วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

การประเมิน (Evaluation or Assessment or Appraisal)


การประเมิน (Evaluation or Assessment or Appraisal)
ความหมาย
          การประเมินและการประเมินผล  มีความหมายทำนองเดียวกับ  การวัดและการวัดผล ดังนี้
          การประเมิน เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด คือ นำตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่ได้จากการวัดมาตีค่าอย่างมีเหตุผล โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น โรงเรียนกำหนดคะแนนที่น่าพอใจของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ที่ร้อยละ 60 นักเรียนที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 % ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ  หรืออาจจะกำหนดเกณฑ์ไว้หลายระดับ  เช่น ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 40  อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง  ร้อยละ 40-59 อยู่ในเกณฑ์พอใช้  ร้อยละ 60-79 อยู่ในเกณฑ์ดี และร้อยละ 80 ขึ้นไป  อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เป็นต้น  ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็นการประเมิน          
          การประเมินผล  มีความหมายเช่นเดียวกับการประเมิน  แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัดผล
สำหรับภาษาอังกฤษมีหลายคำ  ที่ใช้มากมี 2 คำ คือ evaluation  และ  assessment     2 คำนี้มีความหมายต่างกัน  คือ
evaluation  เป็นการประเมินตัดสิน  มีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน (absolute criteria)  เช่น ได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป ตัดสินว่าอยู่ในระดับดี  ได้คะแนนร้อยละ 60 – 79  ตัดสินว่าอยู่ในระดับพอใช้  ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60  ตัดสินว่าอยู่ในระดับควรปรับปรุง  evaluation  จะใช้กับการประเมินการดำเนินงานทั่วๆ ไป  เช่น  การประเมินโครงการ (Project Evaluation)  การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
assessment  เป็นการประเมินเชิงเปรียบเทียบ  ใช้เกณฑ์เชิงสัมพันธ์ (relative criteria) เช่น เทียบกับผลการประเมินครั้งก่อน  เทียบกับเพื่อนหรือกลุ่มใกล้เคียงกัน assessment  มักใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  การประเมินตนเอง  (Self Assessment)
การวัด (Measurement) การประเมิน (Assessment) และการประเมินค่า/การตัดสิน (Evaluation)
ปุชฉา : การวัด (Measurement) การประเมิน (Assessment) และการประเมินค่า/การตัดสิน (Evaluation) ในความหมายที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนมีความหมายอย่างไร


วิสัชนา :
-การวัด (Measurement) หมายถึง การกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์
หรือพฤติกรรมต่างๆ ของผู้เรียน การจะได้มาซึ่งตัวเลขนั้นอาจต้องใช้เครื่องมือวัดเพื่อให้ได้ตัวเลขที่สามารถแทนคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการวัด เช่น ไม้บรรทัดวัดความกว้างของหนังสือได้ 3.5 นิ้ว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนักของเนื้อหมูได้ 0.5 กิโลกรัม ใช้แบบทดสอบวัดความรู้ในวิชาภาษาไทยของเด็กชายแดงได้ 42 คะแนน เป็นต้น
-การประเมิน (Assessment) หมายถึง กระบวนการเก็บข้อมูล ตีความ บันทึก และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับของผู้เรียนที่ทำในภาระงาน/ชิ้นงาน ว่าผู้เรียนรู้อะไรสามารถทำอะไรได้ และจะทำต่อไปอย่างไรด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย
-การประเมินค่า/การตัดสิน (Evaluation) หมายถึงการนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการวัดหลายๆ อย่างมาเป็นข้อมูลในการตัดสินผลการเรียน โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ (Criteria) ที่สถานศึกษากำหนด เพื่อประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความเก่งหรืออ่อนเพียงใดบรรลุเป้าหมายที่ต้องการมากน้อยเพียงใด

สรุปลักษณะสำคัญของการประเมินผล (Evaluation)ได้ ดังนี้
      1) ต้องทำอย่างเป็นกระบวนการหรือมีขั้นตอน
      2) ต้องมีผลการวัด
      3) ต้องกำหนดเกณฑ์สำหรับตัดสินคุณภาพ
      4) ต้องทำการพิจารณาตัดสินโดยนำผลการวัดเทียบกับเกณฑ์

      5) ผลการประเมินที่ได้บอกระดับคุณภาพ

การประเมิน (Assessment)
หมายถึง กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อสะท้อนให้เห็นความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนทั้งจุดเด่นที่ควรส่งเสริม และจุดด้อยที่ต้องปรับปรุงแก้ไข   การประเมินแบบ Assessment จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับนำมาใช้ประเมินผลการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน 
ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนที่ครูนำมาใช้ในการประเมินแบบ Assessment   ต้องได้มาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น จากครูผู้สอน  จากผู้ปกครอง จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  จากเพื่อน  หรือจากผู้เรียนเอง   และต้องได้มาโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น ทดสอบ  สังเกต  สัมภาษณ์  ซักุถาม  ตรวจผลงาน  โดยครูต้องทำการประเมินให้กลมกลืนไปกับการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  ครอบคลุมความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณธรรมจริยธรรม ด้วยสถานการณ์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง 

 สรุปลักษณะสำคัญของการประเมินผล (Assessment)ได้ ดังนี้
      1) ต้องทำอย่างเป็นกระบวนการหรือมีขั้นตอน
      2) ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนจากหลาย ๆ แหล่ง
      3) ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวช้องกับผู้เรียนโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย
      4) ต้องประเมินอบ่างสม่ำเสมอและประเมินไปพร้อม ๆ กับการจัดการเรียนรู้
      5) ต้องประเมินให้ครอบคลุมพฤติกรรมด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุรธรรมจริยธรรม

      6) ผลที่ได้จาการประเมินนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขจุดด้อย และส่งเสริมจุดเด่นของผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น