สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
โดยที่ชุมชนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและความสำเร็จของสถานศึกษา
ขณะเดียวกันโรงเรียนก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชน ดังนั้น นอกจากการบริหารงานสถานศึกษาในด้านวิชาการและการบริหารจัดการแล้ว
ผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีอีกหนึ่งบทบาทสำคัญในการสร้างกลไกการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน
พัฒนาความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลกันกับชุมชน เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
และเพื่อได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากชุมชนในกิจกรรมสร้างสรรค์พัฒนาต่างๆ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งโรงเรียนและชุมชนอย่างยั่งยืน
หลัก 3S’s ในการสร้างความร่วมมือและการสนับสนุนจากชุมชน
S –Shared Vision คือการสร้างให้ชุมชนมีวิสัยทัศน์ร่วมกันกับสถานศึกษา ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของนักเรียน ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี สามารถทำคุณประโยชน์ให้กับชุมชน และประเทศชาติ โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา ครู และสมาชิกชุมชนเป็นต้นแบบที่ดี ร่วมมือให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในทุกๆ ด้าน
S- Synergy คือการรวมพลังประสานความร่วมมือกับชุมชนให้ทำงานร่วมกับสถานศึกษา โดย เอาจุดแข็งและความพร้อมของบุคคลและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างสรรค์จนเกิดเป็นประโยชน์สูงสุดโดยมุ่งผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
S-School Based Activities การสร้างสถานศึกษาให้เป็นแหล่งความรู้
ศูนย์กลางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชุมชน โดยการดึงผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพสถานศึกษารวมไปถึงการหรือการจัดฝึกสอนฝึกอบรมตามที่ชุมชนต้องการ
หรือ เปิดโอกาสให้สมาชิกชุมชนที่มีความรู้ ความสามารถมาเป็น "ผู้ถ่ายทอดภูมิความรู้ ” เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูชาวบ้าน
สร้างเครือข่ายการเรียนรู้แหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน
โดยการให้ชุมชนใช้ อาคาร สถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
หลักการสร้าง
Trust เพื่อพัฒนาสู่ความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
ความสัมพันธ์ที่ดีมีพื้นฐานมาจาก ความเชื่อมั่นและไว้วางใจ (Trust) โดยการ เข้าใจ เข้าถึง เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
และชื่นชมยกย่องให้เกียรติคนในชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น