วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน(Self-Test) และกิจกรรม(Activity)บทที่ 9 สัปดาห์ที่ 11


1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การนำหลักสูตรไปใช้
ตอบ
การนำหลักสูตรไปใช้
              การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ  แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น หน่วยงานส่วนกลาง เกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริการหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร ผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริการหลักสูตร การจัดปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในสถานศึกษา ครูผู้สอน เกี่ยวข้องในด้านการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรใน   การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ขั้นต่อมาคือดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้ และการดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ นับแต่นิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผล การใช้หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคล ที่เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
        
          
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ :การพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ  “การจัดหลักสูตร การประเมินหลักสูตร”
ตอบ
           การประเมินผลหลักสูตร

            การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษา  เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพ  การประกันคุณภาพของการศึกษาหลายๆ ระดับ  ตั้งแต่ระดับห้องเรียน  ระดับโรงเรียน  ระดับเขตจนถึงระดับชาติ  ผู้ที่มีบทบาทในการประเมินทั้งในระดับผู้จัดทำนโยบายการศึกษา  ผู้กำกับดูแล  จนถึงระดับผู้ปฏิบัติ  จึงควรทำความเข้าใจกับประเด็นต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประเมินหลักสูตรให้ชัดเจน  เพื่อจะได้กำหนดวางแผนการประเมินหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมิน  และสามารถนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ได้จริง

ความหมายของการประเมินผลหลักสูตร
        การประเมินผล (Evoluation) เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ของโครงการเพื่อนำมาวิเคราะห์  สรุปผลให้ผู้บริหารหรือผู้วินิจฉัยสั่งการ การเลือกดำเนินงานให้เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้น  อาจกล่าวได้ว่าการประเมินผลเป็นการวางแผน  การติดสินใจ  การพัฒนาและความเหมาะสมของโครงการ (เสนีย์  พิทักษ์อรรณพ, 2524, หน้า 42)  หรือการประเมินผล  หมายถึงกระบวนการตัดสินคุณค่าหรือความน่าพึงพอใจในลักษณะพฤติกรรมหรือการดำเนินงานต่างๆ  (สงบ  ลักษณะ, 2524, หน้า 37)
            สำหรับการประเมินผลหลักสูตรนั้น  เป็นการประเมินผลที่ย่อยมาจากการประเมินผลการศึกษา  ประเมินผลที่ตัวหลักสูตร  แต่ความหมายของหลักสูตรนั้นกินความหมายที่กว้างมาก คือ โปรแกรมการศึกษาใดๆ ที่กำหนดเค้าโครงการเรียน ซึ่งประกอบไปด้วยวิชาการต่างๆ พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์  การเรียนการสอนของแต่ละรายวิชานั้นด้วย
            การประเมินผลหลักสูตรจะต้องประเมินทั้งหมด  หรือทุกส่วนที่กล่าวมา
            สำหรับความหมายของการประเมินผลหลักสูตร คือ
            สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) และคณะ กล่าวว่า การประเมินผลหลักสูตร  คือ กระบวนการในการหาข้อมูล เก็บข้อมูล เพื่อที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางเลือกที่ดีกว่าของเดิม  (ทัศนา  แขมมณี , 2520, หน้า 278)
            ครอนบาค (Cronbach) กล่าวว่า  การประเมินผลหลักสูตร หมายถึง การรวบรวมข้อมูล และการทำข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในเรื่องของโปรแกรมหลักสูตรการศึกษา (ทัศนา แขมมณี, 2520, หน้า 278)
            อรสา  ปราชญ์นคร (2523) กล่าวว่า  การประเมินหลักสูตร  คือ  การหาคำตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิผลตามที่กำหนดไว้ในความมุ่งหมายหรือไม่  และอะไรเป็นสาเหตุ  การประเมินผลหลักสูตรเป็นงานละเอียดต้องการผู้ที่มีความรู้ทั้งในเรื่องของหลักสูตรและการประเมินผล
            การประเมินผลหลักสูตร  เป็นการพิจารณาคุณค่าของหลักสูตร  โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูล  และใช้ข้อมูลจากการวัดในแง่ต่างๆ ของสิ่งที่ประเมิน  เพื่อนำมาพิจารณาร่วมกัน  และสรุปว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณค่าเป็นอย่างไร  มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด  หรือได้รับผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือมีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไป  และนำเสนอผู้บริหาร  ผู้มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการดำเนินต่อไป  หรือ การประเมินผลหลักสูตร  หมายถึง  กระบวนการในการศึกษาส่วนประกอบต่างๆ ของหลักสูตร  ได้แก่  หลักสูตร  จุดมุ่งหมาย  โครงสร้าง  จุดประสงค์การเรียนรู้  เนื้อหา  กิจกรรม  สื่อการเรียนการสอน  วิธีสอนและการวัดผลจะสัมพันธ์กันหรือไม่
            การประเมินผลหลักสูตรเป็นงานใหญ่และมีขอบเขตกว้างขวาง  ผู้ประเมินจำเป็นต้องวางโครงการไว้ล่วงหน้าว่ามีกระบวนการอย่างไร  มีวิธีการอย่างไร  ดังนั้นโครงการประเมินผลหลักสูตรจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ  และเมื่อนำไปใช้ประเมินผลแล้ว  ควรมีการประเมินผลโดยการประเมินผลของหลักสูตรนั้นๆ ด้วยว่า  มีความสมบูรณ์รอบคอบเพียงใด

ระบบการประเมินผลหลักสูตร
        ระบบการประเมินหลักสูตร  คือ ขั้นสุดท้ายของการพัฒนาหลักสูตร  การประเมินหลักสูตร คือ กระบวนการเปรียบเทียบระหว่างผลการใช้หลักสูตรที่วัดได้กับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรว่าการปฏิบัติจริงนั้น  ผลได้ใกล้เคียงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

จุดประสงค์ของการประเมินผลหลักสูตร
1.      เพื่อดูว่าหลักสูตร  เมื่อนำไปปฏิบัติจริงได้ผลเพียงใด  บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
2.      เพื่อหาทางปรับปรุงหลักสูตร  ถ้าพบสิ่งบกพร่อง
3.      เพื่อหาข้อดีข้อเสียในวิธีการจัดประสบการณ์การเรียน
4.      เพื่อช่วยการตัดสินใจของฝ่ายบริหารว่าควรจะใช้หลักสูตรต่อไปหรือไม่
การประเมินผลหลักสูตร  อาจแบ่งเป็นระบบการประเมินย่อยได้ ดังนี้  คือ การประเมิน
เอกสารหลักสูตร  การประเมินระบบหลักสูตร  การประเมินระบบการบริหารหลักสูตร            

การประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน  การประเมินการสอนของผู้สอนและการประเมินการติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษา (มาเรียม  นิลพันธุ์, 2543)
            1.  การประเมินเอกสารหลักสูตร คือ การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างหลักการ  โครงสร้าง  วัตถุประสงค์   เนื้อหาสาระ  การจัดประสบการณ์การเรียนและการประเมินผลว่ามี
มากน้อยเพียงใด  ภาษาที่ใช้สามารถสื่อสารได้ตรงกันหรือไม่  ข้อกำหนดใช้หลักสูตรมีความชัดเจนไม่เกิดปัญหาในการปฏิบัติใช่หรือไม่
            2.  การประเมินระบบหลักสูตร คือ การตรวจสอบดูว่า หลักสูตรได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเที่ยงตรงหรือไม่  หลักสูตรที่วางไว้เหมาะสมกับผู้เรียนหรือไม่  วิธีการสอนเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่  เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เหมาะสมหรือไม่  อุปกรณ์การสอนหรือเอกสารประกอบการสอนเหมาะสมหรือไม่
            3.  การประเมินระบบการบริหารหลักสูตร  คือ  การประเมินระบบการบริหารที่จะมีอิทธิพลและส่งผลต่อการใช้หลักสูตร  ปัจจัยการบริหารที่ควรพิจารณาประเมิน  คือ  โครงสร้างและระบบของสถาบัน  อาคารสถานที่  บรรยากาศทางสังคม  สถาบัน  การติดต่อสื่อสาร  ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถาบัน  เวลา  คุณสมบัติของผู้สอนและผู้เรียน  รวมทั้งงบประมาณที่ใช้
            4.  การประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน  คือ  การประเมินคุณภาพและปริมาณความรู้ ทักษะและเจตคติของผู้เรียนตามเกณฑ์  และมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
            5.  การประเมินการสอนของผู้สอน คือ  การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการสอนว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนการสอนหรือไม่  องค์ประกอบที่ควรศึกษา ได้แก่  แผนการสอน  จุดประสงค์  เนื้อหาวิชา  สื่อการเรียน  การประเมินผล  รวมทั้งบุคลิกภาพ  ความรู้ ความสามารถ  ความสัมพันธ์กับผู้เรียน  และการสร้างบรรยากาศในการเรียน
            6.  การประเมินการติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษา  การศึกษาสถานภาพของผู้สำเร็จการศึกษาในด้านต่างๆ เช่น  ความรู้  ความสามารถ  เจตคติต่อวิชาชีพ  ความสามารถปฏิบัติงานได้จริงตามสภาพงานที่ปรากฏในปัจจุบัน  ความสามารถในการแก้ปัญหา  และการปรับตัว  สิ่งที่ประสบความสำเร็จและความล้มเหลวในการประกอบอาชีพ  มีความสนใจที่จะศึกษาต่อและมีความคาดหวังที่จะแสวงหาความก้าวหน้าในวิชาชีพอย่างไร
            ในการประเมินหลักสูตร ถ้ามีการวางแผนการประเมินไว้ตั้งแต่แรกเริ่มร่างหลักสูตร       จะเป็นข้อบ่งชี้ให้ทราบถึงประสิทธิภาพของหลักสูตรที่จัดได้ว่า  มีส่วนใดดีที่ควรคงไว้ ส่วนใดไม่เหมาะสมและควรพิจารณาปรับปรุง  หรืออาจยกเลิกไป  ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ความเป็นมาและแนวคิดของการประเมินผลหลักสูตร
        เรื่องการประเมินผลหลักสูตรได้รับความสนใจในวงการศึกษามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 เป็น
ต้นมา  ราล์ฟ ไทเลอร์ (Ralph  Tyler) ได้เป็นผู้วางรากฐานให้นับตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1930 โดยไทเลอร์(Tyler ) ได้เป็นผู้ริเริ่มให้คำนิยามการศึกษาว่า  “การศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม”                   (อรสา   ปราชญ์นคร, 2523, หน้า 134 )  ดังนั้น การประเมินผลหลักสูตรจึงมุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงเป็นจุดสำคัญ  ซึ่งหมายความว่า  จะมีการวัดผลโดยเอาจุดมุ่งหมายเป็นที่ตั้ง  และหาดูว่าได้มีพฤติกรรมอะไรเปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้หรือไม่  ตามแนวคิดนี้ภาพพจน์ของการจัดหลักสูตรก็คือ  ผู้จัดทำหลักสูตรจะต้องมีการจัดวางจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นอย่างไร  จะจัดประสบการณ์การสอนที่สามารถจะให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามที่ต้องการ  บทบาทของการประเมินผลหลักสูตรที่จะช่วยชี้ให้เห็นจริงว่า  ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายจริงหรือไม่ อย่างไร
            ต่อมา  สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) และคณะได้ให้แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรว่า “การประเมินผลหลักสูตรคือ  กระบวนการในการหาข้อมูล เก็บข้อมูล เพื่อที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการติดสินหาทางเลือกอื่นที่ดีกว่าของเดิม”   (อรสา   ปราชญ์นคร, 2523, หน้า 134 )   และในปี ค.ศ.1963  ครอนบาค (Cronbach)  ได้เขียนคำนิยามของการประเมินผลหลักสูตรไว้ในวารสาร    Teacher College  Record  ว่า     “การประเมินผลหลักสูตรหมายถึง        การรวบรวมข้อมูล  และการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจในโปรแกรมหรือหลักสูตรการศึกษา” จะเห็นว่าแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) และ ครอนบาค (Cronbach) นี้ตรงกัน ในวงการศึกษานับว่าเป็นแนวความคิดใหม่ในการประเมินหลักสูตรการศึกษาต่างๆ

