วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development)


การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic  Development) หมายถึง กระบวนการสร้างความเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน  มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ  โดยมีเป้าหมายเพื่อลดหรือขจัดปัญหาความยากจน  การว่างงาน  การกระจายรายได้  พร้อมกับมีการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการของสังคมไปในทางที่ดีขึ้น  โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นและต้องตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  เพื่อสงวนทรัพยากรไว้ตอบสนองความจำเป็นของคนรุ่นต่อไปในอนาคตของการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ
            การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีเป้าหมายสำคัญ คือ ประชาชน  ดังนี้
                1.  พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ดีกินดี  หรือมีสวัสดิการทางเศรษฐกิจสูงขึ้น
                2.  มีสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่ดี  มีสวัสดิการทางสังคม  หรือมีความปลอดภัยในสังคม
                3.  มีความพอใจและความสุขในการดำเนินชีวิต 4.4  สร้างความเป็นธรรมในสังคม
ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ 

            การพัฒนาเศรษฐกิจมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน  เพราะสาเหตุดังนี้
                  1  การเพิ่มของจำนวนประชากรซึ่งไม่สมดุลกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจึงจำเป็นต้องพัฒนาคนและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ  คือ  ประชากรมีความเป็นอยู่ที่ดีหรือมีสวัสดิการทางเศรษฐกิจสูงขึ้น  มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบาย  ได้ใช้สินค้าดีราคาไม่แพง  และมีบริการสนองความต้องการอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  เช่น  การคมนาคมขนส่ง  การสื่อสาร  ที่อยู่อาศัย  ฯลฯ                           
                2 โครงสร้างทางเศรษฐกิ  สังคม  และการเมือง มีลักษณะผูกขาดโดยคนส่วนน้อย เกิดการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม  และมีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ  คือ  รัฐสามารถช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมได้มากขึ้นอย่างมีคุณภาพ  เช่น  คนยากจน  คนพิการ  เด็กกำพร้า  คนชรา  คนว่างงาน  และผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ  เป็นต้น
                3  ระบบเศรษฐกิจและสังคมของไทยเป็นระบบเปิด คือ  ต้องพึ่งทุนและการค้ากับต่างประเทศ  รวมทั้งเปิดกว้างรับเทคโนโลยี  การสื่อสาร  วัฒนธรรม  การศึกษา  และการปริโภคจากโลกตะวันตกอย่างเต็มที่  ทำให้สังคมไทยต้องเร่งพัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกได้  เพื่อมิให้ถูกเอาเปรียบ ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ  คือ  ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจจนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วส่งผลให้มีความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร  มีกองทัพที่เข้มแข็ง  ทำให้ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจหรืออิทธิพลของชาติมหาอำนาจ
                  4  การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  เช่น  ภัยแล้ง  อุทกภัย  วาตภัย  และภัยจากธรณีพิบัติ  (แผ่นดินไหวและสึนามิ)  เป็นต้น  รวมทั้งการเกิดโรคระบาด  เช่น  ไข้หวัดนก  ไข้เลือดออก  ฯลฯ  ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ  คือ  ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจจนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วส่งผลให้มีความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร  มีกองทัพที่เข้มแข็ง  ทำให้ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจหรืออิทธิพลของชาติมหาอำนาจ ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ  คือ  ประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าจะเกิดผลดีต่อประชาชน  คือ
                      (1)  มีมาตรการป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพสามารถควบคุมวิกฤตจากภัยธรรมชาติให้บรรเทาลงได้
                      (2)  ช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงทีและช่วยให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย  เช่น  มีงบประมาณสร้างเขื่อนประตูระบายน้ำ  ศูนย์เตือนภัย  และสร้างบ้านที่อยู่อาศัยให้ผู้ประสบภัยพิบัติ  เป็นต้น
             5  ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนามีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ต่ำกว่าเกณฑ์พื้นฐาน  อันเนื่องมาจากปัญหาความยากจน  ทำให้ขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  รวมทั้งปัจจัย  4  ในการดำรงชีพ  และไม่อาจเลือกอาชีพการงานได้ ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจ  คือ  ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าส่งผลให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ดี  มีกำลังซื้อสูง  ทำให้มีอิสระในการดำเนินชีวิตมากขึ้น  เช่นมีอิสระในการเลือกอาชีพตามความถนัดและความสนใจ  ทำให้ชีวิตมีสุข
ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ 
            ประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเกิดจากความได้เปรียบในปัจจัยสำคัญ  2  ประการ  คือ
           1.  ปัจจัยทางเศรษฐกิจ  มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยตรง  สรุปได้ดังนี้
                  (1)  ที่ดิน  มีพื้นที่ประเทศกว้างใหญ่  มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์  มีแม่น้ำสายยาว  หลายสายไหลผ่านพื้นที่เพาะปลูก  มีทรัพยากรป่าไม้  แร่ธาตุ  และมีทรัพยากรนันทนากร  (แหล่งท่องเที่ยว) อย่างอุดมสมบูรณ์
                   (2)  แรงงาน   มีประชากรมีคุณภาพ  มีการศึกษาดี  มีระเบียบวินัย  และเคารพกฎหมายของบ้านเมือง  เป็นแรงงานมีฝีมือซึ่งผ่านการพัฒนาฝึกฝนทักษะเป็นอย่างดี
