วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

รูปแบบการบริหารรูปแบบการปฏิบัติการ


การบริหารโรงเรียนคุณภาพโดยใช้ Ban Hunnoi 3P Model  นั้นเป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งสู่ การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอย่างสมดุลรอบด้าน เพื่อให้นักเรียนที่เป็นผลผลิต เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข เป็นรูปแบบการบริหารที่มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และเหมาะสมตามห้วงเวลานั้นๆ จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียน ทำให้ได้นวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนบ้านหันน้อย ทำให้การดำเนินการบริหารจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย มีรายละเอียดของการพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนคุณภาพ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (INPUTS) ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่
B : Brainstorming หมายถึง การระดมความคิด  การมองการณ์ไกล การมีวิสัยทัศน์ ร่วมกันวางแผนพัฒนาให้มีความพอประมาณอย่างมีเหตุมีผล แสดงความคิดเห็น ร่วมกันปรึกษาหา
N : Need Ascessment  หมายถึง  การประเมินความต้องการของสถานศึกษาต่อการจัดการศึกษา ว่านักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่มีส่วนได้เสียมีความคาดหวังและต้องการอย่างไรต่อการจัดการศึกษา
N : Nice Plan หมายถึง การร่วมกันวางแผนในการดำเนินงาน แนวทางปฏิบัติอย่างรอบคอบ รัดกุม เตรียมความพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีแก่องค์การ
H : Hument resource หมายถึง  การจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยเป็นการใช้กลยุทธ์วางแผนการทำงานให้มีความสัมพันธ์กับทุกๆฝ่ายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด  โดยต้องบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงานต่อการทำงานเป็นหมู่คณะและการทำงานคนเดียว และต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา การบริหารและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ครูมืออาชีพ ส่งเสริมความก้าวหน้า สร้างขวัญกำลังใจ
U : Unit Management หมายถึง  เป็นการบริหารงานโดยใช้โรงเรียน เป็นฐาน (School Base Management) เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกๆ ด้าน
ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการ (PROCESSES) ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่
1. การมีส่วนร่วม  (P1 : Participation ) เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาร่วมกับโรงเรียน  เป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของทุกฝ่าย  นับตั้งแต่การแสดงความคิดเห็น  การวางแผน  การดำเนินการและการแก้ไขปัญหา  ตลอดจนการควบคุม  กำกับ  ติดตามและประเมินผล  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ซึ่งสามารถทำได้ทั้งทางตรง  คือ  ร่วมเป็นคณะทำงานและทางอ้อมร่วมวางแนวทางนโยบาย  การบริหารแบบมีส่วนร่วมดังกล่าวได้นำทฤษฎีต่างๆ  มาใช้  ได้แก่  ทฤษฎีการเกลี้ยกล่อมมวลชน  ทฤษฎีแรงจูงใจ  ทฤษฎีความคาดหวัง  เป็นต้น
2. การจัดการกระบวนการ  (P2 : process management)  การบริหารจัดการในสถานศึกษาทั้ง  4  ด้าน  ใช้กรอบการบริหารของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล  โดยนําหลักการว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี  ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า  “ธรรมาภิบาล” ไดแก  หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม    หลักความโปร่งใส  หลักการมีสวนรวม  หลักความรับผิดชอบ  และหลักความคุ้มค่ามาบูรณาการในการบริหารและจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งใหกับโรงเรียนในฐานะที่เปนนิติบุคคลดวย โดยนำหลักธรรมาภิบาลดังกล่าวมาบูรณราการเขากับการดําเนินงานดานตาง ๆ ของสถานศึกษา  ซึ่งไดแก การดําเนินงานดานวิชาการ  งบประมาณ  บริหารงานบุคคล  และบริหารทั่วไป  และเปาหมายในการจัดการศึกษา คือทําใหผูเรียนเปนคนดี  เกง  และมีความสุข
3. การประเมินจากชุมชน  (P3 : Public Assessment )  การควบคุมกำกับและประเมินผลแบบมีส่วนร่วม  จำเป็นต้องมีการวัดความก้าวหน้าและผลที่เกิดขึ้นจากการร่วมกันวางแผนพัฒนาโรงเรียนเพื่อ  สร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษา  สิ่งนี้จะเป็นบทเรียนที่มีคุณค่าและปรับปรุงให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้  สร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชน  เพื่อเป็นการสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการโรงเรียน  ชุมชนเห็นภาพการบริหารงานชัดเจนมากขึ้น เป็นสภาพความเป็นจริงในระดับท้องถิ่น  เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน ชื่นชมกับผลสำเร็จ  จากการเข้ามาเกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมและจะกลายเป็นการเสริมสร้างพลังประชาชน  เกิดกระบวนการช่วยเหลือพัฒนาและเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ขั้นตอนที่ 3 ผลผลิต/ผลลัพธ์ (OUTPUTS/OUTCOMES) ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่
O : Organization and Structure หมายถึง โครงสร้างการบริหารสถานศึกษาที่ชัดเจน มีระบบการติดต่อสื่อสารและอำนาจการบังคับบัญชาที่เชื่อมต่อคนและกลุ่มคนเข้าด้วยกัน เพื่อทำงานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา
I : Innovation หมายถึง ผลจากการร่วมกันคิดร่วมกันทำส่งผลให้เกิดวิธีคิดใหม่ และการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดการดำเนินงาน สิ่งที่ค้นพบถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ ประหยัด คุ้มค่า และภาคภูมิใจในผลงาน
N : Network หมายถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในทีมงาน และในชุมชน มีความเป็นกัลยาณมิตร เกิดความรักสามัคคี สมานฉันท์ เป็นเครือข่ายและพันธมิตรทางความรู้ และความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง
A:Achievement หมายถึง การขยายผลและต่อยอดองค์ความรู้นำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จที่วางไว้