ระยะการประเมินผลหลักสูตร
        การประเมินผลหลักสูตร  โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น  3  ระยะ  คือ
            ระยะที่ 1 ประเมินผลหลักสูตรก่อนโครงการ  คือ การประเมินผลหลักสูตรก่อนที่จะนำไปใช้ (Project  Analysis) เป็นการประเมินผลหลักสูตร  เมื่อสร้างเสร็จแล้วผู้สร้างประเมินดูว่าหรือไม่เพียงใด มีข้อที่ควรแก้ไขปรับปรุงอะไรบ้าง อาจให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์หรือวิจัยดูก็ได้
            ระยะที่ 2 ประเมินผลหลักสูตรในขณะที่ดำเนินการ  ว่าหลักสูตรที่ทำขึ้นนั้นนำไปทดลองแล้วได้ผลเพียงใด เช่น หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 มีการทดลองใช้ตั้งแต่ปี 2519 และ 2520 เพื่อหาข้อบกพร่อง อุปสรรค  จะได้แก้ไขให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป
            ระยะที่ 3  ประเมินผลเมื่อจบโครงการ  หรือประเมินผลเมื่อประกาศใช้หลักสูตรแล้ว  เป็นการประเมินผลหลักสูตรที่ใช้อยู่เพื่อที่จะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป
            ในการประเมินผลหลักสูตรนั้นมีข้อควรระวังอยู่  2  ประการด้วยกันคือ
            1.  กฎข้อที่ 1    ถ้าผู้ถูกประเมินและผู้ประเมินมีปรัชญาเดียวกัน   หรือเป็นพวกเดียวกัน  ผลการประเมินจะออกมาว่า “ดี” เป็นส่วนใหญ่
            2.  กฎข้อที่ 2   ถ้าผู้ถูกประเมินและผู้ประเมินมีปรัชญาต่างกัน  หรือเป็นฝ่ายตรงกันข้าม ผลการประเมินจะออกมาว่า “ไม่ดี” เป็นส่วนใหญ่  (โกวิท  ประวาลพฤกษ์, 2523, หน้า 13)
            ดังนั้น  การประเมินผลหลักสูตรที่จะไม่ให้เกิดความลำเอียงดังกล่าว  จะทำได้โดยประเมินโดยยึดที่จุดมุ่งหมาย  เป้าหมาย  หรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเป็นประการสำคัญ
ขอบเขตของการประเมินผลหลักสูตร
            ในความเข้าใจของครูผู้สอนส่วนมากคิดว่าการสอบ  คือการประเมินผลหลักสูตร  ถ้าเด็กสอบได้ดีมักคิดว่าหลักสูตรดี  หรือในทางตรงกันข้าม  ถ้าเด็กสอบตกมากมักคิดว่าหลักสูตรไม่ดี ที่ถูกต้องแล้วการสอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประเมินผลหลักสูตรเท่านั้น แต่การประเมินผลเพื่อตัดสินสัมฤทธิผลของหลักสูตรนั้นกำหนดขอบเขตได้ดังนี้
            1.  ประเมินความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ (Goals and Objectives) เป็นการพิจารณาดูว่าเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคมนั้นหรือไม่เพียงใด  สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ได้หรือไม่  ไม่ยาก หรือไม่ง่ายจนเกินไป
            2.  ประเมินโครงการทั้งหมดของโรงเรียน (Program of Schooling)  เป็นการพิจารณาว่าโรงเรียนจัดโครงการเรียนการสอนใดบ้าง  สอดคล้องกับหลักการและจุดมุ่งหมายหรือไม่ การจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน  ตลอดจนการวัดและการประเมินผลการเรียนของนักเรียน  ตลอดจนการบริหารทางด้านหลักสูตร  ตารางสอน  ห้องสมุด  เป็นต้น
3.  ประเมินโครงการเฉพาะส่วน (Specific  Segment  of  the Education Program) เป็นการพิจารณาโครงการทำงานแต่ละโครงการว่าได้รับผลลัพธ์เป็นที่ยอมรับหรือคัดค้าน และในการที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายของการทำงานตามโครงการ
4.  ประเมินการเรียนการสอน (Instuction) เป็นการพิจารณาการเรียนการสอน  ตลอดจนการนำสื่อการสอนใหม่ๆ มาใช้  ผลสัมฤทธิ์และความสำเร็จในด้านการเรียน  การนำความรู้ออกไปประกอบอาชีพได้
5.  ประเมินโครงการการประเมินผล (Evaluation  Program)  เป็นการพิจารณาผลสัมฤทธิ์ของโครงการ  ผลการดำเนินตามโครงการ  ประสบการณ์ การตอบสนองจากชุมชนและสังคมของแรงต้านทานและผลกระทบที่มีต่อสังคม
6. ประเมินโครงการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รวมถึงการสอบด้วย  ผลการสอบของนักเรียนเป็นอย่างไร จะดีหรือเลวนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การสอนของครู ความบกพร่องทางร่างกายของผู้เรียน  กรณีทางบ้าน  ความยากง่ายของแบบเรียน เป็นต้น
7.  ประเมินโครงการของผู้เรียนที่จบออกไปว่าหางานทำได้หรือไม่ ทำแล้วเกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมมากน้อยเพียงใด  สังคมยอมรับในผลผลิตที่ออกไปจากสถาบันนั้นหรือไม่
ขั้นตอนของการประเมินผลหลักสูตร
            เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Planning Curriculum  for Modern  School  ว่า การประเมินผลหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ มาประกอบการประเมินผลหลักสูตร  ขั้นตอนการประเมินผลหลักสูตรมี  5  ประการ คือ
            1.  ประเมินผลจุดมุ่งหมายในระดับต่างๆ ได้แก่ จุดมุ่งหมายทั่วไปของหลักสูตร  จุดมุ่งหมายเฉพาะวิชา  จุดมุ่งหมายในการสอน  เพื่อดูว่าจุดมุ่งหมายเหล่านี้เหมาะสมสอดคล้องกับตัวผู้เรียนและสภาพสิ่งแวดล้อมหรือไม่เพียงใด  ภาษาที่ใช้ยุ่งยากแก่การสื่อสาร  และการกำหนดจุดมุ่งหมายไว้สูงเกินไปยากแก่การปฏิบัติหรือไม่
            2.  ประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมด  ทั้งนี้เป็นการประเมินผลโครงการต่างๆ ที่จะช่วยให้หลักสูตรบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เช่น  การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรใหม่  การดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียน  การจัดสรรงบประมาณ  การแนะแนว  ห้องสมุด  โรงฝึกงาน  การดำเนินงานของโครงการต่างๆ ได้กระทำไปมากน้อยแค่ไหน  และโครงการที่ได้กระทำไปมีประสิทธิภาพหรือไม่
            3.  ประเมินผลการเลือกเนื้อหาสาระของวิชา  การเลือกและการจัดประสบการณ์การเรียนและสื่อการเรียนว่าได้จัดและดำเนินไปเหมาะสมมากน้อยเพียงใด และการจัดประสบการณ์การเรียนได้สัดส่วนกับครบทุกด้านและมีความเหมาะสมหรือไม่
            4.  ประเมินผลการสอน  การประเมินผลขั้นนี้  ครูเป็นผู้ที่มีบทบาทมากในการนำหลักสูตรมาปรับใช้ในห้องเรียน  การประเมินผลระดับนี้  ถ้าเพื่อดูว่าการสอนของครูดำเนินไปโดยยึดถือหลักสูตรเป็นหลักหรือไม่  การสอนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปตามจุดหมายของหลักสูตรหรือไม่  เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนก็คือ  ความสำเร็จในการสอนของครูเพื่อดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
            5.  ประเมินผลโครงการของหลักสูตร  ถึงแม้ว่าการประเมินผลแต่ละโครงการได้วางแผนและขั้นตอนของการประเมินผลไว้อย่างดีแล้วก็ตาม  แต่การดำเนินงานอาจมีข้อผิดพลาดได้  ซึ่งจะเป็นผลทำให้การประเมินผลเพื่อสรุปผลของหลักสูตรผิดพลาดไปได้  ฉะนั้นจึงต้องมีการประเมินผลโครงการเพื่อตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง
หลักในการประเมินผลหลักสูตร
1.      ต้องปฏิบัติสืบเนื่องสม่ำเสมอตลอดเวลา
2.      ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า  จะประเมินอะไรให้แน่นอน
3.      การหาข้อมูล เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินผลหลักสูตร
4.      ควรพิจารณาข้อมูลที่จะนำมากำหนดเกณฑ์หรือกำหนดเครื่องมือในการประเมินผล
อย่างรอบคอบ
5.      การวิเคราะห์ผลการประเมิน ต้องทำอย่างระมัดระวัง  โดยให้มีความเที่ยงตรง
เพียงพอ เพื่อนำผลวิเคราะห์เสนอกรรมการพิจารณา
6.      ควรพิจารณาผลการประเมินผลหลักสูตรนี้  เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้
เหมาะสมต่อไป
แนวทางการประเมินผลมีอะไรบ้าง
