วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

การศึกษาเพื่ออนาคต


‘Learning for life’ โจทย์การศึกษาใหม่ของสิงคโปร์
ในช่วงหลังมานี้ รัฐบาลสิงคโปร์เริ่มตระหนักถึงปัญหาต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยสิ่งที่พยายามจะแก้ไขให้ได้ก็คือลดทอนบรรยากาศของการแข่งขันลงไปให้ได้มากที่สุด เพื่อให้การศึกษาได้กลับมาถึงเป้าหมายพื้นฐาน นั่นคือเรียนเพื่อรู้ชีวิต และพัฒนาตัวเองโดยที่ไม่ต้องไปเอาชนะใคร

เราจะรับรองว่า จะพัฒนาระบบที่ช่วยให้นักเรียนไม่ต้องคร่ำเคร่งมากเกินไป”  คือคำยืนยันจาก ออง ยี คุง รัฐมนตรีการศึกษาของสิงคโปร์

ขณะเดียวกันรัฐบาลสิงคโปร์ ยังได้ประกาศนโยบาย ‘Thinking Schools, Learning Nation’ โดยมีหัวใจเป็นการปรับปรุงระบบการศึกษา ให้เปลี่ยนจากการแข่งขันกันด้วยการท่องจำ ไปสู่การศึกษาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ และเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กนักเรียนมากยิ่งขึ้น

ในเชิงรูปธรรมแล้ว สิ่งที่รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศแล้วว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน ในอนาคต เช่น

ยกเลิกการสอบกลางภาค ของประถม 1-5 และ มัธยม 1-3
ยกเลิกการสอบปลายภาค ของประถม 1-2
ยกเลิกการจัดอันดับผลการสอบในใบแจ้งคะแนน
ยกเลิกการรายงานคะแนนต่ำสุด/มากสุดของชั้นเรียน
ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นภายใต้เป้าหมายที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมกับการศึกษา และไม่อยากให้ทั้งนักเรียนและผู้ปกครองมุ่งเน้นแต่แค่ผลการเรียนจนมากเกินไป

สอดคล้องกับ Andreas Schleicher ผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบการศึกษาจาก OECD ที่เคยให้ความเห็นว่า จริงๆ แล้วความกดดันจากระบบการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลย และรัฐบาลสิงคโปร์ควรจะนำ ‘ปัจจัยอื่นๆ’ เช่น การเติบโตทั้งในเชิงกายภาพและสภาพจิตใจ มาบ่งชี้ความสำเร็จของนักเรียน นอกเหนือไปจากการวัดผลในทางวิชาการว่ากันว่า ชาวสิงคโปร์นั้นให้ความสำคัญกับค่านิยมนี้กันมากๆ และทำให้ประเทศสามารถเอาชนะปัญหาความยากจน และวิกฤตขาดแคลนทรัพยากรได้ คำว่า Kiasu จึงสะท้อนได้ถึงการเอาจริงเอาจังกับสิ่งที่ทำ เพื่อประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้

จริงอยู่ที่การต่อสู้เพื่ออยู่รอดคือสิ่งที่จำเป็น (โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ประเทศต้องเอาชนะความยากจน) อย่างไรก็ตาม เมื่อค่านิยม Kiasu ถูกนำมาหลอมรวมกับระบบการศึกษาในยุคหลังมานี้ มันกลับมีผลกระทบที่น่ากังวลตามมาด้วยเหมือนกัน

ผู้ปกครองจำนวนมากคาดหวังว่า ลูกหลานต้องเป็นเลิศในด้านวิชาการ และชีวิตของพวกเขาจะต้องไม่มีความผิดพลาด เด็กๆ จึงถูกส่งไปโรงเรียนกวดวิชา เด็กๆ ต้องเรียนพิเศษอย่างหนักหน่วง เพื่อเป็นเลิศให้ได้ตามความคาดหวังของพ่อแม่ หรือถ้าพูดให้เห็นภาพมากขึ้นได้ว่า พ่อแม่ก็คาดหวังให้ลูกๆ ต้องทำคะแนนให้ดี ต้องเป็นที่หนึ่งของห้อง ต้องเอาคะแนนสูงๆ ติดอันดับท็อปของโรงเรียนกลับมาให้ที่บ้านภาคภูมิใจ

ผลกระทบของการศึกษาที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน เห็นได้จากการเติบโตของธุรกิจติวเตอร์ในสิงคโปร์ เคยมีข้อมูลว่า ธุรกิจติวเตอร์ในสิงคโปร์สามารถสร้างมูลค่าได้มากถึงปีละกว่าหลายหมื่นล้านบาท ข้อมูลในปี 2016 ยังระบุด้วยว่า ผู้ปกครองกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของสิงคโปร์ได้ส่งลูกหลานไปเรียนพิเศษเพิ่มเติมโดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับเด็กๆ ได้อย่างเต็มที่

ยิ่งการศึกษากลายเป็นสิ่งที่ต้องแข่งขัน และลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก ปัญหาที่ตามอย่างเลี่ยงไม่ได้ในสิงคโปร์คือความเหลื่มล้ำที่เกิดขึ้น

ครอบครัวที่มี ‘ต้นทุน’ ชีวิตสูงจะเข้าถึงโอกาสในการเป็นเลิศทางการศึกษาได้สูงตามไปด้วย แต่ในทางกลับกัน ครอบครัวที่ต้นทุนไม่เยอะ โอกาสที่จะเข้าถึงโอกาสเหล่านั้นก็ลดหลั่นลงไป

นี่คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการศึกษาของสิงคโปร์ เมื่อทุกอย่างถูกมองว่าต้องเป็นการแข่งขัน ลูกของฉันต้องเป็นเลิศด้านการศึกษา ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือไม่เพียงแค่ความเหลื่อมล้ำ หากแต่สุขภาพจิตใจและร่างกายของเด็กก็ถูกพ่อแม่ทำร้ายไปแบบอ้อมๆ โดยที่ไม่รู้ตัว

สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องอันตรายที่สุดคือ เด็กนักเรียนอาจถูกเปลี่ยนเป็น ‘เครื่องจักรแห่งการเรียน’ ที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ และไม่สามารถค้นหาคำตอบต่างๆ ในชีวิตจริงได้เท่าที่ควร

ความคาดหวังที่อยากให้เด็กๆ เป็นเลิศ จึงกลายเป็นดาบสองคมที่ระบบการศึกษาในสิงคโปร์ต้องหาทางแก้ไข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น