวิธีใช้ ด้วยการรู้หลักการจะช่วยให้ครูผู้สอน อ่านหลักสูตรได้เข้าใจและดียิ่งขึ้นหลักสูตรแบ่งตามแบบต่าง ๆ
1. หลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแม่บท (Nationai level) เป็นหลักสูตรแกนที่เขียนไว้กว้างและบรรจุสาระที่จำเป็นต่อทุกคนในประเทศที่จะต้องเรียนรู้เหมือนกัน เพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไว้ หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจึงเน้นเป็นวิชาบังคับให้ทุกคนต้องเรียนการพัฒนา
2. หลักสูตรระดับชาติมีหน่วยงานที่พัฒนาหลักสูตร คือ สูตรพัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์นี้มีหน้าที่ประสานงานในการบรับปรุงหลักสูตรทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา หลักสูตรระดับท้องถิ่น (Local level) เป็นการนำเอาหลักสูตรระดับชาติมาใช้พิจารณาถึงลักษณะของท้องถิ่นเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของแต่ละท้องถิ่นและลักษณะของผู้เรียนและเป็นการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในชีวิตจริง
3. หลักสูตรระดับห้องเรียน (Classroom level) สังคมจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรระดับนี้ ผู้สอนส่วนมากมักเข้าใจผิดมักคิดว่าตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรแต่จริงแล้วผู้สอนนำเอาหลักสูตรระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาใช้ให้เหมาะสมและบรรลุจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ผู้สอนแต่ละคนในวิชาต่าง ๆ ก็จะทำให้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นทั้งระบบ คือ รู้จักจุดมุ่งหมายการสอนเรื่องวิชานั้น ๆ ว่ามีความหมายความจำเป็นต่อผู้เรียนอย่างไร ทำไมจึงต้องสอน สามารถใช้วิธีการสอน สื่อการสอน หนังสือเรียน แบบฝึกหัด สามารถวัดผลและประเมินผล เพื่อพิจารณาพฤติกรรมของผู้เรียนว่าได้เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
              การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นต้องมีการดำเนินงานเป็นระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป การวางแผนจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานนี้จะต้องคำนึงถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหลักสูตรว่าจะเริ่มต้นที่ใดก่อน และดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหลักสูตรเดิม ต้องคำนึงถึงการดำเนินงานวิธีการต่าง ๆรวมทั้งหลักการและแนวปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการฝึกอบรมครูประจำการให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่รวมทั้งทักษะในด้านต่าง ๆ และต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจและทัศนคติของผู้เรียนด้วย ต้องได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทางด้านทางด้านหลักสูตรทุก ๆ ด้าน
-ระดับประถมศึกษา  การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง ชุมชน และสังคม โดยเชื่อว่าหากพัฒนาตนแล้วรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม สามารถอ่านออก เขียนได้คำนวณได้ ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอนาคต ผู้เรียนรู้จักรักและเข้าใจในธรรมชาติ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตัวและทำความเข้าใจสุขพลานามัยส่วนร่วมแล้ว ย่อมรู้จักรักทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดจิตภาพต่อการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข
-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักรักและแสวงหาความรู้ กำแนวทางที่เหมาะสมกับตนในการทำประโยชน์ให้แก่สังคม มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญ  เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) และติดตามความเจริญก้าวหน้าวิทยาการต่าง ๆ รู้จักรักและเอาใจใส่ในสุขภาพของตน บุคคลรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างสุขภาพอนามัยส่วนตน และชุมชน  ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการด้านต่าง ๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม
-ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำประโยชน์ให้สังคมตามความสามารถของตน มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญเฉพาะด้านและรอบรู้ทันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งเสริมการอนามัยชุมชนและการสร้างเสริมสุขภาพ วางแนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมได้ ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ใช้แนวทางและวิธีการใหม่ๆในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รักการทำงานมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต เข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเทศและโลกมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศและเข้าใจร่วมกิจกรรมการพัฒนาสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตนตลอดจนอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นตามแนวทางประชาธิปไตย
 สรุป(Summary)
              การพัฒนาหลักสูตรเป็นการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นต้องคำนึงถึงสังคม ปรัชญาการศึกษา และผู้เรียน ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาหลักสูตรจะต้องประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันนับแต่นักการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย ผู้บริหาร ครูผู้สอนนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และนักพัฒนาหลักสูตรที่จะให้การหลักสูตรดำเนินไปจนบรรลุผลสูงสุด
ทฤษฎีหลักสูตรที่ได้มาจากศาสตร์สาขาต่าง ๆ ได้ถูกรวบรวมเป็นองค์รวมเป็นชุดของหลักการต่าง ๆ เพื่อ อธิบายเหตุผลการได้มาขององค์ความรู้ การรักษาไว้และการเรียกใช้องค์ความรู้ในแต่ละบุคคลได้อย่างไร ทฤษฎีหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักพัฒนาหลักสูตรกำหนดเบ้าหลอมผู้เรียนและกำหนดคำทำนายเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้สามารถพัฒนาหลักสูตร การนำหลักวิชา ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน  เทคนิค และวิธีการต่าง ๆ วิธีการที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ และทำให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์ในรายวิชาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสมบูรณ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น