วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน(Self-Test) และกิจกรรม(Activity)บทที่ 6 สัปดาห์ที่ 7


ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)
1.       การพัฒนาหลักสูตร มีหลักการและขั้นตอนสำคัญ
ตอบ หลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
1.มีการวางแผนและเตรียมการในการนำหลักสูตรไปใช้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจหลักสูตรที่จะนำไปใช้ให้มีความเข้าใจตรงกันเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทำนองเดียวกันและสอดคล้องต่อเนื่องกัน
2.มีคณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่จะต้องทำหน้าที่ประสานงานกันเป็นอย่างดี ในแต่ละขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้ 
3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นไปตามขั้นตอนที่วางแผนและเตรียมการไว้การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารหลักสูตรต่าง ตลอดจนสถานที่ต่างๆ ที่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการจัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนได้เมื่อได้รับการร้องขอ
4.ครูเป็นบุคลากรที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ ดังนั้นครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง ตั้งแต่การอบรมความรู้ ความเข้าใจทักษะและเจตคติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอย่างเข้มข้น 
5.การนำหลักสูตรไปใช้ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้ชำนาญการพิเศษ เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครูโดยการทำหน้าที่นิเทศ ติดตามผลการนำหลักสูตรไปใช้ และควรปฏิบัติงานร่วมกับครูอย่างใกล้ชิด
6.หน่วยงานและบุคลากรในฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่และเต็มความ สามารถ
7.การนำหลักสูตรไปใช้สำหรับผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน จะต้องมีติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อจะได้นำข้อมูลต่างๆ มาประเมินวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทั้งในแง่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และการวางแนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้ ให้มีประสิทธิภาพ ดียิ่งขึ้น
 ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่จะนำมาใช้ดำเนินการการนำแนวคิดและรูปแบบจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27 วรรคสองที่กำหนดให้กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของสาระของหนักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่กำหนดขึ้น เป็นการพัฒนาหลักสูตรครบวงจร ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ            
1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของชุมชน
                โรงเรียนมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ปลูกฝังเยาวชนในชุมชนให้เป็นพลเมืองที่ดีเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไป จึงต้องทราบข้อมูลชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนนั้นๆ ข้อมูลของชุมชนที่สำคัญมีดังนี้
            1.ข้อมูลทั่วไปของชุมชน เช่นแผนที่ตั้ง ประวัติความเป็นมา จำนวนประชากร เพศ อายุ ศาสนาฯลฯ
            2.ข้อมูลด้านการศึกษา จำนวนผู้จบการศึกษาในระดับต่างๆ จำนวนนักเรียนในระดับต่างๆ ฯลฯ
            3.ข้อมูลศิลปวัฒนธรรม เช่นภาษาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ
            4.ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่นรายได้ อาชีพ
            5.ภูมิปัญญาท้องถิ่น
            6.ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน เช่นยาเสพย์ติด มิจฉาชีพ โจร เป็นต้น
    วิธีการศึกษาชุมชน สามารถดำเนินการได้ดังนี้
            -ศึกษาแบบทุติยภูมิ (เอกสาร,งานวิจัย,สื่อสิ่งพิมพ์)
            -ศึกษาแบบปฐมภูมิ (สำรวจ,ลงพื้นที่,สอบถาม,สังเกต)
1.2 การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
                บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ และสื่อต่างๆ ห้องต่างๆ ปัญหาที่เกิดจากการใช้หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสม
1.3 การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
1. หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ให้พิจารณาจาก
                    1.1 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                    1.2 จุดประสงค์ของรายวิชา (ความมุ่งหวังที่ต้องการ)
                    1.3 เนื้อหาสาระ (โครงสร้างหลักสูตร)
                    1.4 กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้
2. หลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้พิจารณาจาก
                    2.1 มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
                    2.2 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น
                        -   8 กลุ่มสาระ
                        -    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                    2.3 การจัดการเรียนรู้
                    2.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
               3. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
                ปรับมาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
                    3.1 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น
-  8 กลุ่มสาระ (เท่าเดิม)                       - วิสัยทัศน์                                 - พันธกิจ
-  คุณลักษณะอันพึงประสงค์                  -  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน        - กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  -กิจกรรมสาธารณประโยชน์
                    3.2 การจัดการเรียนรู้
                    3.3 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                            ซึ่งสถานศึกษาควรนำข้อมูลทั้งสามอย่างนี้มาศึกษาและวิเคราะห์ ได้แก่ สภาพและความต้องการของชุมชน, ศักยภาพของโรงเรียน และหลักสูตรแกนกลาง
ขั้นที่ 2 การร่างหลักสูตร
                เป็นการกำหนดแผนการจัดประสบการณ์หรือการกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติตามเป้าหมายกำหนดไว้
2.1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
                จุดประสงค์ทั่วไป คือเป้าหมายหรือสิ่งมุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกระชับ และต้องสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
2.2 การกำหนดเนื้อหาสาระ
                ควรกำหนดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร
2.3 การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและสื่อต่างๆ
                ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน เนื้อหา จุดประสงค์ และหลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการสอน หรือกระทั่งสื่อต่างๆ