แนวทางของการประเมินผล มีประเด็นที่น่าศึกษาอยู่   10  ประเด็นด้วยกัน และเราจะต้องใช้วิธีการประเมินต่างๆ กันไปแต่ละประเด็น  ประเด็นทั้ง  10  ที่ต้องศึกษา คือ
1.  จุดหมาย  หลักการ  ของหลักสูตร  คือดูว่าหลักการที่บัญญัติไว้เวลานำไปสู่ภาคปฏิบัติเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด  เช่น  หลักการเกี่ยวกับการถ่ายโอนผลการเรียน  หลักการ
ให้เด็กเลือกเรียนวิชาเลือกตามอัธยาศัย  หลักการจัดโครงการเรียนให้มีวิชาเลือกหลายวิชา         สิ่งเหล่านี้ต้องนำจุดหมายและหลักการมาเป็นแม่บท  และดูว่าโรงเรียนทำอะไรบ้าง  ทำได้ตามนี้หรือไม่
            2.  โครงสร้างของหลักสูตร  คือดูว่าโครงสร้างของหลักสูตรที่กำหนดไปนั้นเมื่อแตกออกไปเป็นโครงการเรียนในการปฏิบัตินั้นสอดคล้องกันดีหรือไม่  การจัดโครงการเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ต้องประเมินให้ถี่ถ้วนว่าโรงเรียนมีวิธีการอย่างไร  จัดด้วยเหตุผลอะไร  จัดได้สอดคล้องกับความคาดหวังของหลักสูตรหรือไม่  กุญแจที่สำคัญของการประเมินผลหลักสูตรอยู่ที่ว่า  โรงเรียนจัดอย่างไร  ด้วยเหตุผลอะไร  ทำไมจึงจัดได้  ทำไมจึงจัดไม่ได้  มีปัจจัยอะไรส่งผลให้เป็นเช่นนี้
            3.  สาระสำคัญ  และเนื้อหาตามหลักสูตรที่ถ่ายทอดรายละเอียดเป็นสื่อการเรียน  รายวิชาต่างๆ ที่กำหนดไปแล้วนั้นเหมาะกับวัยของเด็กเพียงไร  ครูมีพื้นฐานความรู้ที่จะสอนได้ตามนั้นหรือไม่  หลายวิชาหลักสูตรอาจเขียนไว้ค่อนข้างหรู  แต่หาคนสอนไม่ได้  มันก็หยุดนิ่งอยู่อย่างนั้น ซึ่งไม่ใช่ความผิดของใคร  แต่เป็นความไม่พร้อมหลายๆ อย่างด้วยกัน เช่น ระบบการผลิตครู เนื้อหาสาระของหลักสูตรที่กำหนดเป็นรายวิชาต่างๆ ผู้ประเมินผลจะต้องใช้เวลามาก และต้องการความสัดทัดเฉพาะบุคคล
            4.  วิธีสอนวิธีเรียน  เรื่องนี้แม้จะเป็นหน้าที่โดยตรงของระบบโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และกรมเจ้าสังกัด  แต่ก็สัมพันธ์กับหลักสูตรในแง่ที่ว่า  หลักสูตรใหม่แต่สอนวิธีเก่าก็ไม่มีความหมายอะไร  ตัวอย่างเช่น วิชาวิทยาศาสตร์  เป็นเรื่องที่คนเข้าถึงเหตุเข้าถึงผล  ไม่ให้เชื่ออะไรที่เลือนราง  การที่จะเข้าถึงสิ่งนั้นได้ต้องจับต้อง  ต้องพิสูจน์กันอย่างจริงจัง แต่ปรากฏว่าโรงเรียนหลายแห่งบอกว่ายากยังไม่พร้อม หรือสู้การสอนแบบท่องจำไม่ได้  ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วทัศนคติทางวิทยาศาสตร์จะไม่เกิดขึ้น
            5.  ระบบงานวิชาการของโรงเรียน ต้องดูว่าการวางโปรแกรมให้นักเรียนนั้นใครเป็นผู้วางรวมถึงการบันทึกวิชาการต่างๆ ลงไปในระเบียนของเด็ก  รายวิชาที่จัดนั้นผสมผสานกันดีไหม หรือไม่ประสานกันเลย  ระบบงานวิชาการเป็นหัวใจสำคัญที่จะส่งผลให้คณะครูที่สอนตามสายต่างๆ ทำงานประสานกันดี
            6.  ครูอาจารย์ที่สอนตามหลักสูตรใหม่ได้หรือไม่  วิชาดนตรียังขาดครูสอน  วิชาชีพก็เช่นเดียวกัน  จึงไม่สามารถเปิดสอนได้
            7.  สื่อการเรียน  หนังสือเรียน  คู่มือ  หนังสืออ่านประกอบ  หนังสืออ้างอิงมีหรือไม่  มีแล้วแต่ยังผิดพลาดหรือไม่  ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องสำรวจและพิจารณา
            8.  การวัดผลทั้งหมดรวมทั้งการจัดระบบวัดผล  ต้องพิจารณาในเรื่องวัดผลนั้นว่าโรงเรียนทำถูกหรือผิดประการใด  โดยเอาระเบียบเป็นตัวยืนยันว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่ เมื่อระเบียบไม่เหมาะสมควรเอามาแก้ไขเปลี่ยนแปลง
            9.  การจัดกิจกรรมในโรงเรียน  กิจกรรมเป็นส่วนสำคัญของระบบหลักสูตรเหมือนกัน ซึ่งไม่ได้กำหนดเป็นเนื้อหาวิชา แต่มีระเบียบกิจกรรม เช่น จะต้องเรียนลูกเสือ  โรงเรียนได้ทำกิจกรรมเหล่านี้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นหรือไม่  โรงเรียนจัดแนะแนวในลักษณะใด  สอดคล้องกับความจำเป็นหรือไม่
            10. แหล่งวิทยาการ  สถานประกอบการ  โรงเรียนเข้าใจเรื่องนี้จริงหรือไม่  เห็นทางปฏิบัติมากน้อยเพียงใด  เรื่องนี้ทางกระทรวงได้แก้ไขปรับปรุงระเบียบแล้วได้เผยแพร่ให้โรงเรียนเข้าใจสาระสำคัญหรือไม่
ข้อพึงระลึกในการประเมินผลหลักสูตร
1.      การประเมินผลหลักสูตรจะต้องกำหนดลงไปอย่างชัดเจนว่าจะประเมินอะไรให้
แน่นอน
2.      การหาข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  สำหรับการประเมินผลหลักสูตร
3.      การรวบรวมข้อมูลมาเพื่อกำหนดเกณฑ์และกำหนดเครื่องมือในการประเมินจะต้อง
พิจารณาอย่างรอบคอบ
            4.  การวิเคราะห์ผลการประเมินจะต้องกระทำอย่างระมัดระวังและมีความเที่ยงตรง  เพื่อที่จะนำผลการวิเคราะห์นั้นไปเสนอคณะกรรมการพิจารณา
            5.  พิจารณาจากการประเมินผลหลักสูตร  เพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้เหมาะสมต่อไป
ประโยชน์ของการประเมินผลหลักสูตร
            1.  ช่วยให้ความมุ่งหมายของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายในการสอนกระจ่างขึ้น  เพราะถ้าคลุมเครือก็วัดไม่ได้  ต้องตีความหมายให้กระจ่างเสียก่อนจึงประเมินได้
            2.  ช่วยส่งเสริมการสอนในโรงเรียนให้ดีขึ้น  ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะมีลักษณะเป็นผลสะท้อนไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรและการสอน
            3.  ส่งเสริมการเรียนของนักเรียน  เมื่อความมุ่งหมายกระจ่างแล้ว  นักเรียนก็สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าตนเองประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด  เป็นการให้แรงจูงใจแก่นักเรียน
            4.  ช่วยในการแนะแนวของครู  ข้อมูลต่างๆ ที่ครูรวบรวมได้เกี่ยวกับนักเรียนจะเป็นประโยชน์ต่อการแนะแนวไปในตัวด้วย
            5.  ช่วยในด้านการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนของนักเรียน เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ของโรงเรียนและชุมชนไปในตัวด้วย  ประโยชน์ข้อนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับเทคนิคในการรายงานผลการเรียนของนักเรียนไปสู่ผู้ปกครอง ระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันช่วยให้เกิดประโยชน์ข้อนี้น้อยมาก
บทสรุป
            การประเมินผลหลักสูตร  เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นยิ่ง  เพราะจะได้รู้ถึงคุณค่าของหลักสูตร  ตัดสินว่าคุณภาพของหลักสูตรมีคุณภาพดีเพียงใด  ผลิตผลของหลักสูตร คือ ผู้เรียนเมื่อจบออกไปแล้วเป็นอย่างไร  การประเมินผลหลักสูตรนั้น ประเมินตั้งแต่ก่อนนำหลักสูตรไปใช้  ขณะที่ทดลองใช้  และเมื่อประกาศใช้แล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลจะทำให้การประเมินผลหลักสูตร  เป็นระบบ  ระเบียบ และเป็นแนวทางวิทยาศาสตร์  ประเมินได้ตามจุดที่ต้องการ  และการประเมินผลหลักสูตรควรจะประเมินผลทั้งหมดของหลักสูตร เช่น จุดมุ่งหมาย เนื้อหา  การเรียน  การสอน  สื่อการเรียนการสอน กิจกรรม  การวัดผล  เป็นต้น  การประเมินผลจะส่งผลไปยังผู้มีอำนาจในการตัดสินว่า  หลักสูตรนั้นสมควรที่จะแก้ไขปรับปรุงเพียงใด  มีปัญหาอะไรบ้างในการใช้หลักสูตรนั้น จะได้ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้หลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่ดี และสนองความต้องการต่างๆ ของผู้เรียน  สังคม  เศรษฐกิจ  การปกครอง  จิตวิทยาการเรียนรู้ การประเมินผลหลักสูตรควรจะดำเนินการและกระทำอยู่สม่ำเสมอ  เพื่อการปรับปรุง  พัฒนา  หลักสูตร ให้มีคุณภาพดีที่สุด
กิจกรรม

สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
 มนุษย์ส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานและกระทำการใด ๆ ตามความรู้ ความเชื่อ และแนวคิดของตนเอง ดังนั้น การที่ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จะกระทำการและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับความรู้และแนวคิดที่มีเหตุผลและความถูกต้อง อันจะเป็นแนวทาง ขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจดังกล่าวดังนั้น การที่ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จะกระทำการและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับความรู้และแนวคิดที่มีเหตุผลและความถูกต้อง อันจะเป็นแนวทาง ขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว
กิจกรรมดำเนินการ 8 ประการ ดังนี้
5.1.3     การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร
กระบวนการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
วิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนาการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูล การสรุปผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การรายงานผลการเรียนรู้และการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้

             วิธีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
            โดยหลักการทั่วไป ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรในระดับชาติหรือระดับสถานศึกษา จะมีวิธีดำเนินการในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ เริ่มด้วยการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร การกำหนดเนื้อหาสาระ การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตร และการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร อย่างไรก็ตาม แต่ละขั้นตอนอาจมีการกระจายกิจกรรมให้ละเอียดและครอบคลุมมากขึ้นได้ เพื่อให้เหมาะสมกับธรรมชาติของหลักสูตรแต่ละระดับหรือแต่ละประเภท
            ทาบา (Taba, 1962) นักพัฒนาหลักสูตรชาวอเมริกัน ให้ความเห็นสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นผู้จัดทำหลักสูตรเอง โดยยึดหลักการดำเนินการจากระดับล่างหรือระดับรากหญ้า ทาบามีความเชื่อว่าครูใน โรงเรียนซึ่งเป็นผู้สอนโดยตรงควรจะเป็นผู้จัดทำหลักสูตรเองมากกว่าส่วนกลางหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงเป็นผู้จัดทำและจัดส่งมาให้ และกล่าวว่าครูควรจะเริ่มกระบวนการพัฒนาหลักสูตรจากการสร้างหน่วยการเรียนการสอนในเนื้อหาเฉพาะสำหรับเด็กในโรงเรียนก่อน ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้
ทาบา (Taba, 1962) ได้กำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในระดับโรงเรียนออกเป็น 5 ขั้นตอน ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทของประเทศไทย ดังนี้
            1. การผลิตหน่วยการเรียนการสอนหรือหลักสูตรเฉพาะรายวิชา การดำเนินการจะเป็นไปในลักษณะนำร่องกระบวนการจัดทำหลักสูตรในลักษณะหน่วยการเรียนหรือหลักสูตรเฉพาะรายวิชา มี
                  1.1 การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน ในขั้นนี้คณะกรรมการหลักสูตรของโรงเรียนจะสำรวจความต้องการของผู้เรียนเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำหลักสูตร โดยพิจารณาจากช่องว่าง จุดบกพร่องและความหลากหลายแห่งภูมิหลังของผู้เรียน
                  1.2 การกำหนดจุดหมาย ภายหลังจากได้วิเคราะห์ความต้องการของนักเรียนแล้ว ผู้วางแผนหลักสูตรจะช่วยกันกำหนดจุดหมายที่ต้องการ
                  1.3 การเลือกเนื้อหา เนื้อหาสาระหรือหัวข้อเนื้อหาที่จะนำมาศึกษาได้มาโดยตรงจากจุดหมาย คณะผู้ทำหลักสูตรไม่เพียงแต่จะต้องพิจารณาจุดหมายในการเลือกเนื้อหาเท่านั้น แต่จะต้องพิจารณาความสอดคล้องและความสำคัญของเนื้อหาที่เลือกด้วย
                        1.4 การจัดเนื้อหา  เมื่อได้เนื้อหาสาระแล้ว  งานขั้นต่อไปคือ การจัดลำดับเนื้อหา ซึ่งอาจจัดตามลำดับจากเนื้อหาที่ง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยาก หรืออาจจัดตามลักษณะหรือธรรมชาติของเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้  การจัดเนื้อหาที่เหมาะสมควรจะสอดรับกับวุฒิภาวะของผู้เรียน  ความพร้อมของผู้เรียนและระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
                        1.5 การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้  ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องเลือกวิธีการหรือยุทธวิธีที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้กับเนื้อหาได้  นักเรียนจะทำความเข้าใจเนื้อหาผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักวางแผนหลักสูตรและครูเป็นผู้เลือก
                        1.6 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูเป็นผู้ตัดสินวิธีการที่จะจัดและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้  และการจัดลำดับขั้นตอนของการใช้กิจกรรม ในขั้นนี้ครูจะปรับยุทธวิธีให้เหมาะกับนักเรียนเฉพาะกลุ่มที่ครูรับผิดชอบ
                        1.7 การกำหนดสิ่งที่จะต้องประเมินและวิธีการในการประเมิน  ครูผู้สอนในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องประเมินและตรวจสอบให้ได้ว่าหลักสูตรดังกล่าวบรรลุจุดหมายหรือไม่  ครูผู้สอนจะต้องเลือกเทคนิควิธีอย่างหลากหลายเพื่อใช้ให้เหมาะสมกับการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  และให้สามารถบอกได้ว่าจุดหมายของหลักสูตรได้รับการตอบสนองหรือไม่
                        1.8  การตรวจสอบความสมดุลและลำดับขั้นตอน  ผู้จัดทำหลักสูตรจะต้องมุ่งเน้นที่การจัดทำหลักสูตรหรือหน่วยการเรียนการสอนให้คงเส้นคงวาและสอดคล้องภายในตัวหลักสูตรเอง การดำเนินการในลักษณะนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมและเกิดความสมดุลในเนื้อหาและประเภทของการเรียนรู้
            2.  การนำหลักสูตรหรือหน่วยการเรียนไปทดลองใช้  เมื่อคณะผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้จัดทำหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรในรูปของสื่อหรือบทเรียนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว  คณะครูก็จะนำเอกสารหลักสูตรเหล่านั้นไปทดลองสอนในชั้นเรียนที่รับผิดชอบ มีการสังเกต  วิเคราะห์และเก็บรวบรวมผลการใช้หลักสูตรและการจัดกิจการรมในชั้นเรียน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรให้สมบูรณ์ขึ้นในโอกาสต่อไป
          3.  การปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตรให้สอดคล้องกัน  ในขั้นตอนนี้จะต้องปรับหน่วยการเรียนหรือหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง  โดยพิจารณาความสอดคล้องระหว่างความสามารถของผู้เรียนกับทรัพยากรที่โรงเรียนมีอยู่และกับพฤติกรรมการสอนของครู  มีการรวบรวมข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ได้จากการทดลองไว้ในคู่มือครู  เพื่อจะใช้เป็นข้อสังเกตและแนวทางที่จะช่วยให้ครูได้จัดกิจกรรม การสอนอย่างรอบคอบ
          4.  การพัฒนากรอบงาน  ภายหลังจากจัดทำบทเรียนหรือหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ จำนวนหนึ่งแล้ว            ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องตรวจสอบหลักสูตรและสื่อในแต่ละหน่วยหรือแต่ละรายวิชา ในประเด็นของความเหมาะสมและความเพียงพอของขอบข่ายเนื้อหา และความเหมาะสมของการจัดลำดับเนื้อหา  ครูหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาหลักสูตรจะต้องรับผิดชอบจัดทำหลักการและเหตุผลของหลักสูตรโดยดำเนินการผ่านกระบวนการการพัฒนากรอบงาน
          5.  การนำหลักสูตรไปใช้และเผยแพร่  เพื่อให้ครูที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรไปใช้จริงในระดับห้องเรียนอย่างได้ผล  จำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องจัดฝึกอบรมครูประจำการอย่างเหมาะสม
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 5 ขั้นตอนที่กล่าวมามีลักษณะที่เป็นเชิงวิชาการอยู่มาก  ดังนั้นเมื่อมีการจัดทำหลักสูตรในสถานการณ์จริงผู้รับผิดชอบสามารถปรับปรุงกิจกรรมและขั้นตอนให้เหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหาวิชา  สภาพท้องถิ่นและเงื่อนไขอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตามในเวลาปฏิบัติงาน  เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถปรึกษาหารือกับผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ได้
              ความได้เปรียบของการสร้างหลักสูตรโดยคณะบุคคลในสถานศึกษาก็คือ สามารถตรวจสอบผลงานและปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสมได้ตลอดเวลา  เพราะมีนักเรียนซึ่งพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการทดลองใช้ในทุกขั้นตอนและตลอดเวลา