ขั้นตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะ/ปรับปรุง (Feedback)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของบ้านหันน้อยโมเดลที่จะรับรู้ถึงปัญหาทั้งหมดจากข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่าง ๆ และคำติชม ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่จะสะท้อนกลับให้เห็นทั้งจุดด้อยหรือจุดอ่อน และจุดเด่นของแผนงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การประสานงาน และกระบวนการดำเนินงาน โดยได้ใช้หลักการวิจัยมาบูรณาการในการศึกษาหาแนวทางแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อไป
เอกลักษณ์/จุดเด่นของนวัตกรรม
เป็นนวัตกรรมสังเคราะห์ขึ้นจากแนวคิด ทฤษฎีการบริหารที่ประสบผลสำเร็จทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นการยืนยันความน่าเชื่อถือของนวัตกรรมการบริหารที่สร้างขึ้น และชื่อของนวัตกรรมมีความสอดคล้องกับชื่อของผู้บริหารโรงเรียนซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการทางานและการใช้นวัตกรรมการบริหาร ให้ประสบผลสำเร็จ จึงถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของนวัตกรรมชิ้นนี้

นวัตกรรมมีผลดีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างไรบ้าง
1) นักเรียนเป็นคนดี มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา 8 ประการ มีจิตสานึกสุจริต 5 ประการตามคุณลักษณะนักเรียนมีค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ
2) นักเรียนมีผลงานด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ กีฬา นันทนาการ
3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกชั้นเรียน ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ได้แก่กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
4) โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสาหรับนักเรียนและประชาชน สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ อาชีพ วิถีชีวิตความเป็นไทย การพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5) นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ที่เป็นสากล มีความพร้อมในการเป็นประชาคมอาเซียน มีการดำเนินงานตามกิจกรรมโรงเรียนอาเซียนสอนภาษาเวียดนาม ภาษาอังกฤษ ภาษาลาว
6) ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นมืออาชีพ มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม ใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพงาน PDCA มีการกระตุ้นการทางาน นิเทศ กากับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน ครูทุกคนผ่านการอบรมและทดสอบ UTQ ตามโครงการพัฒนาครู ทั้งระบบ และผ่านการอบรมพัฒนาเพื่อพัฒนาตนเองมากกว่าคนละ 30 ชั่วโมงต่อปี
7) โรงเรียนได้รับการพัฒนาให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน มีบรรยากาศที่สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัยและเป็นโรงเรียนปลอดยาเสพติด พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ และลานกีฬาของชุมชน
8) โรงเรียนสร้างภาคีเครือข่ายร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่หลากหลายจากทุกภาคส่วน
9) โรงเรียนมีการพัฒนาระบบบริหาร ระบบประกันคุณภาพภายใน สร้างและพัฒนานวัตกรรม การบริหารจัดการสู่การสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้ Ban Hunnoi 3P Model  มีผลงานเป็นที่พึงพอใจของชุมชน
10) โรงเรียนมีผลงานเชิงประจักษ์ ดังนี้
ที่ ชื่อรางวัลที่ได้รับ ปีที่ได้รับ ระดับ
1 พานพุ่มสักการะ 2554 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2 เข้าร่วมนำเสนอกิจกรรมการยกระดับผลสสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนการทดสอบขั้นพื้นฐาน O-NET ภาษาอังกฤษ อันดับที่ 1 2555 สพป.ขอนแก่น เขต3
3 แกะสลักผักและผลไม้ 2556 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4 พัฒนาการผลสอบโอเน็ต คะแนนสูงอันดับที่ 1 2557 สพป.ขอนแก่น เขต3
5 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2556 “สถานศึกษาพอเพียง 2556” 2556 ประเทศ
6 โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมาร โรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 2556-2559 ประเทศ
6 ผลการสอบโอเน็ตคะแนนสูงกว่าระดับประเทศกลุ่มสารคณิตศาสตร์ 2558 ประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น