2.4 การกำหนดวิธีและประเมินผลผู้เรียน
                ต้องรู้ถึงคุณภาพของหลักสูตรนั้นๆ จึงต้องมีการประเมินผลผู้เรียน เพื่อให้ทราบผมสัมฤทธิ์ของแผนการพัฒนาหลักสูตรอันจำเป็นต่อการพัฒนาในครั้งต่อๆไป
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร
                เมื่อร่างหลักสูตรเสร็จ ต้องมีการตรวจสอบก่อนนำไปใช้ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆ ได้แก่
                        -จุดประสงค์
                        -เนื้อหาสาระ
                        -การจัดการเรียนการสอน
                        -กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้
                        -วิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
               ทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยปรึกษาและรับฟังข้อเสนอแนะจาก
         คณะทำงานร่างหลักสูตร
          ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
          ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้
                คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ต้องกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละคาบ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ประสานงาน เพื่อให้การสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
นอกจากนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 บัญญัติไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” และการเรียนรู้ หมายถึง การปรับเปลี่ยนไปในทางดีขึ้น การสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ (ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ) มีดังนี้
1.การเรียนรู้โดยตนเอง คือการสร้างประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม วิทยาการ และโอกาส ให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจ เกิดการคิด วิเคราะห์ ฝึกทักษะ ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือการเรียนรู้เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น ยังต้องเรียนรู้ตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมอันดีงาม และยึดมั่นในคุณธรรม
3.  การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ คือ การเรียนรู้ในทักษะชีวิตที่สำคัญ ในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เช่นการสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น รวมถึง ความรู้ด้านสุขศึกษา เช่น เพศศึกษา ยาเสพติด การแก้ไขปัญหาภายในครอบครัวอีกด้วย ส่วนการเรียนรู้การประกอบอาชีพ ก็คือการเข้าใจในศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวในการประกอบอาชีพนั่นเอง
4. การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด ในการฝึกประสบการณ์และปฏิบัติ เพื่อผจญกับปัญหาจริง และสามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
5. การเรียนโดยผสมผสานความรู้ คือการเรียนความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาจิตใจผู้เรียน
6.  การฝึกการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นประชาธิปไตย คือการเรียนรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น, ความเสมอภาค, หน้าที่, และศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
7. การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม  เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และและมีความรัก ความหวงแหน ต่อคุณค่าของภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมไทย
8.  การวิจัยเพื่อพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้ คือการรวบรวมข้อมูล เพื่อการแก้ไข และเป็นเครื่องมือในการวิจัย ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างแรงจูงใจ รวมถึงการประเมินคุณภาพ
9.  การเรียนรู้ด้วยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน คือการที่ครอบครัว, ชุมชน, และสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
10.การประเมินผู้เรียน คือ กระบวนการพิจารณาผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ โดยใช้เครื่องมือ เช่น การประเมินผลตามจริง แฟ้มผลงาน การสังเกต การสัมภาษณ์ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น


กิจกรรม(Activity)
2.       ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร : แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ”
ตอบ SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาลแห่งการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานที่สำคัญ 3 ด้าน คือ 1) พื้นฐานด้านปรัชญา 2) พื้นฐานด้านจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานด้านสังคม ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
เมื่อพิจารณาพื้นฐานด้านปรัชญา แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้ (Knowledge) กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน (Learner) กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น สังคม (Social) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
       กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
       สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร หลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
       การวางแผนหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการวางแผนหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการวางแผนหลักสูตรโดยนำสาระสำคัญมาจาก 21st Century Skills: The Challenges Ahead; A World Class Education ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียน วิสัยทัศน์ (Vision) ของหลักสูตร
       สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) คือการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาทำกรอบการปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรจึงเน้นการออกแบบเนื้อหา (Content) ประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

การออกแบบหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการออกแบบหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการออกแบบหลักสูตร โดยนำสาระสำคัญมาจากโมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ (Objective Model) หรือโมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา รูปแบบของการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา เน้าผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ หลักการออกแบบหลักสูตร 7 ประการของสก็อตแลนด์ แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนของมหาวิทยาลัยกิฟฟิธ การออกแบบหลักสูตรรายวิชาตามแนวคิดของเวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิดวัตถุประสงค์เป็นฐาน เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียนพันธกิจ (Mission) ของหลักสูตร
       สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดหลักสูตร (Curriculum Organization) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner), ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) ทั้งยังสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ มีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
การจัดหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนา รวบรวมข้อมูลความรู้และทำความเข้าใจให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่ โดยนำความรู้ตามแนวคิดของออร์นสไตน์และฮันกิน ไปออกแบบเป็นหลักสูตร
       สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินหลักสูตร และผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
การประเมินหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรให้กระจ่างแจ้ง
2. นำความรู้ที่รวบรวมได้ มาประมวลเป็นข้อมูลใหม่ โดยนำเสนอในรูปแบบสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาศึกษาแนวคิดการประเมินหลักสูตร แล้วเลือกใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรตามความสนใจเมื่อผู้พัฒนาต้องการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้พัฒนาต้องใช้เครื่องมือวัดในการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรม การประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน แล้วกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ The SOLO Taxonomy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น