                   (3)  ทุน   มีเครื่องมือ  เครื่องจักร  และนิคมอุตสาหกรรมที่ทันสมัย  มีสาธารณูปโภคและปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ  เช่น  ถนน  ไฟฟ้า  ประปา  การสื่อสารและการคมนาคมขนส่ง  เป็นต้น  รวมทั้งมีสถาบันการเงินเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญของผู้ประกอบการ
                   (4)  เทคโนโลยี  มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  โดยนำวิทยาการหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตสินค้าทั้งภาคเกษตร  อุตสาหกรรม  และบริการ
                   (5)  ตลาด  มีตลาดขนาดใหญ่รองรับผลผลิตอย่างกว้างขวาง  ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ  ช่วยกระตุ้นให้การผลิตขยายตัว  เกิดการจ้างงาน  และเกิดธุรกิจใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เช่น  การขนส่งสินค้า  ประกันภัยสินค้า  ทำป้ายโฆษณา  สิ่งพิมพ์  กล่องกระดาษและบรรจุภัณฑ์
           2.  ปัจจัยทางสังคม  และการเมืองการปกครอง   เป็นปัจจัยสนับสนุนให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  ดังนี้
                    (1)  สถาบันครอบครัว   มีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง   มีความสามารถในการเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวและให้การศึกษาอบรมอย่างมีคุณภาพ
                   (2)  โครงสร้างทางสังคมชนชั้นในสังคมไม่ยึดมั่นตายตัว  ชนชั้นล่างหรือกลุ่มคนระดับรากหญ้าสามารถเปลี่ยนหรือเลื่อนฐานะทางสังคมได้ง่ายจากการศึกษาและอาชีพ  ทำให้เกิดชนชั้นกลางใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น  เช่น  วิศวกร  ช่างฝีมือ  โปรแกรมเมอร์  ฯลฯ ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
                   (3)  การเมืองการปกครอง และกฎหมายเป็นประเทศที่มีลักษณะดังนี้ มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคง  บ้านเมืองสงบเรียบร้อย  ไม่มีปัญหาความขัดแยงทางการเมืองภายในอย่างรุนแรง  และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุนและการดำเนินธุรกิจ มีกฎหมายส่งเสริมการลงทุน  คุ้มครองแรงงาน  คุ้มครองผู้บริโภค  และสนับสนุนเกษตรกรในด้านราคาผลผลิต  เป็นต้น
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 
            การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมและมีเสถียรภาพ  ส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มสูงขึ้น  และท้ายที่สุดทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น  โดยสามารถวัดการพัฒนาเศรษฐกิจจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความอยู่ดีกินดีของประชาชน  ดังนี้            
            1. ดัชนีวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ  เช่น  ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ  รายได้ประชาชาติ  เป็นต้น
           2.  ดัชนีวัดความอยู่ดีกินดีของประชาชนแสดงถึงระดับความเป็นอยู่ของประชาชน  เช่น  อัตราการอ่านออกเขียนได้  อายุเฉลี่ยของประชากร  อัตราการตายของทารก  อัตราส่วนของแพทย์ต่อจำนวนประชากร  เป็นต้น ทั้งนี้ดัชนีชีวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  เป็นดัชนีพื้นฐานเบื้องต้นที่จะสะท้อนภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ  ดังนี้
                         (1)  ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  (Gross  Domestic  Product  : GDP) เป็นตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่นิยมใช้มากที่สุด  เพราะแสดงถึงความสามารถในการผลิตและการบริโภคของประเทศ  โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย  ซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้ทรัพยากรภายในประเทศในรอบระยะเวลา  1  ปี        
GDP : มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นโดยคนไทยและชาวต่างชาติโดยใช้ทรัพยากรของประเทศไทย
                        (2)  ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ  (Gross  National  Product  : GNP)
แสดงถึง ความสามารถในการผลิต  การบริโภคของคนไทยทั้งประเทศ  โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเป็นมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย  ซึ่งผลิตขึ้นโดยคนไทยในประเทศและคนไทยในต่างประเทศ
GNP :GDP + รายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตต่างประเทศ
                         (3)  รายได้ประชาชาติ  (National  Income  : NI)คือ  มูลค่าของรายได้ที่ประชาชน คนไทยในประเทศและคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศได้รับในช่วงระยะเวลา  1  ปีทั้งนี้รายได้ประชาชาติคำนวณจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ  หักด้วยภาษีทางอ้อมและค่าเสื่อมราคา
NI : GNP – (ภาษีทางอ้อม + ค่าเสื่อมราคา)
                        (4)  รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล  (Per  Capita Income)คำนวณได้จากรายได้ประชาชาติ
หารด้วยจำนวนประชากร  ซึ่งใช้เป็นดัชนีสำหรับเปรียบเทียบระดับความอยู่ดีกินดีของประชาชนของประเทศต่าง ๆ
การวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของการวัดการพัฒนาเศรษฐกิจดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น  อย่างไรก็ตาม  ในปัจจุบันมีแนวคิดการวัดความสุขมวลรวมประชาชาติ  (Gross  National  Happiness  :  GNH)  ขึ้น  เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมามุ่งเน้นแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว  จนละเลยความสุขซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  ทั้งนี้ยังไม่มีดัชนีวัดความสุขมวลรวมประชาชาติที่แน่นอนหรือชัดเจนในขณะนี้  แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความสำคัญกับความสุขของประชาชนมากกว่าการมุ่งเน้นแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ประเทศที่เป็นผู้นำเสนอแนวคิดการวัดความสุขมวลรวมประชาชาติ  (Gross  National  Happiness  :  GNH)  ขึ้นคือ  ประเทศภูฏาน  โดยมีหลักการสำคัญ  4  ประการ  คือ
1)  การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
2)  การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรม
3)  การรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
4)  การมีธรรมาภิบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น