                หลักสูตรของสถานศึกษาจะประสบความสำเร็จได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องและสอดรับกับจุดหมายของหลักสูตร เมื่อพิจารณาธรรมชาติของหลักสูตรโดยทั่วไปแล้ว  หลักสูตรของแต่ละรายวิชาจะมีจุดเน้นในด้านหนึ่งด้านใดดังต่อไปนี้
                ด้านที่หนึ่ง เป็นหลักสูตรที่เน้นทางด้านวิชาการหรือพุทธิพิสัย (cognitive domain) ในลักษณะการส่งเสริมความรู้ ความคิดและสติปัญญา
                ด้านที่สอง เป็นหลักสูตรที่เน้นการเสริมสร้างทักษะทางกาย ซึ่งเน้นกลไกของร่างกายในการกระทำกิจกรรมหรือทักษะพิสัย (psychomotor domain) เช่น วิชาประเภทการงาน  การอาชีพ  การพลศึกษา  นาฎศิลป์และดนตรี  เป็นต้น
                ด้านที่สาม เป็นหลักสูตรที่เน้นการปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยม จริยธรรมและความประพฤติของผู้เรียน หรือจิตพิสัย (affective domain)
            เนื่องจากวิธีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ มีลักษณะการให้ความรู้ ความเข้าใจ  และการฝึกทักษะต่าง ๆ ไว้จำนวนมากและหลากหลายอยู่แล้ว  จึงจะไม่อธิบายซ้ำ เพราะการสอนในสองด้านแรกเป็นการสอนที่เน้นทางด้านพุทธิพิสัยและด้านปฏิบัติหรือทักษะพิสัย ที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว  เป็นการเรียนการสอนที่ตรงไปตรงมา ตรวจสอบหรือประเมินผลได้ชัดเจนว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว อีกนัยหนึ่งก็คือสามารถบอกได้ว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้และบรรลุจุดหมายที่วางไว้หรือไม่ จึงเป็นเรื่องของการมุ่งผลสัมฤทธิ์แห่งการเรียนรู้ของผู้เรียน  การวัดและประเมินผลก็สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้โดยตรง
            ส่วนการเรียนรู้ทางด้านจิตพิสัย เป็นการเรียนรู้ที่มีความซับซ้อนกว่า  เพราะเป้าหมายของการเรียนด้านนี้ต้องมุ่งถึงขั้นสามารถนำไปปฏิบัติด้วย ไม่ใช่เพียงการรู้และการเข้าใจในเรื่องจริยธรรมหรือความดีเท่านั้น  แต่ที่จำเป็นต้องเน้นการเรียนรู้ทางด้านจริยธรรมเป็นกรณีพิเศษ  เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช 2540  ได้ตระหนักถึงจริยธรรมและคุณธรรมของเยาวชนว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง  จึงกำหนดไว้ในมาตรา 81 ว่า  รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม (อักษราพิพัฒน์ 2543: 21)  ส่วนพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ได้ย้ำเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ในมาตรา  24  (4) ว่า “จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา” (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา  ม.ป.ป. : 13)
            ตามข้อเท็จจริง การศึกษาของประเทศไทยทุกระดับได้เน้นการปลูกฝังค่านิยม จริยธรรม และคุณธรรมของผู้เรียนตลอดมา แต่การดำเนินการสอนในเรื่องดังกล่าวยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้มากนัก เพราะนักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้ทางจริยธรรมเป็นอย่างดี แต่พฤติกรรมที่แสดงออกยังมิได้สอดคล้องกับความรู้ที่มี ดังนั้นถ้าจะสอนให้นักเรียนประพฤติและปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอย่างแท้จริง  จำเป็นจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากการเรียนรู้ทางวิชาการในห้องเรียน
            โคลเบอร์ก  (Kohlberg, 1970 : 120 )   ได้กำหนดวิธีการสอนจริยธรรมที่ได้ผลกับนักเรียน  2  วิธี  ดังนี้
วิธีแรก เป็นการสอนระดับห้องเรียน ยึดการอภิปรายปัญหาจริยธรรมเพื่อมุ่งเน้นการหาเหตุผลที่ดีในการประพฤติตนให้เป็นคนดีตามหลักจริยธรรม โดยยกกรณีปัญหาจริยธรรมมาเป็นสื่อในการอภิปราย การสอนตามวิธีการนี้ ครูต้องมีความสามารถในการดูแล กระตุ้นและตะล่อมทิศทางในการหาเหตุผลที่เหมาะสมของผู้เรียนมาประกอบการอภิปราย
            วิธีที่สอง เป็นการสอนจริยธรรมจากสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง เป็นหลักสูตรแฝง (Hidden curriculum) ซึ่งดูเหมือนว่าโคลเบอร์กจะให้ความสำคัญแก่การสอนจริยธรรมตามแนวหลักสูตรแฝงเช่นนี้มากกว่า เช่นเดียวกับพอสเนอร์  (Posner, 1992 :11) ซึ่งให้ความสำคัญของหลักสูตรแฝงโดยกล่าวว่า  หลักสูตรแฝงเป็นหลักสูตรที่บุคลากรในโรงเรียนอาจไม่ได้รับรู้อย่างเป็นทางการ แต่มีอิทธิพลโดยตรงต่อนักเรียนอย่างลุ่มลึกและยาวนานมากกว่าหลักสูตรที่เป็นทางการของโรงเรียน
นักพัฒนาหลักสูตรหลายคนเชื่อว่า หลักสูตรที่เป็นทางการไม่สามารถสอนจริยธรรมและค่านิยมให้แก่นักเรียนได้ดีเท่าหลักสูตรแฝง และเรียกชื่อหลักสูตรประเภทนี้หลายชื่อ เช่น Implicit curriculum (Goodlad, 1984)และ Unstudied curriculum (Saylor & Alexander, 1974) ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับ หลักสูตรแฝง หรือ  Hidden curriculum
            ในทำนองเดียวกัน นักสังคมวิทยาได้บัญญัติคำว่า  socialization”  หรือการขัดเกลาทางสังคมนำมาใช้อธิบายการเรียนรู้จริยธรรม ค่านิยมและพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนที่ใกล้ชิดกับเด็ก ว่าเป็นการเรียนรู้จากตัวแบบหรือแบบอย่างของผู้ใหญ่  เด็กจะแยกไม่ออกว่าพฤติกรรมใดดีหรือพฤติกรรมใดไม่ดี ถ้าผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็นคนดี ผู้ใหญ่หรือสังคมจะต้องเสนอตัวแบบหรือตัวอย่างพฤติกรรมที่ดีงามให้เด็กได้เลียนแบบ
            การสอนจริยธรรมที่ไม่ได้ผลมักเกิดจากความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่ผู้ใหญ่สอนให้เด็กปฏิบัติกับสิ่งที่ผู้ใหญ่ปฏิบัติ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเด็กมักจะประพฤติและปฏิบัติตนตามที่ผู้ใหญ่หรือสังคมปฏิบัติกัน มากกว่าที่ครูสอนหรือที่ผู้ใหญ่ปรารถนาจะให้เด็กนำไปประพฤติและปฏิบัติ ซึ่งต้องยอมรับว่าสังคมไทยมีพฤติกรรมแบบอย่างของผู้ใหญ่และสังคมที่ไม่พึงปรารถนาให้เห็นเป็นจำนวนมาก แบบอย่างเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการสอนจริยธรรมและคุณธรรมในครอบครัว และในโรงเรียน
ถ้าจะให้การสอนจริยธรรมในโรงเรียนประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ผู้บริหารและครูทุกคนในโรงเรียนต้องเข้าใจอิทธิพลของหลักสูตรแฝง และต้องร่วมใจกันสร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้จริยธรรมของนักเรียน กล่าวคือ ผู้บริหารจะต้องริเริ่มและประชุมหารือกับครูและบุคลากรทุกประเภทในโรงเรียน เพื่อร่วมสร้างแบบอย่างที่ดีทางจริยธรรมให้แก่นักเรียน นั่นคือ ถ้าจะสอนให้นักเรียนเป็นคนดี มีจริยธรรม ผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียนทุกคนต้องประพฤติตนให้เป็นผู้มีจริยธรรมก่อน มีการสร้างกฎเกณฑ์ มาตรฐานและระเบียบแบบแผนหรือวัฒนธรรมของโรงเรียนที่เอื้อและส่งเสริมการเรียนรู้และการปฏิบัติตนเชิงจริยธรรมของผู้เรียนให้ถูกต้อง
นอกจากนี้ โรงเรียนจะต้องส่งเสริมการทำกิจกรรมพิเศษของนักเรียน เช่น โดยการจัดชุมนุม สโมสร  และกิจกรรมพิเศษที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น มีความเคารพต่อกัน            มีความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกัน มีความรับผิดชอบซื่อสัตย์ต่อกัน  และคุณสมบัติอื่นๆ ที่ส่งเสริมความมี   จริยธรรม  แม้ในปัจจุบันนี้สถานศึกษาทั่วไปได้จัดกิจกรรมดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ยังขาดคุณภาพและทิศทางของการจัดกิจกรรม ในโอกาสต่อไปนี้เมื่อสถานศึกษาได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินกิจกรรมการศึกษาเองทั้งหมด ตามหลักการบริหารจัดการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน  ผู้บริหารและครูอาจารย์ในโรงเรียนจะต้องมุ่งมั่นและร่วมมือกันวางแผน กำหนดทิศทางและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมจริยธรรมของผู้เรียนตามแนวคิดและแนวทางที่ได้กล่าวมาแล้ว
            ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นแนวความคิดและแนวปฏิบัติทั่วไปอย่างกว้างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรโดยสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ เนื้อหาสาระในลำดับต่อไปจะกล่าวถึงแง่มุมและรายละเอียดของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่นำไปปฏิบัติจริงต่อไป



