วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ตัวอย่าง จังหวัดบึงกาฬ

การพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
1. นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ
5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่
      - หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์
        - หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่น ๆ
      - หน่วยนิเทศและประสานงาน
      - หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน
      - หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
การใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
เนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่น แยกได้ 4 ประเภท คือ
1. เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ ของท้องถิ่น
2. เนื้อหาที่เกี่ยวกับจุดเด่นของท้องถิ่นที่ผู้เรียนควรทราบ เพื่อให้เกิดความภูมิใจ
3. เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย วิสัยทัศน์ของท้องถิ่น
4. เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น
วิธีนำเนื้อหาท้องถิ่นมาสู่หลักสูตรและการสอน
1. สำรวจสภาพภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยได้จากการอ่านเอกสารจากหน่วยงานปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เอกสารในห้องสมุดที่เกี่ยวกับท้องถิ่น แล้วนำมาวิเคราะห์ สรุป เป็นเนื้อหาสาระของท้องถิ่น


ตัวอย่าง: จังหวัดบึงกาฬ
1. จุดเด่นของจังหวัดนครพนมที่จะมาใส่ในหลักสูตรท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้
1) ภาคภูมิศาสตร์ เป็นจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน
2) ประวัติศาสตร์ จังหวัดบึงกาฬ เดิมเป็น อำเภอไชยบุรี ในเขตการปกครองของ จังหวัดนครพนม ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ไชยบุรี เดิมชื่อ "เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี" อยู่ในเขตการปกครองของเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยนั้น 
พ.ศ. 2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอไชยบุรีพบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง มีน้ำขังตลอดปี ชาวบ้านได้อาศัยน้ำในบึงแห่งนี้บริโภคและใช้สอยชาวบ้านเรียก "บึงกาญจน์" เป็นที่รู้จักทั่วไป จึงได้พิจารณาและจัดทำรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย ขอเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอไชยบุรีเป็น "อำเภอบึงกาญจน์" ตั้งแต่นั้นมา
พ.ศ. 2477 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า บึงกาญจน์ ซึ่งแปลว่าน้ำสีทองนั้น ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพราะน้ำเป็นสีคล้ำค่อนข้างดำ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับความหมายและความเป็นจริงของน้ำในบึงว่า “บึงกาฬ” ทางการจึงได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น"อำเภอบึงกาฬ" เพื่อความสะดวกและเข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอบึงกาฬ ตามลำดับ
 พ.ศ. 2554  ได้แยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดบึงกาฬ จัดตั้งเป็นจังหวัดลำดับที่ 76 ของประเทศไทย

3) ศาสนา มีศาสนาสำคัญ คือ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและบางส่วนนับถือศาสนา
คริสต์ อิสลาม และมีพื้นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ได้แก่ วัด โบสถ์ มัสยิด
4) สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดบึงกาฬ ได้แก่

1. หินสามวาฬ


          ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู มีลักษณะเป็นหินขนาดใหญ่ติดหน้าผาสูง แยกตัวเป็น 3 ก้อน มีอายุประมาณ 75 ล้านปี หนึ่งเดียวของโลก เมื่อมองดูจากระยะไกล หินสามก้อนนี้จะดูคล้ายกับฝูงครอบครัววาฬ ที่ประกอบด้วยพ่อวาฬ แม่วาฬ และลูก

2. ภูสิงห์


           ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู โดยเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาของเปลือกโลก เกิดเป็นหน้าผา ถ้ำ และกลุ่มหินรูปทรงต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ของภูสิงห์ จนเกิดเป็นความงดงามของธรรมชาติที่น่าสนใจ ภูสิงห์มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ลานธรรมภูสิงห์, จุดชมวิวลานธรรม, จุดชมวิวถ้ำฤาษี, หินช้าง, หินรถไฟ, ลานหินลาย และกำแพงหินภูสิงห์ เป็นต้น เรียกได้ว่ามาเที่ยวภูสิงห์ที่เดียวเที่ยวได้ทั้งวันไม่มีเบื่อ

3. ภูทอก



          เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง บริเวณโดยรอบภูทอกล้อมรอบด้วยทัศนียภาพที่สวยงามและเงียบสงบ และมีสะพานไม้สร้างวนขึ้นไปสู่ยอดเขารวมทั้งหมด 7 ชั้น เพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปยังกุฏิและถ้ำที่อยู่ตามหลืบผา จากด้านบนนักท่องเที่ยวจะมองเห็นความสวยงามของภูมิประเทศเบื้องล่างได้ไกลสุดลูกหูลูกตา ยิ่งถ้าในวันที่อากาศแจ่มใส อาจมองได้ไกลถึงเทือกเขาในเขตจังหวัดนครพนมเลยด้วย

