วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

มิติการพัฒนาการศึกษา




        การศึกษาเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญปัจจัย หนึ่งที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและ ยั่งยืน การพัฒนาการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 มิติ ใหญ่ๆ ได้แก่
1. มิติด้านปริมาณ ซึ่งหมายรวมถึง การพัฒนา ความสามารถในการเข้าถึงการศึกษา (Mankiw, Romer and Weil, 1992) และการเพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยให้กับนักเรียน/ นักศึกษา เพื่อที่จะได้รับความรู้ที่มากเพียงพอในการสนับสนุน การท างานในอนาคต (Barro and Lee, 1993)
2. มิติด้านคุณภาพ ซึ่งหมายถึง คุณภาพการเรียน การสอน ที่ท าให้เด็กมีทักษะที่เข้มข้น และสอดคล้องกับการที่จะ เข้าสู่ตลาดแรงงานได้ในอนาคต (Hanushek and WoBmann, 2007)
3. มิติด้านความเหลื่อมล้ำ ซึ่งหมายถึง ความแตกต่าง ในผลลัพธ์ของการศึกษา ซึ่งเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากปัจจัย ต่างๆที่มากกว่าแค่คุณภาพของการเรียนการสอน แต่ ครอบคลุมไปถึงปัจจัยต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ ปัจจัยเฉพาะของนักเรียนแต่ละคน ปัจจัยทางด้านครอบครัว ไปจนถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหาการศึกษาที่ดี ควรที่จะต้อง มีการพัฒนาในทั้ง 3 มิติไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากการแก้ไข ปัญหาในมิติเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว โดยไม่เน้นคุณภาพ อาจจะได้แรงงานที่จบมาแล้วมีทักษะที่ไม่สอดคล้องกับ ตลาดแรงงาน การทุ่มทรัพยากรเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้าน ความเหลื่อมล้ำเพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นการตัดโอกาสใน การพัฒนากลุ่มเด็กที่มีศักยภาพที่สูง เช่นเดียวกัน การพัฒนา ในมิติเชิงคุณภาพโดยไม่ได้พิจารณาในมิติความเหลื่อมล้ำ


แนวทางเด่นสำหรับการพัฒนาสังคมไทย
1. พัฒนาคนให้เกิดความรู้ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อสิ่งเร้าต่างๆ รอบตัวที่เข้ามาพร้อมทั้งมีการเรียนรู้ของคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ไปตลอดชีวิตไม่ใช่แค่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
2. สร้างเสริมสุขภาวะให้กับคนไทยเพื่อให้เกิดความแข็งแรงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ พร้อมกับได้อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมน่าอยู่
3. สร้างเสริมให้คนไทยอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันบนพื้นฐานของหลักเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสินปัญหาจนกลายเป็นความรุนแรง
4. ทำชุมมชนและสังคมให้เกิดความเข้มแข็ง เพราะทั้งสองสิ่งนี้จัดเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ ให้ความสำคัญด้านการบริหารชุมชนอย่างเข้มแข็ง สร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นภายในชุมชนโดยที่ชุมชนเองก็มีส่วนร่วมกับสิ่งดังกล่าว
5. สร้างเสริมหลักธรรมภิบาลด้านการบริหารประเทศ สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับสังคมแบบยั่งยืน พัฒนาประชาธิปไตย วัฒนธรรม ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน พื้นฐานมนุษย์คือสัตว์สังคมดังนั้นมันจึงหลีกเลี่ยงในการอยู่ร่วมกับผู้อื้นไม่ได้เพราะมนุษย์แต่ละคนก็จำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของอีกฝ่ายเป็นเรื่องปกตินั่นทำให้ต้องมีการจัดระเบียบสังคม เพื่อให้การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ทุกคนมีกรอบกติกาชัดเจน มีความสงบสุข สมาชิกภายในสังคมถูกขัดเกลาสิ่งดีๆ พร้อมมีการปลูกฝังให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
แม้ว่าการพัฒนาสังคมไทยยังอาจเป็นเรื่องยากแต่มันก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถของการพัฒนาก้าวไปพร้อมๆ กันสักเท่าไหร่ หัวใจสำคัญของการพัฒนาสังคมมีอยู่ด้วยกัน ส่วนผู้เกี่ยวข้องก็คือ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และประชาชนในสังคม หากว่าทั้ง ส่วนนี้สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลปรองดองกันได้สังคมก็สามารถเดินต่อไปข้างหน้าด้วยความสงบสุข เมื่อไหร่ก็ตามที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของสังคมเกิดปัญหา มีความขัดแย้ง การเดินหน้าต่อก็ต้องหยุดชะงักซึ่งอาจเป็นการหยุดชั่วคราวหรือระยะยาวตรงนี้ก็ไม่มีใครให้คำตอบได้ เพราะฉะนั้นหากไม่ต้องการให้ประเทศไทยย่ำอยู่กับที่จงช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อให้สังคมบ้านเราพัฒนาไปในทิศทางดีๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น