วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบการพัฒนาหลักสูตร


แนวข้อสอบมาตรฐานที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร

1. หลักสูตรคืออะไร ?
ก. คู่มือประกอบการศึกษาของครู
ข. เอกสารกำหนดทิศทางให้ครูสอน
ค. ประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดให้นักเรียน
ง. เนื้อหาวิชาที่กำหนดให้นักเรียนเรียน
ตอบข้อ ค. ประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดให้นักเรียน
2. การศึกษาในปัจจุบันมุ่งพัฒนาในด้านใด ?
ก. ชีวิตและสังคม
ข. สังคมและชุมชน
ค. ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ง. เศรษฐกิจและชุมชน
ตอบข้อ ก. ชีวิตและสังคม
3. ปรัชญาการศึกษานำมาใช้ประโยชน์โดยตรงในข้อใด ?
ก. กำหนดเนื้อหาสาระ
ข. กำหนดวิธีการสอนและหลักการสอน
ค. กำหนดการจัดกระบวนการเรียนการสอน
ง. กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ตอบข้อ ง. กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
4. การศึกษามีความสำคัญต่อชีวิตมากที่สุดในข้อใด ?
ก. การประกอบอาชีพ
ข. การอยู่ร่วมกันในสังคม
ค. การพัฒนาสมอง
ง. การส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ตอบข้อ ข. การอยู่ร่วมกันในสังคม
5. รัฐยึดหลักการใดในการจัดการศึกษา ?
ก. ความเสมอภาคทางการศึกษา
ข. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
ค. ความพร้อมของผู้เรียน
ง. สภาพของท้องถิ่น
ตอบข้อ ก. ความเสมอภาคทางการศึกษา
6. ควรยึดถืออะไรเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา ?
ก. ทรัพยากรที่มีอยู่
ข. งบประมาณของรัฐ
ค. เศรษฐกิจของประเทศ
ง. สภาพสังคมในปัจจุบัน
ตอบข้อ ก. ทรัพยากรที่มีอยู่
7. ปัจจุบันการจัดระบบการศึกษาเป็นหน้าที่ของใคร ?
ก. รัฐ
ข. ท้องถิ่น
ค. สถานศึกษา
ง. กระทรวงศึกษาธิการ
ตอบข้อ ก. รัฐ
8. ความมุ่งหมายของการศึกษาระดับชาติดูได้จากอะไร ?
ก. รัฐธรรมนูญ
ข. แผนการศึกษาแห่งชาติ
ค. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ง. แผนการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบข้อ ข. แผนการศึกษาแห่งชาติ
9. บุคคลในข้อใดเป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า หลักสูตร หมายถึง วิธีเตรียมเยาวชนให้มีส่วนร่วมในฐานะที่เป็นสมาชิกที่สามารถสร้างผลผลิตให้แก่สังคมของเรา ?
ก. ทาบา
ข. กู๊ด
ค. วิชัย วงษ์ใหญ่
ง. ธำรง บัวศรี
ตอบข้อ ก. ทาบา
10. ข้อใดคือความของหลักสูตรที่สำนักวิชาการและมาตราฐานการศึกษากำหนดไว้ ?
ก. หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดการเรียนการสอนของครู
ข. หลักสูตร คือ วิชาที่สอนจะบงบอกความหมาย ขอบข่ายเนื้อหา แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ค. หลักสูตร คือ กลุ่มวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่กำหนดไว้ซึ่งนักเรียนได้เล่าเรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียน
ง. หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ต่างๆที่สถานศึกษาจัดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตอบข้อ ง. หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ต่างๆที่สถานศึกษาจัดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
11. ถ้าหลักสูตรเปรียบเสมือนรถแล้วความมุ่งหมายของหลักสูตรเปรียบเสมือนอะไร ?
ก. ล้อ
ข. พวงมาลัย
ค. ตัวเครื่อง
ง. ไฟรถ
ตอบข้อ ข. พวงมาลัย
12. ถ้าเรือหางยาวเปรียบเสมือนหลักสูตรแล้วหางเสือเปรียบเสมือนอะไร ?
ก. ความมุ่งหมาย
ข. เนื้อหา
ค. กระบวนการเรียนการสอน
ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ก. ความมุ่งหมาย

13. หลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาวิชามากๆเป็นลักษณะของหลักสูตรแบบใด ?
ก. แบบสัมพันธ์วิชา
ข. แบบเนื้อหาวิชา
ค. แบบหมวดวิชา
ง. แบบบูรณาการ
ตอบข้อ ข. แบบเนื้อหาวิชา
14. หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาได้แนวคิดปรัชญาการศึกษาแบบใด ?
ก. สารัตถนิยม
ข. นิรันตรนิยม
ค. พิพัฒนาการ
ง. ถูกทั้ง ก. และ ค.
ตอบข้อ ง. ถูกทั้ง ก. และ ค.
15. หลักสูตรแบบใดที่ได้แนวคิดจากปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ ?
ก. หลักสูตรกิจกรรม
ข. หลักสูตรแกนกลาง
ค. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
ตอบข้อ ง . ถูกทั้ง ก. และ ข.
ขอบคุณข้อมูลจาก testthai1

แนวข้อสอบ
1. ข้อใด คือคุณสมบัติที่สำคัญของหลักสูตร
ก. มีความเป็นพลวัตปรับเปลี่ยนทางสังคม
ข. มีความเป็นเอกภาพ มีความเหมาะสมทุกสถานการณ์
ค. เป็นข้อสรุปของนักวิชาการทุกสาขาแล้ว
ง. สังคมจะเปลี่ยนแปลง หลักสูตรสามารถคงอยู่ได้
ตอบข้อ ก. มีความเป็นพลวัตปรับเปลี่ยนทางสังคม

2. การพัฒนาหลักสูตร ต้องดำเนินการตามข้อใด
ก. กำหนดเป้าหมาย
ข. เลือกกิจกรรมและวัสดุประกอบการเรียนการสอน
ค. กำหนดระบบที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ง. ถูกทุกข้อ

3. ข้อใด ไม่ต้องคำนึงถึงในหลักการพัฒนาหลักสูตร
ก. ผู้เชี่ยวชาญมีความสามารถ
ข. ความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง
ค. สิ่งที่ผู้ดำเนินงานจะได้รับ
ง. ฝึกอบรมครูประจำการ
ตอบข้อ ค. สิ่งที่ผู้ดำเนินงานจะได้รับ

4. การจัดทำหลักสูตร ระดับประถมศึกษา ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นหน้าที่ของการพัฒนาหลักสูตรในข้อใด
ก. หลักสูตรระดับชาติ
ข. หลักสูตรระดับท้องถิ่น
ค. หลักสูตรระดับห้องเรียน
ง. หลักสูตรระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบข้อ ก. หลักสูตรระดับชาติ

5. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่รับชอบของ “ศูนย์หลักสูตร”
ก. จัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร
ข. ปรับปรุงหลักสูตร
ค. ฝึกอบรมในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
ง. จัดทำคู่มือครู
ตอบข้อ ค. ฝึกอบรมในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

6. ข้อใดคือ ประโยชน์ ที่เกิดจากการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครูผู้สอน
ก. พัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องความเจริญของสังคมและของโลก
ข. สามารถจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์
ค. ระบบการศึกษาก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ง. ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม
ตอบข้อ ข. สามารถจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์

7. องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร ไม่ควรคำนึงถึงข้อใด
กง ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
ข. ความต้องการของสังคม
ค. สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ง. การบริหารจัดการของสถานศึกษา
ตอบข้อ ง. การบริหารจัดการของสถานศึกษา

8. การดำเงินงานในการพัฒนาหลักสูตร เริ่มต้นจากข้อใด
ก. การเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา
ข. กำหนดจุดมุ่งหมาย
ค. การนำเสนอสูตรไปใช้
ง. การประเมินผลหลักสูตร
ตอบข้อ ข. กำหนดจุดมุ่งหมาย