      4. น้ำตกถ้ำพระ


ตั้งอยู่บ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ตัวน้ำตกถ้ำพระแบ่งออกเป็น 3 ช่วงหลัก ๆ ได้แก่ ช่วงแรกจะเป็นธารน้ำตกไหลลดหลั่นลงสู่แอ่งน้ำกว้าง (นักท่องเที่ยวคนไหนจะเล่นน้ำตรงส่วนนี้ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะน้ำจัดได้ว่าค่อนข้างลึกพอสมควร) ถัดมาช่วงกลางของน้ำตก มีพื้นที่ขนาดใหญ่กินพื้นที่ยาวไปจนถึงฝายทดน้ำ น้ำค่อนข้างตื้น และส่วนสุดท้ายเป็นบริเวณเหนือฝายขึ้นไป จุดนี้ถือเป็นไฮไลท์เด็ดของน้ำตก เพราะคุณจะได้เห็นน้ำตกกว้างสีขาวลอยฟูฟ่อง ซึ่งเป็นต้นธารที่ไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง จุดนี้จะเห็นนักท่องเที่ยวที่ทั้งขึ้นมาชมน้ำตก และลงเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก

  5. น้ำตกเจ็ดสี

          ตั้งอยู่ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เป็นหนึ่งในน้ำตกสวย ๆ ของบึงกาฬที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ทั้งยังมีจุดให้นักท่องเที่ยวเล่นน้ำด้วยกันหลายจุด ทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ทั้งส่วนของร้านค้าและเครื่องดื่มมากมาย หากแต่นักท่องเที่ยวควรเพิ่มความระมัดระวัง เพราะเส้นทางเดินค่อนข้างชัน บางช่วงทางเดินค่อนข้างลื่น ดังนั้นอย่าได้ประมาทเวลาเดินเด็ดขาด โดยช่วงที่เหมาะสำหรับการมาเที่ยวน้ำตกเจ็ดสี จะอยู่ในช่วงฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว รับรองว่าคุณจะได้ชมน้ำตกสวย ๆ อย่างแน่นอนเลยค่ะ

  6. น้ำตกชะแนน

          ตั้งอยู่ในท้องที่บ้านเทพมีชัย ตำบลหนองเดิ่น อำเภอบุ่งคล้า ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก ด้วยเพราะสายน้ำของน้ำตกเกิดจากลำห้วยชะแนนไหลหลั่นกันเป็นชั้น ๆ ยิ่งถ้าไปในช่วงหน้าฝน ปริมาณน้ำที่ตกจากหน้าผาเรียกได้ว่าอลังการแบบสุด ๆ เหมือนกับม่านเมฆสีขาวตั้งตระหง่าน เสียงน้ำตกไหลดังกึกก้อง ละอองน้ำกระเซ็นเป็นวงกว้างตามขนาดหน้ากว้างของน้ำตก รับรองว่าสวยงามคุ้มคาแก่การรอคอย

5) คำขวัญ ได้แก่ : ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง
6) ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นชิงชัน
7) ประเพณีประจำจังหวัด  : การแข่งขันเรือยาว

2. นำเนื้อหาดังกล่าวมาพิจารณาว่าจะเกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ใดตัวอย่างจังหวัดนครพนม
สาระการเรียนรู้ เนื้อหาท้องถิ่น เช่น
1. ภาษาไทย ภาษา 6 ชนเผ่า
2. คณิตศาสตร์ ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ หาด เกาะ ดินฟ้าอากาศ ที่ทำกิน อาชีพ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
3. วิทยาศาสตร์ วิธีทำเกษตร การดูแลสภาพป่าต่างๆ
4. สังคมวิทยา ศาสนาวัฒนธรรม วัฒนธรรมของคน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหาร อาชีพ และเศรษฐกิจสังคม
5. สุขศึกษา พลศึกษา คุณค่าทางโภชนาการ
6. ศิลปะ การทอเสื่อ
7. การงาน อาชีพ และเทคโนโลยี เน้นอาชีพของคนบึงกาฬ การเกษตร
8. ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ ภาษาลาว ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม




3. นำเนื้อหามาผสมผสานกับเนื้อหาในหลักสูตรใหม่ อาจทำได้หลายลักษณะ เช่น
ก) ใช้เป็นเนื้อหาสอน เช่น เมื่อสอนเรื่องตนเองและครอบครัวก็ใช้สภาพจริงเป็นเนื้อหา
ข) ใช้เป็นแบบฝึกหัดให้นักเรียนไปทำ เช่น การประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นมีกี่อาชีพ อะไรบ้าง มีผู้ทำร้อยละเท่าไร
ค) ใช้เป็นโครงงาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
ง) ใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
จ) ใช้เป็นประเด็น ให้นักเรียนไปค้นคว้า ตัวอย่างเช่น นครพนม แปลว่า มีลักษณะอย่างไร มากน้อยเพียงใด มีอะไรสูญหายไปบ้างหรือไม่ ถ้าสูญหายทำไมจึงสูญหายไป
ฉ) ใช้เป็นสถานที่ไปทัศนศึกษา เช่น ภูทอก หินสามวาฬ





สมาชิก
นางสาวปานฤทัย   ศรีกุลวงค์  รหัสนักศึกษา 613150710028
นายกิตติศักดิ์    ศรีทิน   รหัสนักศึกษา 613150710127
นางสาวลัดดาวัลย์    ดวงศรี รหัสนักศึกษา 613150710234
นางสาวอรปรียา   คงเคน  รหัสนักศึกษา 613150710275
นางสาวชมพูนุช   ประหยัด   รหัสนักศึกษา 613150710291

สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา  คณะครุศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น