           แม้ว่าการพัฒนาหลักสูตรที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน หรือหลักสูตรสถานศึกษา ตามนัยแห่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มุ่งหวังจะให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเนื้อหาสาระในหลักสูตรขั้นพื้นฐานเพิ่มเติม แต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ยังเน้นความสำคัญของเนื้อหาสาระ ประเภท สภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม ดังนั้นนอกจากภารกิจหลักของสถานศึกษาที่จะจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบแล้ว สถานศึกษายังต้องพิจารณาและจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องและสนองความต้องการของผู้เรียนที่ดำรงชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน ตำบล ท้องถิ่น หรือชุมชนที่มีความแตกต่างกัน
            เพื่อให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรและจัดทำเนื้อหาสาระของหลักสูตรทั้งสองประเภทดังกล่าวข้างต้น จึงขอเสนอรายละเอียด มิติ และมุมมองที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้

          จุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
                สถานศึกษาเป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้ สถานศึกษาจึงต้องมีหลักสูตรของตนเอง กล่าวคือ หลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลและประสบการณ์อื่นๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ทั้งรายวิชาที่เป็นพื้นฐานและรายวิชาที่ต้องเรียนเพิ่มเติมเป็นรายปีหรือรายภาค จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกภาคเรียนและกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
            สถานศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน ท้องถิ่น วัด หน่วยงานและสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมายที่สำคัญของหลักสูตร 2  ประการ ดังนี้
            1. หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกและความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ เปรียบเสมือนเป็นวิธีการสร้างกำลังใจและเร้าใจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้สูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคน โดยควรสร้างความเข้มแข็ง ความสนใจและประสบการณ์ให้ผู้เรียน และพัฒนาความมั่นใจให้เรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกัน ควรให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้สำคัญ ๆ ในการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ได้ข้อมูลสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น และมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
            2. หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะพัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด ความเข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันว่า  สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคม หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียน และช่วยพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถพัฒนาสังคมให้เป็นธรรม มีความเสมอภาค ควรพัฒนาความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับสภาพแวดล้อมที่ตนดำรงชีวิตอยู่ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลก หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูล เป็นอิสระและเข้าใจในความรับผิดชอบของตน
            จุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษาทั้งสองประการข้างต้นนี้ เป็นเพียงกรอบหรือแนวทางที่จะให้สถานศึกษาได้นำไปพิจารณา และกำหนดเป็นรายละเอียดจุดหมายในแต่ละสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่บ้าน ตำบล และชุมชน ที่มีสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และค่านิยมที่แตกต่างกัน

             การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
            หลักสูตรสถานศึกษาจะต้องสนองตอบการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ผู้สอนต้องปรับปรุงกระบวนการสอนและประเมินกระบวนการสอนของตน ให้สนองตอบความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การศึกษาจะเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ถ้ามีการปรับปรุงหลักสูตรตลอดเวลา สถานศึกษาจึงควรดำเนินการในการจัดทำหลักสูตร ดังนี้
            1. กำหนดวิสัยทัศน์
            สถานศึกษาจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมองอนาคตว่า โลกและสังคมรอบ ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร สถานศึกษาจะต้องปรับตัว ปรับหลักสูตรอย่างไร จึงจะพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารและบุคลากรของสถานศึกษาสามารถมองเห็นและคาดการณ์ได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตที่จะมีผลต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชน  อันจะนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร  การศึกษาค้นคว้า  และการติดตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษาจะทำให้สถานศึกษาเกิดวิสัยทัศน์ขึ้นได้
            นอกจากนี้การกำหนดวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาจำเป็นจะต้องอาศัยประสบการณ์และความร่วมมือของชุมชน บิดามารดา ผู้ปกครอง ครูผู้สอน ผู้เรียน ภาคธุรกิจ ภาครัฐในชุมชน ร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษา ในการแสดงความประสงค์หรือวิสัยทัศน์ที่ปรารถนาให้สถานศึกษาเป็นสถาบันพัฒนาผู้เรียนที่มีพันธกิจหรือภาระหน้าที่ ร่วมกันในการกำหนดงานหลักที่สำคัญของสถานศึกษา พร้อมด้วยเป้าหมาย มาตรฐาน แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและการติดตามผล ตลอดจนจัดทำรายงานแจ้งสาธารณชน และส่ง ผลย้อนกลับ ให้สถานศึกษาเพื่อปฏิบัติงานที่เหมาะสมและได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ

            2. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
            จากวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ สถานศึกษาจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ จากช่วงชั้นให้เป็นรายปีหรือรายภาค พร้อมกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ให้ชัดเจน  เพื่อให้ครูทุกคนนำไปออกแบบการเรียนการสอน การบูรณาการโครงการร่วม เวลาเรียน การมอบหมาย/โครงงาน แฟ้มผลงานหรือการบ้าน โดยวางแผนร่วมกันทั้งสถานศึกษา  หลักสูตรดังกล่าวจะเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้านของสถานศึกษา
            3. การกำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค
            สถานศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระต่าง ๆ จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้เป็นรายปีหรือรายภาคให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาด้วย พิจารณากำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล พร้อมทั้งพิจารณาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และสามารถกำหนดในลักษณะผสมผสานบูรณาการ จัดเป็นชุดการเรียนแบบยึดหัวข้อเรื่อง หรือจัดเป็นโครงงานได้
            4. การออกแบบการเรียนการสอน
                        จากสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายปีหรือรายภาค สถานศึกษาต้องมอบหมายให้ครูผู้สอนทุกคนออกแบบการเรียนการสอน โดยคาดหวังว่าผู้เรียนสามารถทำอะไรได้ในแต่ละช่วงชั้น เช่น ช่วงชั้นที่1 ซึ่งมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 นั้น ผู้เรียนจะเรียนรู้สาระของแต่ละเรื่องที่กำหนดได้ในระดับใด ยกตัวอย่างวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีสาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ และมีมาตรฐาน ค 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง ผู้เรียนในช่วงชั้นนี้จะสามารถทำอะไรได้ เช่น ในช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นไว้ข้อหนึ่งว่า มีความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับและศูนย์ และผู้เรียนในช่วงชั้นนี้จะมีความสามารถอย่างไร เช่น ผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถนับได้ 1 ถึง 100 และมากกว่า เป็นต้น การออกแบบการเรียนรู้จะต้องให้ผู้เรียนพัฒนาได้ทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์และสังคม
            5. การกำหนดเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต
                                การจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี สถานศึกษาต้องตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านการอ่าน การเขียน การคิดเลข การคิดวิเคราะห์ และการใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการสอนที่ยึดหัวข้อเรื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือสังคมศึกษาเป็นหลักตามความเหมาะสมของท้องถิ่น บูรณาการการเรียนรู้ด้วยกลุ่มสาระต่างๆ เข้ากับหัวข้อเรื่องที่เรียนอย่างสมดุล ควรกำหนดจำนวนเวลาเรียนสำหรับสาระการเรียนรู้รายปี ดังนี้

