วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล


แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล
             กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านวิทยาการ สังคม เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สารสนเทศ ท าให้แต่ละประเทศไม่สามารถปิดตัวอยู่โดยลำพัง จะต้องร่วมมือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกัน การดำรงชีวิต ของคนในแต่ละประเทศมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันมากขึ้น มีความร่วมมือ 48 ในการปฏิบัติภารกิจและ แก้ปัญหาต่างๆร่วมกันมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สังคมโลกในยุคปัจจุบันก็เต็ม ไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ท าให้คน ต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และมีการตัดสินใจที่รวดเร็ว เพื่อให้ทันกับ เหตุการณ์ในสังคมที่มีความสลับซับซ้อน มากขึ้น สิ่งเหล่านี้น าไปสู่สภาวการณ์ของการแข่งขันทาง เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นแรงผลักดันสำคัญ ที่ท าให้หลายประเทศต้องปฏิรูปการศึกษา คุณภาพของการจัดการศึกษาจึงเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับ ความพร้อมของคนศตวรรษที่ 21 และศักยภาพในการ แข่งขันในเวทีโลกของแต่ละประเทศ ดังนั้น ประเทศที่จะอยู่รอดได้หรือคงความได้เปรียบก็คือประเทศที่มีอำนาจทางความรู้ และเป็นสังคมแห่ง การเรียนรู้ (Learning Society) นอกจากนั้น ในปัจจุบันยังปรากฏสภาพปัญหาที่คนทั่วโลกต้องเผชิญ กับวิกฤตการณ์ร่วมกัน ในเรื่องความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ที่ส่งผล กระทบอย่างรุนแรงต่อมวลมนุษย์โดยทั่วไป สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มว่าคนยุคใหม่จะต้องเผชิญกับ ความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย เป็นสัญญาณเตือนว่าโลกในยุคหน้าจะมีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น เกินกว่าจะคาดคิดถึง ด้วยเหตุนี้จ าเป็นอย่างยิ่ง ที่แต่ละประเทศต้องเตรียมคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะและ ความสามารถในการปรับตัวให้มีคุณลักษณะสำคัญในการดำรงชีวิตในโลกยุค ใหม่ได้อย่างรู้เท่าทัน สงบ สันติ มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมาะสมเพียงพอ การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนต้องมีความเป็น พลวัตน์ก้าวทันกับสิ่งต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ผลักดันให้มี การปรับเปลี่ยน เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการศึกษาไทยให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีโลกในยุค ศตวรรษที่ 21 ดังนี้
1. โรงเรียนเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาในมิติที่กว้างขึ้น เพราะในปัจจุบันสังคมโลกเป็น สังคม ที่ไร้พรมแดนที่มีการติดต่อประสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆมากขึ้น การก้าวเข้ามาสู่ ประชาคมอาเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2558 มีผลต่อการเปิดเสรีทางการศึกษาท าให้เกิดการแข่งขันในการจัด การศึกษาของ สถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น ในอนาคตโรงเรียนแต่ละแห่งจะต้องมี การแข่งขันด้านคุณภาพ มากขึ้น โรงเรียนในประเทศไทยจึงต้องพัฒนาให้เป็นหน่วยบริการทาง การศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการศึกษา
2. หลักสูตรการเรียนการสอนมีความเป็นสากล เนื่องจากยุคโลกาภิวัตน์มีการเชื่อมโยงด้าน การค้าและการลงทุน ท าให้ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีศักยภาพในหลายด้าน รวมทั้ง ความสามารถ ด้านภาษาต่างประเทศ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร คุณลักษณะในการเป็นพลโลก การ จัดหลักสูตรและการเรียนการสอนจึงต้องปรับให้มีความ เป็นสากลมากขึ้น นอกจากนี้การเปิดเสรี ทางการศึกษา ทำให้สถาบันการศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนด้านจัดการศึกษาในประเทศไทย โรงเรียนควรหาภาคีเครือข่าย ในการจัดหลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรสมทบ หรือหลักสูตรร่วมกับ สถาบันต่างประเทศ เพื่อความเป็นสากล ของการศึกษา
3. การพัฒนาทักษะการคิด สภาพสังคมโลกที่มีการแข่งขันสูง ทำให้การจัดการศึกษาจำเป็น ต้อง เน้นการพัฒนาทักษะเป็นสำคัญ ในปัจจุบันโรงเรียนยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน ได้เท่าที่ควร เนื่องจากการเรียนการสอนยังเน้นให้ผู้เรียนคิดตามสิ่งที่ผู้สอนป้อนความรู้มากกว่าการคิด สิ่งใหม่ ๆ จึงควรมีการ ปรับรูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดให้มาก ยิ่งขึ้น 49
4. การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม แนวคิดของทุนนิยมที่มุ่งการแข่งขันนั้น มีอิทธิพลทำให้การ จัดการศึกษาของโรงเรียนส่วนใหญ่เน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ความสามารถ เพื่อ ความก้าวหน้าใน หน้าที่การงานและการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนอาจละเลยการพัฒนาส่งเสริม ด้านคุณธรรมจริยธรรมซึ่งจะ ส่งผลต่อปัญหาทางสังคมตามมา ดังนั้นปรัชญาการจัดการศึกษาจึงต้อง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคคลใน องค์รวมทั้งมิติของความรู้และคุณธรรมคู่กัน เพื่อให้เกิดการ พัฒนาอย่างยั่งยืนและประชาคมโลกอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข 5. การสอนภาษาต่างประเทศ ในยุคโลกไร้พรมแดน นั้น