วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร

การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการในการวัดและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์พิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตรว่า หลักสูตรนั้นๆ มีประสิทธิภาพแค่ไหน เมื่อนำไปใช้แล้ว บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดหรือไม่เพียงใด มีอะไรต้องแก้ไข  เพื่อนำผลมาใช้ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่ดีกว่า
จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร (สุนีย์  ภู่พันธ์ . 2546. หน้า 250-251) 
1. เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรนั้น โดยดูว่า หลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนองวัตถุประสงค์ ที่หลักสูตรนั้นต้องการหรือไม่  สนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมอย่างไร
2. เพื่ออธิบายและพิจารณาว่าลักษณะของส่วนประกอบต่างๆ ของหลักสูตรในแง่ต่างๆ   เช่น  หลักการ  จุดมุ่งหมาย  เนื้อหาสาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลว่าสอดคล้องต้องกันหรือไม่ หรือสนองความต้องการหรือไม่
3. เพื่อตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้  มีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง  การประเมินผลในลักษณะนี้ มักจะดำเนินไปในช่วงที่ขณะใช้หลักสูตร
4. เพื่อตัดสินว่า การบริหารงานด้านวิชาการและบริหารงานด้านหลักสูตร เป็นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพื่อหาทางแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ
5. เพื่อติดตามผลผลิตจากหลักสูตร คือผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากการผ่านกระบวนการทางการศึกษามาแล้วตามหลักสูตรว่าเป็นไปตามความมุ่งหวังหรือไม่
6. เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ในหลักสูตร
7. เพื่อช่วยในการตัดสินว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปหรือควรปรับปรุงพัฒนาหรือเพื่อยกเลิกการใช้หลักสูตรนั้นหมด การประเมินผลในลักษณะนี้ จะดำเนินการหลังจากที่ใช้หลักสูตรไปแล้วระยะหนึ่ง แล้วจึงประเมินเพื่อสรุปผลตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ดี บรรลุตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด  สนองความต้องการของสังคมเพียงใด เหมาะสมกับการนำไปใช้ต่อไปหรือไม่

ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
การประเมินผลหลักสูตร เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เราทราบถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร  การประเมินผลมีประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรต้องอาศัยผลจากการประเมินผลเป็นสำคัญ ประโยชน์ของการประเมินผลหลักสูตรมีดังนี้
1. ทำให้ทราบว่าหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้น มีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงให้ถูกจุด ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
2. สร้างความน่าเชื่อถือ  ความมั่นใจ  และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดในหมู่ประชาชน
3. ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ  ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุน ช่วยเหลือหรือบริการทางใดบ้าง
4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
5. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเรียน
การสอนนักเรียนได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
6. ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
7. ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ  เพราะมีเครื่องมือและหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
8. ช่วยชี้ให้เห็นคุณค่าของหลักสูตร
9. ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้ ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและขอบเขตในการดำเนินการศึกษาของโรงเรียน

ขั้นตอนการประเมินหลักสูตร
สุนีย์  ภู่พันธ์.  (2546)  ได้สรุปขั้นตอนการประเมินหลักสูตรไว้ ดังนี้
1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมิน  การกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไรในส่วนใด ด้วยวัตถุประสงค์อย่างไร  เช่น ต้องการประเมินเอกสารหลักสูตรเพื่อดูว่าเอกสารหลักสูตรถูกต้อง สมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน   หรือจะประเมินการนำหลักสูตรไปใช้ในเรื่องอะไร แค่ไหน  การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินที่ชัดเจนทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้องและทำให้การประเมินหลักสูตรดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลถูกต้องเป็นที่เชื่อถือได้
2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน
3. ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เครื่องมือที่ใช้มีหลายอย่างซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ เชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง
4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้
5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล  ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
6. ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน
7. ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตร
ตัวอย่างเครื่องมือแนวทางการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย


ประเด็น
รายการ ระดับการประเมิน
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
วิสัยทัศน์ 1. วิสัยทัศน์ที่กำหนดได้จากข้อมูลสารสนเทศของ
    โรงเรียนด้าน  สภาพปัญหา ชุมชนและภูมิปัญญา
    ท้องถิ่น  ศักยภาพของบุคลากร  นักเรียน  ครุภัณฑ์
2. วิสัยทัศน์สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน
3. วิสัยทัศน์ที่กำหนดได้จากการสำรวจความคิดเห็น
    ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. วิสัยทัศน์มีเป้าหมายที่ชัดเจนรองรับ
5. วิสัยทัศน์มีจุดเน้นของโรงเรียน
6. วิสัยทัศน์ของโรงเรียนมีระยะเวลาที่แน่นอน   
ภารกิจ 1. แสดงถึงงานที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน
2. สะท้อนถึงวิธีดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ ตาม
    วิสัยทัศน์ที่วางไว้
3. การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
4. ตรงกับบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา
เป้าหมาย 1. เป้าหมายมีความชัดเจน
2. สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
3. สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
     พุทธศักราช 2546
4. มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ กระบวนการและ
    คุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างชัดเจน
5. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการประเมินไว้ชัดเจน
6. มีการกำหนดวิธีการประเมินที่ชัดเจน
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
ปฐมวัย 1. สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
   พุทธศักราช 2546
2. สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของ
    สถานศึกษา
3. มีหน่วยการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ตลอดปีการศึกษา