                   ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ควรกำหนดจำนวนเวลาสำหรับการเรียนตามสาระการเรียนรู้รายปีให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการสอนเพื่อเน้นทักษะพื้นฐาน เช่น การอ่าน การเขียน การคิดเลข และการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งจะต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกเพลิดเพลิน ในแต่ละคาบเวลาไม่ควรใช้เวลานานเกินช่วงความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้ ผู้สอนอาจจะจัดกิจกรรมเสริม เช่น การฝึกให้เขียนหนังสือเป็นเล่ม เป็นต้น
              การเรียนการสอนควรจัดกิจกรรมไปตามความสนใจของผู้เรียน ในช่วงชั้นที่ 1 ผู้สอนควรเข้าใจจิตวิทยาการสอนเด็กเล็กอย่างลึกซึ้ง สามารถบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ผสมกลมกลืน ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเด็กโดยเฉพาะ แต่ต้องมุ่งเน้นทักษะพื้นฐานดังกล่าวด้วย สำหรับช่วงชั้นที่ 2 ผู้เรียนซึ่งได้ผ่านการเรียนการเล่นเป็นกลุ่มมาแล้ว ในช่วงชั้นนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเริ่มทำงานเป็นทีม การสอนตามหัวข้อเรื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ หัวข้อเรื่องขนาดใหญ่สามารถจัดทำเป็นหัวข้อย่อย ทำให้ผู้เรียนรับผิดชอบไปศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อย่อยเหล่านี้ เป็นการสร้างความรู้ของตนเองและใช้กระบวนการวิจัยควบคู่กับการเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แล้วนำผลงานมาเสนอในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ผลงานของกันและกันในรูปแฟ้มสะสมผลงาน
              การเรียนในช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ เป็นการเรียนที่มุ่งพัฒนาความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน นอกจากสถานศึกษาจะทบทวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้แล้ว จะต้องจัดการเรียนแบบบูรณาการเป็นโครงงานมากขึ้น เป็นการเริ่มทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจการศึกษาสู่โลกของการทำงานตามความต้องการของท้องถิ่นและสังคมนวัตกรรมด้านการสอนและประสบการณ์ในการทำงานด้านต่าง ๆ แม้แต่การเรียนภาษาก็สามารถเป็นช่องทางสู่โลกของการทำงานได้ ต้องชี้แจงให้ผู้เรียนได้ทราบว่าสังคมในอนาคตจะอยู่บนพื้นฐานของความรู้ สถานศึกษาจึงต้องจัดบรรยากาศให้มีสภาพแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ เป็นตัวอย่างแก่สังคม และควรจัดรายวิชาหรือโครงงานที่สนองความถนัด ความสนใจของผู้เรียนเพิ่มขึ้นด้วย
            การเรียนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือการประกอบอาชีพ ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียนในลักษณะรายวิชาหรือโครงงาน

         แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
                เพื่อให้การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามที่คาดหวัง กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานดังนี้

            1. การจัดทำสาระของหลักสูตร  มีขั้นตอนดังนี้
                1.1 กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และจัดเป็นผลการเรียนรู้ การกำหนดการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคควรระบุถึงความรู้ ความสามารถของผู้เรียนซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการเรียนรู้ในแต่ละปีหรือแต่ละภาคนั้น ๆ
              การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของสาระการเรียนรู้ของรายวิชาที่มีความเข้ม (Honour Course) ให้สถานศึกษากำหนดได้ตามความเหมาะสม สอดคล้องกับการจัดรายวิชา
                1.2 กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค โดยวิเคราะห์จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้ใน 1.1 ให้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น รวมทั้งสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นและของชุมชน
                     1.3 กำหนดเวลาและหรือจำนวนหน่วยกิตสำหรับสาระการเรียนรู้รายภาค ทั้งสาระการเรียนรู้  พื้นฐานและสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนดเพิ่มเติมขึ้น ดังนี้
-       ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายปีและกำหนดจำนวนเวลาเรียนให้เหมาะสมและ  สอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
-       ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายภาคและกำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
                    การกำหนดจำนวนหน่วยกิตของสาระการเรียนรู้รายภาคสำหรับช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ใช้เกณฑ์การพิจารณาที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียนมีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
                           สาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มขึ้นเป็นวิชาเฉพาะของสายอาชีพหรือโปรแกรมเฉพาะทางอื่น ๆ ใช้เกณฑ์การพิจารณาคือ สาระการเรียนรู้ที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ระหว่าง 40-60 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม และใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน
                     1.4 จัดทำคำอธิบายรายวิชา ทำได้โดยนำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดตามข้อ 1.1 – 1.3 นำมาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา ประกอบด้วยชื่อรายวิชา จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิต มาตรฐานการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ
                           แนวทางในการกำหนดชื่อรายวิชาคือ ชื่อรายวิชาของสาระการเรียนรู้ให้ใช้ตามชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนชื่อที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มเติม สามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องสื่อความหมายได้ชัดเจนและสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น
                1.5 จัดทำหน่วยการเรียนรู้ โดยนำสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้บูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้หน่วยย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการจัดการเรียนรู้และผู้เรียนได้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และจำนวนเวลาสำหรับการจัดการเรียนรู้ เมื่อเรียนครบทุกหน่วยย่อยแล้ว ผู้เรียนสามารถบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของทุกรายวิชา
            ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ อาจบูรณาการทั้งภายในสาระการเรียนรู้กลุ่มเดียวกัน เช่น บูรณาการสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับเคมี ชีววิทยาและฟิสิกส์ เป็นต้น และระหว่างสาระการเรียนรู้ เช่น อาจจะบูรณาการระหว่างสาระการเรียนรู้ของวิทยาศาสตร์กับสังคมและคณิตศาสตร์ เป็นต้น หรือบูรณาการเฉพาะเรื่องตามลักษณะสาระการเรียนรู้ หรือบูรณาการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน การจัดการเรียนรู้สำหรับหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงาน
            2. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                        สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
2.1 จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น การบูรณาการ  โครงงาน องค์ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นต้น
2.2 จัดกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดตามธรรมชาติ ความสามารถ  และความต้องการของผู้เรียนและชุมชน เช่น ชมรมทางวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น
2.3   จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เป็นต้น
2.4 จัดกิจกรรมประเภทบริการด้านต่าง ๆ ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
2.5   ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเป็นระบบ โดยให้ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเมินผลการผ่านช่วงชั้นเรียน
            3. การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
            สถานศึกษาต้องร่วมกับชุมชนกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
                คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่สถานศึกษาจะกำหนดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น สามารถกำหนดขึ้นได้ตามความต้องการ โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมดังกล่าวให้แก่ผู้เรียนเพิ่มจากที่กำหนดไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
            ในแต่ละภาคเรียนหรือปีการศึกษา ครูผู้สอนต้องวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโดยประเมินเชิงวินิจฉัยเพื่อปรับปรุงพัฒนาและส่งต่อ ทั้งนี้ควรประสานสัมพันธ์กับผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นรายปีหรือรายภาค
                สถานศึกษาต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียน และนำไปกำหนดแผนกลยุทธ์ในการปรับปรุงพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
                แนวทางการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด
            4. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
            การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน โดยให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มีขั้นตอนการปฏิบัติเริ่มตั้งแต่การ

เรื่องที่  5.3
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

การทำความเข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาทุกขั้นตอน ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงหลักการไม่เป็นเรื่องยากแต่อย่างใด เมื่อนำขั้นตอนและกระบวนการนั้นไปดำเนินการ มักจะเกิดปัญหาและมีอุปสรรคอยู่เสมอ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นอยู่เสมอ ความล้มเหลวของสถานศึกษาในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหรือเงื่อนไขหลายประการ ได้แก่ ความสามารถในการบริหารจัดการหลักสูตร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

             การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
            การบริหารจัดการเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรของสถานศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นระบบนั่นเอง
            ซึ่งประกอบด้วย งาน/ภารกิจที่สถานศึกษาจะต้องดำเนินการ 7 ภารกิจ คือ
1. การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
ภารกิจที่ผู้บริหารและครูผู้สอนตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา มีดังนี้
1.1   สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรของสถานศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียน เพื่อให้เห็นความสำคัญหรือความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
1.2   ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการของสถานศึกษาตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
1.3   เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงาน/องค์กรในชุมชนทุกฝ่ายได้รับทราบ และให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
1.4    จัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาให้เป็นระบบ
1.5    จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือธรรมนูญสถานศึกษา
1.6   พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปใช้จัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา



2. การจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
            คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาและคณะอนุกรรมการระดับกลุ่มวิชา จะต้องดำเนินการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษาดังต่อไปนี้ (กรมวิชาการ 2543 :  19)
2.1   ศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตรว่า กำหนดสาระที่เป็นแกนกลางและสาระของท้องถิ่นไว้อย่างไร และมีความสอดคล้องสัมพันธ์และสมดุลอย่างไร
2.2   วิเคราะห์ขอบข่ายเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ทั้งองค์ประกอบด้านความรู้ทักษะ/กระบวนการ  คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
2.3   ศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความต้องการของชุมชนและสังคม
2.4   ปรับปรุงสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ต้องจัดให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
2.5   ตรวจสอบความสอดคล้องของสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มวิชา และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.6   วางแผนการจัดการเรียนการสอนตามขอบข่ายสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้   สัดส่วน เวลาและหน่วยกิตตามที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด
2.7   พัฒนาแนวการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน
            นอกจากนี้ครูควรดำเนินการเพื่อให้การจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาสมบูรณ์อีก 2 ประการ นั่นคือ กำหนดสื่อการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล
3. การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตร
            การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรหรือวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ 3 ส่วน คือ
3.1   การบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย การสอนซ่อมเสริม การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นต้น
3.2   การบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น การวางแผนให้ครูทุกคนสามารถแนะแนวผู้เรียนได้ทั้งด้านการศึกษา อาชีพและปัญหาอื่น ๆ เป็นต้น
3.3   การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในและนอกสถานศึกษา การส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น
             4. การปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตร
            การดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามภารกิจที่สอง หรือการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา และภารกิจที่สามหรือการวางแผนบริหารจัดการหลักสูตร  ซึ่งสถานศึกษาได้กำหนดไว้
5. การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล
            การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
5.1   การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการภายในสถานศึกษา
5.2   การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการจากภายนอกสถานศึกษา
6. การสรุปผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
            สถานศึกษาจะต้องรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา สรุปและเขียนรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และนำผลการรายงานเผยแพร่ให้ชุมชนหรือ สาธารณชนได้รับทราบ
7. การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
            ผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานและข้อมูลจากการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรทั้งหมด จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในปีต่อ ๆ ไป

               การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง
                ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบผลสำเร็จก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลักสูตรที่กระจายอำนาจการจัดการศึกษาแก่สถานศึกษา ทั้งในด้านการบริหารวิชาการ การบริหารจัดการ และการใช้หลักสูตร เป็นกระบวนการนำหลักสูตรแกนกลางในระดับชาติไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา จึงต้องได้รับการสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมมือจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยที่การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเน้นความสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 กำหนดแนวทางไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”
            ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรและจัดกระบวนการเรียนรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีเป้าหมายที่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือเป็น “คนเก่ง  คนดี  และมีความสุข” โดยมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้

1. ผู้บริหารสถานศึกษา
            ผู้บริหารสถานศึกษาที่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา เข้าใจบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารอย่างถ่องแท้และนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังแบบต่อเนื่อง จะช่วยให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบผลสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการสั่งการมาเป็นผู้ร่วม คือ ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีบทบาทดังนี้
1.1   จัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษา
1.2   เป็นผู้นำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยร่วมประสานกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ตลอดจนสาระตามหลักสูตรสถานศึกษา
1.3   ประชาสัมพันธ์หลักสูตรสถานศึกษา
1.4   สนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษามีความรู้และความสามารถในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
1.5   มีการนิเทศภายใน เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีระบบ
1.6   จัดให้มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อปรับปรุง พัฒนาสาระของหลักสูตรสถานศึกษาให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น
2. ครูผู้สอน
            ครูผู้สอนมีบทบาทโดยตรงในการร่วมพัฒนาหลักสูตร จัดการเรียนรู้ ครูในยุคปฏิรูปการศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้สอน เป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการชี้แนวทางการนำความรู้จากแหล่งต่างๆ มาใช้ประโยชน์ กล่าวคือ ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งข้อมูล มีทักษะในการใช้สื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการสืบค้นข้อมูลมาใช้ได้สะดวก วิธีการที่ครูสามารถทำได้ในฐานะผู้เอื้ออำนวยความสะดวกที่ดี เช่น ให้โอกาสผู้เรียนเข้าไปใช้บริการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดของโรงเรียน บอกแหล่งที่มาของข้อมูลให้ผู้เรียนที่สนใจสามารถสืบค้นได้จากซีดีรอม หรือจากโฮมเพจในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
            นอกจากนี้ ครูยังต้องปรับบทบาทจากการเป็นผู้ป้อนข้อมูล เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา โดยครูจะต้องตระหนักเสมอว่า ตนเองไม่ใช่ผู้กำหนดความรู้ แต่เป็นผู้สอนแก่นความรู้ในวิชาที่สอน และแนะวิธีการคิด ให้กรอบในการวิเคราะห์เนื้อหาวิชาการ แนะนำการพิจารณาข้อมูลที่จะเลือกนำมาใช้ แนะนำเรื่อง ทั่วๆ ไปที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของผู้เรียนด้วย เช่น ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การพัฒนาบุคลิกภาพ มารยาท การป้องกันตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ เป็นต้น
            ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่นักเรียนและเป็นผู้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ก็ต่อเมื่อครูเป็นผู้ที่เรียนรู้มาก่อน นั่นหมายความว่า ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เป็นคนช่างสังเกตและคิดแตกฉานกับข้อมูลและความรู้ที่ผ่านเข้ามาในสมองด้วยการตั้งคำถามและหาทางพิสูจน์เรื่องเหล่านี้ให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
            ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ครูไม่เพียงแต่จะมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้เท่านั้น แต่ครูยังต้องมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังต่อไปนี้ (กรมวิชาการ  2543 :  16)
2.1   ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจนเข้าใจกระจ่าง
2.2   ศึกษาหลักการ วิธีการพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา
2.3   ร่วมวางแผน และร่วมพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา
2.4   ตรวจสอบความสอดคล้องสัมพันธ์กันของสาระที่จัดทำขึ้นตามสภาพปัญหา/ความต้องการของชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น กับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มวิชาและมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.5 วางแผนการจัดการเรียนการสอนตามขอบข่ายเนื้อหาสาระ มาตรฐาน สัดส่วนของเวลา และหน่วยการเรียนรู้
2.6 นำหลักสูตรไปปฏิบัติให้เกิดผลในห้องเรียน โดยเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และเหมาะสมกับผู้เรียน
2.7 วางแผนและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ได้ข้อมูลที่แสดงความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงนั้น และนำผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียนต่อไป
2.8 ร่วมประเมินผลการใช้หลักสูตรกับสถานศึกษา
3. ผู้เรียน
            เนื่องจากผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการกำหนดจุดหมายของการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรทุกหลักสูตรพัฒนาขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนโดยตรง ผู้เรียนจึงควรมีส่วนแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนให้ผู้รับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรได้ทราบ และเนื่องจากผู้เรียนเป็นผลผลิตของการจัดการศึกษาโดยตรง ผู้เรียนจะมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์คือเป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุขได้ ผู้เรียนจะต้องปรับปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของตนจากการเป็นผู้รับมาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความสามารถของตนเอง
            บทบาทหน้าที่ของผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
3.1   มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองและครู วางแผนการเรียนรู้ของตนเองตามความถนัด ความสนใจและความสามารถของตนเอง
3.2   มีความรับผิดชอบ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และบริหารจัดการเรียนรู้ของตนเองให้มีคุณภาพ
3.3   ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ รู้วิธีแสวงหาความรู้ พร้อมทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
3.4   มีการประเมินและพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
3.5   มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อนโดยช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
4. ผู้ปกครอง
            การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้เปิดโอกาสให้บิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายร่วมมือกับสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (มาตรา 24) ฉะนั้น บิดามารดาและผู้ปกครองจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดในการฝากบุตรหลานไว้ในความดูแลของครูมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยผู้ปกครองควรจะมีบทบาท ดังนี้
4.1   กำหนดแผนการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกับครูและผู้เรียน
4.2   มีส่วนร่วมในการกำหนดสาระของหลักสูตรสถานศึกษา และกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือธรรมนูญสถานศึกษา
4.3   ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
4.4   อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ ให้ความรักความอบอุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน
4.5   สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาตามความเหมาะสม
4.6   ร่วมมือกับครูและผู้เกี่ยวข้อง ประสานงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน
4.7   พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อนำครอบครัวไปสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้
4.8   มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและการประเมินการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
5. ชุมชน
            พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรและบริหารจัดการให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่กลมกลืนกับท้องถิ่น และร่วมกับสถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยมีบทบาทดังนี้
5.1   มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือธรรมนูญของสถานศึกษา
5.2   มีส่วนร่วมในการกำหนดสาระของหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
5.3   เป็นแหล่งการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากสถานการณ์จริง
5.4   ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษา
5.5   มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
              การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
            การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจะประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี จะต้องได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจากบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน บิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลหรือหน่วยงานในชุมชน ได้แก่ องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
            พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะ โดยถือว่าการจัดการศึกษาเป็นภาระหน้าที่สำหรับทุกคน การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือบุคลากรทุกฝ่ายอาจดำเนินการได้หลายทาง ได้แก่
1. การมีส่วนร่วมเป็นกรรมการ
ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนที่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเกี่ยวกับการศึกษา ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน เพราะการเป็นกรรมการไม่ใช่เรื่องของอภิสิทธิ์ส่วนตัว แต่เป็นภาระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรรมการมีหน้าที่กำกับ ดูแล ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
ดังนั้น กรรมการจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอน การบริหารและการจัดการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพ การจัดทำหลักสูตร การประเมินคุณภาพการศึกษา การระดมทรัพยากรการเงินและบุคคลเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการได้เข้าใจบทบาทหน้าที่อย่างจริงจัง สถานศึกษาควรจัดทำคู่มือการเป็นกรรมการและนำเสนอผ่านสื่อ การปฐมนิเทศ หรือการฝึกอบรมสำหรับกรรมการที่ยังขาดประสบการณ์ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกรรมการด้วย
2. การร่วมจัดการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 57 กำหนดให้หน่วยงานการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
3. การร่วมสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นจะร่วมสนับสนุนการศึกษาได้โดยร่วมกันให้ความรู้หรือประสบการณ์ในฐานะทรัพยากรบุคคลหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือสนับสนุนโดยการบริจาคทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา รวมทั้งการมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็นด้วย
4. การร่วมกำกับดูแล
เนื่องจากการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดเงื่อนไขใหม่ๆ เช่น ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำหน้าที่ให้เหมาะสม สอดคล้องกับจรรยาบรรณและมาตรฐานของวิชาชีพ สถานศึกษาต้องมีระบบประกันคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้นประชาชนจึงควรมีส่วนร่วมเรียกร้องคุณภาพทางการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน ทักท้วง ตักเตือน หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมประเมินคุณภาพของบุคคลและสถานศึกษา รวมทั้งร่วมยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมด้วย
            หากบุคลากรในสถานศึกษาทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้บุคคลและหน่วยงานนอกสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งในฐานะกรรมการสถานศึกษา วิทยากรหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือในฐานะผู้ให้การสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาและฐานะผู้ประเมินคุณภาพของสถานศึกษาแล้ว ย่อมเชื่อมั่นได้ว่าสถานศึกษานั้นจะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น