วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 6 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร สัปดาห์ที่ 7


บทที่ 6
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร

มโนทัศน์(Concept)
              คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของหลักสูตรคือ หลักสูตรความเป็นพลวัต และปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการและความเปลี่ยนแปลงของสังคม จากคุณสมบัติดังกล่าว การพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาที่สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การจัดการศึกษาให้สนองความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งจำเป็น และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในลักษณะของการพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
2. มีความรู้ ความเข้าใจ หลักการ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร

สาระเนื้อหา(Content)

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร

              รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรส่วนมากจะพัฒนามาจากแนวคิดของนักการศึกษาชาวต่างประเทศ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่กระบวนการและขั้นตอนควรประกอบด้วยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ซึ่งประกอบด้วยปรัชญาการศึกษา ผู้เรียน สังคม สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีและอื่นๆ เพื่อนำมากำหนดจุดมุ่งหมายเลือกเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้จัดลงในหลักสูตร แล้วนำหลักสูตรไปทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อนำมาแก้ไขหลักสูตรที่สมบูรณ์และนำไปใช้ สุดท้ายทำการประเมินผลหลักสูตรและนำผลจากการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรต่อไป กระบวนการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างเป็น             วัฏจักร

              ในการพัฒนาหลักสูตร เซย์เลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974: 8-9) ชี้ให้เห็นว่า การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรนั้นมีงานที่ต้องทำสำคัญๆ อยู่ 3 ประการ คือ
              1. การพิจารณาและการกำหนดเป้าหมายเบื้องต้นที่สำคัญของหลักสูตรที่จัดทำนั้นว่ามีเป้าหมายเพื่ออะไร  ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆ อย่างเด่นชัด
              2. การเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและวัสดุประกอบการเรียนการสอน การเลือกสรรเนื้อหาเพื่อสาระเพื่อการอ่าน การเขียน การทำแบบฝึกหัด และหัวข้อสำหรับการอภิปรายตลอดจนกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เป็นต้น
              3. การกำหนดระบบการจัดวัสดุอุปกรณ์และการจัดการเรียนการสอน ตลอดทั้งการทดลองที่เป็นประโยชน์ เหมาะสมกับการเรียนการสอนแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน
              บางครั้งเราจะพบว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนของการตัดสินใจเลือกหาทางเลือกทางการเรียนการสอนที่เหมาะสม หรือเป็นที่รวบรวมของทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆ  เข้าด้วยกัน จนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้ และถ้าหากหลักสูตรมุ่งที่จะกำหนดสำหรับผู้เรียนหลายกลุ่มหลายประเภทโดยใช้วิธีการต่างๆ  และโอกาสต่างๆ กันแล้วนักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงภูมิหลักขององค์ประกอบต่างๆ อย่างละเอียดและรอบคอบก่อนจะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง และเมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ เป็น      วัฏจักร

หลักการพัฒนาหลักสูตร  
              จากความคิดเห็นของนักการศึกษาในเรื่องของความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนๆ อย่างเป็นระบบระเบียบและเพื่อให้งานการพัฒนาหลักสูตรดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายของการพัฒนาอย่างแท้จริงเราจึงต้องคำนึงถึงหลักในการพัฒนาหลักสูตร
            1. การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีผู้นำที่เชี่ยวชาญและมีความสามารถในงานพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างดี
            2. การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกระดับ
            3. การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีการดำเนินการเป็นระบบระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป เริ่มตั้งแต่การวางจุดมุ่งหมายในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจนถึงการประเมินผลการพัฒนาหลักสูตรในการดำเนินงานจะต้องคำนึงถึงจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงว่า  การพัฒนาหลักสูตรที่จุดใด จะเป็นการพัฒนาส่วนย่อยหรือการพัฒนาทั้งระบบ และจุดดำเนินการอย่างไรในขั้นต่อไป สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผู้มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดหลักสูตร ครูผู้สอน หรือนักวิชาการทางด้านการศึกษาและบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันพิจารณาอย่างรอบคอบ และดำเนินการอย่างมีระเบียบระบบแบบแผนทีละขั้นตอน
           4. การพัฒนาหลักสูตรจะต้องรวมถึงผลงานต่างๆ ทางด้านหลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหลักสูตร เนื้อหาวิชา การทำการทดสอบหลักสูตรการนำหลักสูตรไปใช้ หรือการจัดการเรียนการสอน
            5. การพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการฝึกฝนอบรมครูประจำการให้มีความเข้าใจในหลักสูตรใหม่ ความคิดใหม่ แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่
                  6. การพัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจ และทัศนคติของผู้เรียนด้วย

 ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร
              การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่มีกระบวนการและขั้นตอนที่ซับซ้อน และเป็นงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดหลักสูตร นักวิชาการ นักพัฒนาหลักสูตร ให้มาทำงานร่วมกันกับบุคคลหลายฝ่าย และต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายด้วยดี การพัฒนาหลักสูตรจึงจะประสบความสำเร็จเมื่อการพัฒนาหลักสูตรสำเร็จลุล่วงตามจุดหมายแห่งการพัฒนาแล้วย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
              1. เป็นการพัฒนาการศึกษาของชาติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้ เพื่อให้การศึกษาของชาติเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับความเจริญของสังคมและของโลก
              2. เป็นการพัฒนาระบบการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก โดยเฉพาะในยุคที่เรียกว่า โลกยุคโลกาภิวัตน์
              3. เพื่อให้ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจและความสามรถในการพัฒนาการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนดังต่อไปนี้
                   3.มีความสามารถเปลี่ยนกับทักษะในด้านต่างๆ
                   3.มีความรู้เพียงพอที่จะศึกษาในระดับสูงขึ้นไป
                   3.ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม
                   3.มีจิตใจและร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
                   3.มีความเข้าใจและรักษาความงามตามธรรมชาติ
                   3.มีวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงาม
                   3.มีความสนใจและเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
                   3.มีความสนใจในการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม
                   3.มีความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตและในสังคมได้
 กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร
              ถ้าหลักสูตรได้รับการพิจารณาว่าเป็นทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเกิดขึ้นในการวางแผนการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาแล้ว การพัฒนาหลักสูตรก็จะเป็นการพัฒนาแผนเพื่อจัดโปรแกรมการศึกษา ซึ่งหมายถึงการให้นิยามและการเลือกจุดประสงค์ของการศึกษา เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินโปรแกรมการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานปฏิบัติมิใช่งานทฤษฎี เป็นความพยายามที่จะออกแบบระบบ เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา และระบบนี้จะต้องเป็นประโยชน์ที่แท้จริงปรากฏต่อสังคมและต่อมนุษย์ ซึ่งมีความมุ่งหมาย มีความฝักใฝ่ในสิ่งที่ตนชอบ มีกลไกการเคลื่อนไหว ดังนั้น ขั้นตอนที่จำเป็นขั้นแรกในการพัฒนาหลักสูตร คือ การตรวจและวิเคราะห์สถานการณ์สำคัญๆ ซึ่งเป็นความมุ่งหมายปลายทางของการพัฒนาหลักสูตรคือ    การเปลี่ยนแปลงของนักเรียนและครู ครูที่กลายเป็นผู้ที่มีความรู้มากขึ้น มีทักษะมากขึ้น และมีความไม่หยุดนิ่งมากขึ้น ครูซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวนี้จะเป็นผู้ที่ให้บริการแก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดต่อไปนี้จะกล่าวถึงการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร และแนวคิดการพัฒนาหลักสูตร
              แดเนียล แทนเนอร์ และลอร์เรล แทนเนอร์ (D. Tanner & L. Tanner. 1995 : 385) กล่าวว่าปัจจัยและอิทธิพลหลักสูตรมีปฏิสัมพันธ์จากปรัชญาสังคม พฤติกรรมมนุษย์ และความรู้ที่ยิ่งใหญ่กว้างขวางสิ่งเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อผู้เรียนโดยแปรสภาพมาเป็นเนื้อหาวิชาสำหรับการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการพัฒนาคนในสังคมใหม่ ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทัศน์ด้วยหลักสูตร
              มาร์ช และวิลลิส (Marsh & Willis. 1995 : 278) ได้สรุปแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร ว่า กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแม้มีหลายแนวคิด แต่เมื่อสรุปรวมความคิดแล้วล้วนอยู่บนพื้นฐานความต่อเนื่องเป็นอนุกรมโดยเริ่มจากแรงกดดันและผลกระทบจากปัจจัยบริบทและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสู่การปรับปรุงหลักสูตร การนำหลักสูตรไปสู่สถาบันเพื่อใช้จะได้รับแรงกดดันจากปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรขึ้นมาอีกในระยะต่อไปต่อเนื่องดังภาพประกอบ 2
                 ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร  เพื่อดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรมีแรงผลักดันและปัจจัยอิทธิพลหลายระดับตั้งแต่ระดับโรงเรียน ระดับชุมชนครอบครัว  สังคมประเทศชาติจนถึงระดับนานาชาติ พลังผลักดันของสังคมเป็นตัวเร่งสำคัญในการวางแผนหลักสูตร (Parkay W.and Glen Hass, 2000 : 275)
              องค์ประกอบในการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำหลักสูตรศึกษาวิเคราะห์สภาพของสังคมในปัจจุบัน พร้อมทั้งวิเคราะห์หลักสูตรเดิมเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตร ปรับปรุงแก้ไข  แล้วกำหนดจุดประสงค์ใหม่  องค์ประกอบในแต่ล่ะส่วนจะมีความสัมพันธ์กันและเท่าเทียมกัน จะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้  ได้แก่
              1. การกำหนดความมุ่งหมายจะต้องชัดเจนว่าต้องให้ผู้เรียนในระดับนั้นๆ มีคุณสมบัติอย่างไร เมื่อกำหนดความมุ่งหมายแล้วจะได้ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ในการเรียนรู้ต่อไป
              2. การวางแผนกำหนดโครงสร้างของหลักสูตร  และการเลือกเนื้อหาวิชา ในหลักสูตรจะต้องกำหนดโครงสร้างอะไรบ้าง  ระบบการให้คะแนนเป็นอย่างไร  มีวิชาใดบ้างที่จะต้องเรียนบังคับเท่าไร  และเลือกเท่าไร  และวิชาเหล่านั้นประกอบไปด้วยเนื้อหาอะไรมีประสบการณ์อะไรบ้าง
              3. การทดลองใช้หลักสูตรหรือกระบวนการเรียนการสอนหรือวิธีการ  และการจัดการเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามความมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ  จำเป็นต้องจัดหาและปรับปรุงกระบวนการสอน  การจัดชั้นเรียน การใช้อุปกรณ์การวัดผล
            4. การประเมินผลหลักสูตร เป็นการประเมินคุณค่าของหลักสูตรว่ามีคุณภาพเป็นอย่างไร  เป็นกระบวนการที่ใช้พิจารณาว่าความมุ่งหมายเป็นอย่างไร เนื้อหาวิชาและประสบการณ์ตรงกับความ          มุ่งหมายหรือไม่  การเรียนการสอนมีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้างและการประเมินผลอย่างไร

รูปแบบในการพัฒนาหลักสูตร
              รูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น  เนื่องจากรูปแบบหลักสูตรเปรียบเสมือนพิมพ์เขียว (Blue Print) ที่ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร นักวิชาการจึงมีความสำคัญเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการวิจัยครั้งนี้ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญมีดังนี้
              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น