ประเด็น
รายการ ระดับการประเมิน
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
การจัดการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ 1. สถานศึกษาได้มีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบ
    บูรณาการในการพัฒนาผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน
 2. สถานศึกษาได้ส่งเสริมการใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ในการ
    จัดการเรียนการสอน
3. สถานศึกษาได้ส่งเสริมผู้สอนให้จัดทำสื่อการเรียน
    การสอนที่สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียน
4. สถานศึกษาได้ส่งเสริมให้มีการใช้ห้องสมุดเป็น
    แหล่งเรียนรู้
5. การจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษามีความยืดหยุ่น
    สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียน
6. สถานศึกษาได้จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้ง
    ในและนอกห้องเรียน
สาระการเรียนรู้ 4สาระ
1. สาระการเรียนรู้แต่ละสาระประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้
    และเรื่องราวที่เด็กสนใจและเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก   
2. สาระการเรียนรู้แต่ละเรื่องครอบคลุมจุดประสงค์
    การเรียนรู้และมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช
    2546
3. มีสาระการเรียนรู้ ครบทั้ง 4 สาระและมีหน่วยการเรียนรู้
    ครบ 40 สัปดาห์
4. การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์มี
    การสอดแทรกสภาพความเป็นท้องถิ่น/เรื่องใกล้ตัวให้
    ผู้เรียนได้เรียนรู้
5. การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์มี
    ความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน
6. การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์
    ส่งเสริมด้านคุณธรรม  จริยธรรมของผู้เรียน
7. สาระการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์
    ส่งเสริมผู้เรียนด้านการมีจิตสาธารณะ
 


ประเด็น
รายการ ระดับการประเมิน
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
การวัดผลและประเมินผล 1. รูปแบบ วิธีการและเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลใน
    ระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษาสอดคล้องกับแนว
    การวัดผลและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษา
    ปฐมวัย
2. รูปแบบ วิธีการและเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลใน
    ระบบโรงเรียนเป็นแนวทางเดียวกัน
3. วิธีการประเมินผลของสถานศึกษาได้เน้นการประเมินผล
   ตามสภาพจริง
4. สถานศึกษามีวิธีการวัดผลและประเมินผลด้วยวิธีการ
    ที่หลากหลายวิธี
5. รูปแบบ วิธีการวัดผลและประเมินผลของโรงเรียนมี
    ความชัดเจน ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้
รวม
คะแนนเฉลี่ย

สรุปผล

(      )   มากที่สุด
(      )    มาก
(      )    ปานกลาง
(      )    น้อย
(      )   น้อยที่สุด


ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ..........................................................ผู้ประเมิน



ตัวอย่างเครื่องมือแนวทางการประเมินเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา


ประเด็น
รายการ ระดับการประเมิน
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
วิสัยทัศน์ 1. วิสัยทัศน์ที่กำหนดได้จากข้อมูลสารสนเทศของ
    โรงเรียนด้าน  สภาพปัญหา ชุมชนและภูมิปัญญา
    ท้องถิ่น  ศักยภาพของบุคลากร  นักเรียน  ครุภัณฑ์
2. วิสัยทัศน์สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน
3. วิสัยทัศน์ที่กำหนดได้จากการสำรวจความคิดเห็น
    ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. วิสัยทัศน์มีเป้าหมายที่ชัดเจนรองรับ
5. วิสัยทัศน์มีจุดเน้นของโรงเรียน
6. วิสัยทัศน์ของโรงเรียนมีระยะเวลาที่แน่นอน   
ภารกิจ 1. แสดงถึงงานที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน
2. สะท้อนถึงวิธีดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ ตาม
    วิสัยทัศน์ที่วางไว้
3. การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
4. ตรงกับบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา
เป้าหมาย 1. เป้าหมายมีความชัดเจน
2. สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
3. สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรการศึกษา
    ขั้นพื้นฐาน
4. มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ กระบวนการและ
    คุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างชัดเจน
5. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการประเมินไว้ชัดเจน
6. มีการกำหนดวิธีการประเมินที่ชัดเจน
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 1. สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษา
    ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
2. สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของ
    สถานศึกษา
3. มีการกำหนดสัดส่วนเวลาระหว่างสาระการเรียนรู้
   กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม

ประเด็น
รายการ ระดับการประเมิน
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
4. มีการกำหนดสัดส่วนเวลาระหว่างกลุ่มสาระ
    การเรียนรู้ต่างๆ อย่างเหมาะสม
5. มีหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ
    การเรียนรู้
6. มีหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการกับวิถีชีวิตของผู้เรียน
การจัดการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ 1. สถานศึกษาได้มีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้
    บูรณาการระหว่าง  8 กลุ่มสาระ
2. สถานศึกษาได้วางแผนกำหนดให้ผู้เรียนได้ทำ
    โครงงาน
3. สถานศึกษาได้มีการจัดโครงงานที่มีการบูรณาการ
     ระหว่างกลุ่มสาระ
4. สถานศึกษาได้กำหนดแนวทางการให้การบ้านในแต่
    ละชั้นปี
5. สถานศึกษาได้ส่งเสริมการใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ในการ
    จัดการเรียนการสอน
6. สถานศึกษาได้ส่งเสริมผู้สอนให้จัดทำสื่อการเรียน
    การสอนที่สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียน
7. สถานศึกษาได้ส่งเสริมให้มีการใช้ห้องสมุดเป็น
    แหล่งเรียนรู้
8. การจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษามีความยืดหยุ่น
    สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียน
9. สถานศึกษาได้ส่งเสริมให้มีการใช้ห้องคอมพิวเตอร์/
    โรงฝึกงาน/ห้องปฏิบัติการ
10. สถานศึกษาได้จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
สาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
1. สาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระตอบสนองต่อสาระและ
    มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
2. สาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระครอบคลุมผลการเรียนรู้
    ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคและสาระการเรียนรู้รายปี
    หรือรายภาค

ประเด็น
รายการ ระดับการประเมิน
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
3. สาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระสอดคล้องและ
    ครอบคลุมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน
4. สาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระ มีความชัดเจน สะดวก
    ต่อการนำไปปฏิบัติ
5. สาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระมีการสอดแทรกสภาพ
    ความเป็นท้องถิ่น/เรื่องใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
6. สาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระมีความสอดคล้องกับวิถี
    ชีวิตของผู้เรียน
7. สาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระมีการบูรณาการสอนใน
    กลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน
8. สาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระมีการบูรณาการสอน
    ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้
9. สาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระส่งเสริมด้านคุณธรรม
    จริยธรรมของผู้เรียน
10. สาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระส่งเสริมผู้เรียนด้านการ
     มีจิตสาธารณะ

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของ
    การทำประโยชน์เพื่อสังคม
2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นเรียนเหมาะสม
    กับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียน
3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่ม
    สาระการเรียนรู้
4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตอบสนองต่อความต้องการ
    ความสนใจ ความถนัด ของผู้เรียน
5. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแต่ละครั้งมีการกำหนด
    จุดมุ่งหมายที่แน่นอน
6. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนส่งเสริมผู้เรียนด้าน
    คุณลักษณะที่พึงประสงค์


ประเด็น
รายการ ระดับการประเมิน
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
7. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนส่งเสริมการพัฒนา
    ศักยภาพผู้เรียนแต่ละคน
8. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนส่งเสริมทักษะการอยู่
    ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
9. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีการกำหนดระยะเวลาที่
    แน่นอน
10. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแต่ละครั้ง มีการกำหนด
     วิธีการวัดผลและประเมินผลที่ชัดเจน
การวัดผลและประเมินผล 1. รูปแบบ วิธีการและเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษาสอดคล้องกับแนวการวัดผลและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. รูปแบบ วิธีการและเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลในระบบโรงเรียนเป็นแนวทางเดียวกัน
3. รายละเอียดเกณฑ์การจบการผ่านช่วงชั้นและเกณฑ์การจบการศึกษาเหมาะสมกับผู้เรียน สภาพชุมชน/ท้องถิ่น
4. วิธีการประเมินผลของสถานศึกษาได้เน้นการประเมินผลตามสภาพจริง
5. สถานศึกษามีวิธีการวัดผลและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายวิธี
6. รูปแบบ วิธีการวัดผลและประเมินผลของโรงเรียนมีความชัดเจน ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้
รวม
คะแนนเฉลี่ย

สรุปผล

(      )   มากที่สุด
(      )    มาก
(      )    ปานกลาง
(      )    น้อย
(      )   น้อยที่สุด


ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ..........................................................ผู้ประเมิน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น