9. ข้อใด ไม่ใช่ รายละเอียดของหลักสูตร
ก. การบริหารหลักสูตร
ข. การจัดแผนการเรียนการสอน
ค. ศักยภาพและความถนัดของผู้เรียน
ง. วิธีการสอนและคุณสมบัติผู้สอน
ตอบข้อ ค. ศักยภาพและความถนัดของผู้เรียน

10. การพัฒนาหลักสูตร ให้มีคุณภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์ คือข้อใด
ก. ผู้สอนพัฒนาคุณวุฒิของตนให้ทัดเทียมที่อื่น
ข. ผู้เรียนและชุมชนสนใจแสวงหาสถานศึกษาที่ดี
ค. ผู้บริหารสนใจพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและวิชาชีพ
ง. การประชุมปรึกษาร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตอบข้อ ง. การประชุมปรึกษาร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

11. ข้อใด ไม่ใช่ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ก. จุดมุ่งหมาย ข. จัดประสบการณ์
ค. คุณสมบัติครู ง. การประเมินครู
ตอบข้อ ค. คุณสมบัติครู

12. ข้อใด ไม่ใช่ แหล่งข้อมูลในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ก. สังคม ข. ผู้เรียน
ค. ผู้เชี่ยวชาญ ง. ครูผู้สอน
ตอบข้อ ง. ครูผู้สอน

13. เกณฑ์ในการพิจารณา เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ไทเลอร์ไม่ได้กำหนดไว้ คือ ข้อใด
ก. ครูพึงพอใจในการจัดประสบการณ์
ข. ผู้เรียนพึงพอใจในการจัดประสบการณ์
ค. ผู้เรียนมีโอกาสฝึกและเรียนรู้
ง. ประสบการณ์ทุกด้านเน้น ตอบสนองจุดประสงค์
ตอบข้อ ก. ครูพึงพอใจในการจัดประสบการณ์

14. ข้อใด ไม่ใช่ ความสัมพันธ์ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบแนวตั้งและแนวนอนของไทเลอร์
ก. ความต่อเนื่อง ข. ประสบการณ์
ค. การจัดช่วงลำดับ ง. บูรณาการ
ตอบข้อ ข. ประสบการณ์

15. การวัดและวิเคราะห์สถานการณ์ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเหล่านั้นตรงกับข้อใด
ก. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ข. การเลือกกิจกรรม
ค. การจัดประสบการณ์
ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ง. การประเมินผล

16. ข้อใด ไม่ใช่ เกณฑ์การพิจารณาเครื่องมือที่ใช้วัดผลหลักสูตร
ก. ความเป็นปรนัย ข. ความเป็นอัตนัย
ค. ความเชื่อมัน ง. ความเที่ยงตรง
ตอบข้อ ข. ความเป็นอัตนัย

17. ข้อใดคือ แนวความคิดของฮิลดา ทาบา ที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรต่างจาก ไทเลอร์
ก. การดำหนดจุดมุ่งหมาย
ข. การเลือกและจัดประสบการณ์
ค. ครูควรมีส่วนร่วม
ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ค. ครูควรมีส่วนร่วม

18. ผู้ที่ได้รับแนวคิดของไทเลอร์ และทาบา แล้วนำมาปรับขยายการพัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน คือข้อใด
ก. เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ ข. ฟ็อกซ์
ค. กู๊ดแล็ด และ ริชเทอร์ ง. ริชเทอร์
ตอบข้อ ก. เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์

19. การที่สามารถบอกว่า หลักสูตรบรรลุตามเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ทราบได้จากข้อใด
ก. กำหนดขอบเจต ข. การออกแบบหลักสูตร
ค. การใช้หลักสูตร ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ง. การประเมินผล

20. ข้อใด ไม่ใช่ ข้อคำนึงถึงในการออกแบบหลักสูตร
ก. เลือกประสบการณ์ที่เหมาะสม
ข. การจัดเนื้อหาสาระ
ค. ความพร้อมของสถานศึกษา
ง. ความต้องการของผู้เรียนและสังคม
ตอบข้อ ค. ความพร้อมของสถานศึกษา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น