วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา


การวางแผนหลักสูตรทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจำเป็นที่จะต้องได้รับการประเมิน ทาบาได้ตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตร เช่น จะประเมินคุณภาพของการเรียนรู้ได้อย่างไรว่าจุดหมายของการศึกษาที่กำหนดไว้ ประสบผลสำเร็จ จะแน่ใจได้อย่างไรว่าจุดหมายและจุดประสงค์ของหลักสูตรมีความสอด
คล้องกันและเด็กได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหายและจุดประสงค์นั้นๆเพื่อให้การจัดหลักสูตรเป็นไปเพื่อโอกาสที่ดีที่สุดแก่เด็กทุกคนตามเป้าหมายของแต่ละคน
ทาบาเสนอว่าเราจำเป็นที่จะต้องกลับไปสู่รากหญ้า (grass root) และเริ่มที่จำสร้างรูปแบบใหม่ของการพัฒนาหลักสูตรจากหน่วยการเรียนการสอนในห้องเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นการฝึกปฏิบัติแนวคิดทฤษฎีและข้อมูลการวิจัยใหม่ วิธีการพัฒนาหลักสูตรของทาบาที่เริ่มจากรากหญ้าหรือหน่วยย่อยในระดับการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้วค่อยๆพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจากการทดลองใช้และปรับปรุงเรื่อยไปจนเป็นหลักสูตรภาพรวมในที่สุด วิธีการนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นกระบวนการคิดหรือการพัฒนาหลักสูตรแบบนิรนัย (inductive approach)
ทาบาเรียกว่าเป็นลำดับขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
ขั้นที่ 2

ตามแนวคิดของทาบา

ทาบา (TAba, 1962, p. 454) ได้กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชาการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลอื่นๆ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้
การแก้ไขและการสร้างความเชื่อมั่น

ของหน่วยการเรียน

1. สามารถนำแนวคิดของทาบา ไปใช้โดยให้เป็นไปตามขั้นตอนตามที่ทาบาเสนอไว้

2. เครื่องมือที่หลากหลายและมีความยืดหยุ่นจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะ

การคิดที่เน้นการคิดแบบอุปนัย

หลักสูตรมีความเป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ได้จริงซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรแม่บท

ให้ประสบการณ์ทั้งด้าน Cognitive Domain และ Affective Domain

สามารถอธิบายข้อแตกต่างของ planed curriculum , enacted-

curriculum และ experience curriculum

ช่วยขยายกรอบแนวคิดของไทเลอร์

ขั้นที่ 1

การเลือกและจัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามขั้นตอนทั้ง 7 ขั้นของทาบานี้ มีวิธีคิดเกี่ยวกับการสร้างหลักสูตรแตกต่างจากแนวคิดของไทเลอร์และนักพัฒนาหลักสูตรอื่นๆ กล่าวคือในขณะที่รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์และของนักศึกษาส่วนใหญ่จะวางแผนและออกแบบหลักสูตรในภาพรวมออกมาก่อน โดยใช้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรแบบอนุมาน (Deductive Approach)
การผลิตหน่วยทดลอง

ข้อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับกระบวนการ

พัฒนาหลักสูตรของทาบา

การสอนที่เน้นการคิดแบบอุปนัย ค่อนข้างที่จะใช้เวลามาก

การพัฒนาหลักสูตรโดยการกำหนดกรอบใหญ่ทั้งหมดก่อนจะทำให้เห็น
ภาพรวมของหลักสูตรได้ชัดเจนและจึงกำหนดเป็นหน่วยย่อยตามกรอบที่
ได้กำหนดไว้
วิเคราะห์ความต้องการ

เลือกเนื้อหาสาระและจัดลำดับเนื้อหา

พิจารณาสิ่งที่จะวัดผลและกำหนดวิธีวัดผลประเมินผล

ทาบา เชื่อว่า ครูซึ่งเป็นผู้ใช้หลักสูตรควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการพัฒนาหลักสูตรควรมีการพัฒนาจากระดับล่างสู่ระดับบน (The Grass - Roots Approach)
ประกอบด้วย 7 ขั้น ดังนี้
การพัฒนากรอบงาน

ทาบาอธิบายว่าในกรอบการคิดของขั้นตอนทั้งสองนี้หมายรวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของการเกิดวามคิดรวบยอดและลำดับของการสร้างเจตคติ และความลึกซึ้งให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก ในกรอบของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อบรรลุจุดประสงค์จัดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของโครง
สร้างหลักสูตรที่ต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าแทนที่จะปล่อยให้ครูตัดสินใจในขณะที่สอนหน้าห้องโดยปราศจากการวางแผนไว้ก่อน
หลีกเลี่ยงแนวคิดทางการเมือง