ผู้มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาที่ใช้สื่อสารกันอย่างกว้างขวาง เช่น ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ย่อมมีความ ได้เปรียบ ในการติดต่อสื่อสาร การเจรจาต่อรองในเรื่อง ต่างๆ ตลอดจนการประกอบอาชีพ การ จัดการเรียนการสอนจึง ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศด้วย จาก แนวคิดดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงมีการทบทวนและปรับปรุงหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อ เป็น กรอบทิศทาง ในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม รัก ความ เป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถท างานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติอันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน โดย มีจุดหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์สมรรถนะสำคัญ และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายการ พัฒนา ผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และมีคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล โดยหลักสูตร ได้มุ่งเน้นความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมี ทักษะชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนมีศักยภาพ เทียบเคียงกับนานาอารยประเทศ เป็นการ เพิ่มขีดความสามารถ ให้คนไทย ก้าวทันต่อความ เปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของโลก มีศักยภาพในการแข่งขันในเวที โลก จากการติดตามผลการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิด คุณภาพ ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางฯได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของทักษะกาคิดวิเคราะห์ การ ฝึกใช้ความคิดและแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจและสติปัญญาที่จะส่งผลให้ ผู้เรียน เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และน าไปพัฒนาประยุกต์ใช้ได้กับการอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ผู้เรียนยังขาดโอกาสในการลงมือปฏิบัติจริง การทดลอง และการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง และสิ่งเหล่านี้จะ เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อครูต้องมีความรู้ความเข้าใจในเป้าหมายของหลักสูตรและ กระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างถ่องแท้ สามารถนำไปถ่ายทอดแก่ผู้เรียน และสามารถประยุกต์ใช้สื่อ อุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนนวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552) ลักษณะของโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนมาตรฐานสากล
( World - class standard school) หมายถึง โรงเรียนที่พัฒนา หลักสูตรและจัดการเรียนการสอน อย่างมีคุณภาพเทียบเคียง มาตรฐานสากล รวมทั้ง มีการบริหารจัดการ ด้วยระบบคุณภาพ เพื่อให้ได้ ผู้เรียนที่มีคุณภาพ คือเป็นผู้ ที่มีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะ (Learner Profile) เทียบเคียงมาตรฐานสากล ( World class standard) และมีศักยภาพเป็นพลโลก ( World citizen) สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร 50 แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งเน้นการพัฒนา คุณภาพเยาวชนส าหรับยุค ศตวรรษที่ 21 อีกทั้งเป็นไปตามปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO คือ Learning to know, Learning to do, Learning to live with the others, Learning to be 4 จุดมุ่งหมายและ ทิศทางในการด าเนินการของโรงเรียนมาตรฐานสากล การด าเนินการของโรงเรียนมาตรฐานสากลนั้น จะประสบความสำเร็จได้จะต้อง มีการพัฒนา หลายมิติไปพร้อม ๆกัน และต้องด าเนินการทั้งระบบ คือ ด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การบริหาร จัดการ จะต้องมีจุดมุ่งหมายและทิศทางที่ชัดเจน คือ
1) พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) สร้างวิถีแห่งการรู้แจ้ง สร้างแรง กระตุ้นใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนเกิดความมุ่งมั่น รักและเพลิดเพลินในการแสวงหาความรู้สามารถวิเคราะห์ และสรุป องค์ความรู้ มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีจิตสาธารณะและส านึก ในการบริการ สังคม
2) ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล ( World - Class Standard) โดยคำนึงถึงความหลากหลายของผู้เรียนซึ่งมีภูมิปัญญา ความสามารถ และความถนัดแตกต่างกัน มี การจัดการ เรียนรู้ที่เหมาะสมในการเพิ่มพูนศักยภาพของผู้เรียน ส่งเสริมพหุปัญญาของเด็ก บน พื้นฐานของความเข้าใจ รู้ใจ และมีการใช้กระบวนการคัดกรองในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเป็น รายบุคคล เพื่อให้สามารถพัฒนาไปสู่จุดสูงสุดแห่งศักยภาพ 3) ยกระดับการบริหารจัดการด้วยคุณภาพ ( Quality System Management) พัฒนา ศักยภาพขององค์กรให้ได้มาตรฐานสากล สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของตัวเอง สามารถระดม ทรัพยากร จากแหล่งต่างๆ และศึกษาแนวทางจากแบบอย่างความสำเร็จที่หลากหลายเพื่อปรับใช้ได้ อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการสร้างเ ครือข่ายในการจัดการศึกษาในทุกระดับ ซึ่งอาจ เริ่มต้นจากการ ประสานความร่วมมือ ใน ชุมชน ท้องถิ่น ไปสู่ภูมิภาค จนกระทั่งถึงเครือข่ายระดับชาติและนาชาติใน ที่สุด ทั้งนี้เพราะคุณภาพองเยาวชน คือ อนาคตของชุมชน ความหวังของชาติ และของมวลมนุษยชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น