การศึกษาแนวคิดหรือวิธีการพัฒนาหน่วยการเรียนของทาบานี้อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับครู
ขั้นที่ 7

การพัฒนาหลักสูตรด้วยวิธีการดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือของคร ูซึ่งทาบาถือว่าเป็นระดับรากหญ้าของการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรแต่การที่จะพัฒนาหลัก
สูตรจากหน่วยย่อยแล้วขยายวงออกไปนั้นต้องใช้เวลาซึ่งทาบาเองก็ยอมรับว่าเป็นหลายๆปีและนี่เองก็อาจเป็น
ข้อจำกัดของวิธีการพัฒนาหลักสูตรของทาบา ดังนั้นการศึกษาแนวคิดหรือวิธีการพัฒนาหน่วยการเรียนของทาบานี้อาจจะเป็น
ประโยชน์สำหรับครูที่เริ่มที่จะพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนโดยอาจจะปรับใช้โดยเลือกบางเนื้อหาที่น่าสนใจและมีลักษณะเฉพาะเหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นหน่วยทดลองแล้วมีการทดสอบ ปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสมและอาจจะขยายวงไม่สู่เนื้อหาอื่นหรือระดับชั้นอื่นๆ ได้ในที่สุด
การกำหนดจุดประสงค์

ข้อจำกัด

ขั้นที่ 5 และ 6

Hilda Taba

สรุปองค์ความรู้

ความหมาย

ผู้จัดทำ

การทดสอบหน่วยทดลอง

เนื่องจากหลักสูตรเป็นการออกแบบเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นเมื่อเด็กแต่ละคนมีภูมิหลังที่แตกต่างกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่นักพัฒนาหักสูตรจะต้องวินิจฉัยความแตกต่าง ข้อบกพร่อง และความแตกต่างของภูมิหลังของเด็ก การวินิจฉัยดังกล่าวจะทำสามารถกำหนดหลักสูตรให้เหมาะสมกับเด็กที่จะเรียน
หลักสูตรนั้นๆ ได้
เป็นขั้นตอนซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของหลักสูตร ทาบา กล่าวว่าจุดประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนและกว้างขวางครอบคลุมจะเป็นพื้นฐานสำคัญ
ของหลักสูตรโดยที่จุดประสงค์ดังกล่าวจะเป็นตัวพิจารณาตัดสินว่าเนื้อหาใดมีความสำคัญและ
จะจัดเนื้อหาเหล่านั้นในหลักสูตรได้อย่างไร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร

ขั้นที่ 3 และ 4

การประกาศใช้และการเผยแพร่

หน่วยการเรียน

การที่จะพัฒนาหลักสูตรจากหน่วยย่อยแล้วขยายวงออกไปนั้นต้องใช้เวลา
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาหลักสูตรของทาบานั้นเริ่มจากหน่วยย่อยในระดับการเรียนการสอน แล้วค่อยๆพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจากการทดลองใช้และปรับปรุงเรื่อยๆ จนกลายเป็นหลักสูตร วิธีการนี้เรียกว่าการพัฒนาหลักสูตรแบบนิรนัย ( Inductive approach ) ซึ่งต่างจากการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์และนักพัฒนาหลักสูตรคนอื่นๆที่มีการพัฒนา
หลักสูตรโดยการกำหนดกรอบความคิดอย่างกว้างๆแล้วจัดลำดับโครงสร้างจากนั้นจึงเป็น
การกำหนดหน่วยย่อยเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากระบวน
การพัฒนาหลักสูตรแบบอนุมาน ( Deductive Approach )
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการ
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดประสงค์
ขั้นที่ 3 เลือกเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ 4 จัดลำดับเนื้อหา
ขั้นที่ 5 เลือกประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นที่ 6 จัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นที่ 7 พิจารณาสิ่งที่จะวัดผลและกำหนดวิธีวัดผลประเมินผล
ในขั้นนี้ทาบาอธิบายว่านอกเหนือจากการวินิจฉัยความต้องการของเด็กเพื่อนำมากำหนจุดประสงค์ของหลักสูตรแล้ว สิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาอย่างละเอียด คือการศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ทฤษฎี พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กและธรรมชาติของความรู้ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายทั่วไปซึ่งโรงเรียนจะได้นำมาพิจารณา จำแนก แยกแยะ อย่างเข้าใจแล้วกำหนดเป็นจุดประสงค์ของหลักสูตรที่จะเป็นจริงและเหมาะสมได้ต้องอาศัยข้อมูลตามระดับของความสามารถเฉพาะเด็กแต่ละกลุ่ม และจุดเน้นจำเป็นตามประสบการณ์ของเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น